09 JUL 2021 PRODUCT INFORMATION 2 MINS READ 1839 VIEWS

ร่วมสานต่อปณิธานของแอมเวย์กับโครงการ "นิวทริไลท์รักษ์โลก"

1526269858288.jpg


พลาสติกท่วมโลกหลัง 65 ปี ของการผลิตพลาสติกปี 1950

นับตั้งแต่จุดเริ่มต้นของภาคอุตสาหกรรมการผลิตในช่วงปี 1950 จนถึงขณะนี้ เราสามารถพบโพลีเมอร์ได้รอบตัวทั้งในรูปแบบของบรรจุภัณฑ์อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ไปจนถึงชิ้นส่วนเครื่องบินและวัสดุทนไฟ แต่คุณสมบัติที่น่าทึ่งของพลาสติกกำลังกลายเป็นปัญหาที่หนักหนาขึ้นด้วย เนื่องจากพลาสติกที่ใช้กันอยู่ทั่วไปไม่ใช่แบบที่ย่อยสลายได้ และหนทางเดียวที่จะทำลายทิ้งได้คือการเผาทำลาย หรือกระบวนการย่อยสลายที่เรียกว่าไพโรไลซิส (กระบวนการทางความร้อนภายใต้สภาวะปราศจากอากาศ)

1526270316274.jpg


หลังจากการใช้ความพยายามในการคำนวณปริมาณพลาสติกที่ถูกผลิตขึ้นทั่วโลกในช่วงประมาณ 65 ปีที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์อเมริกันพบว่าปริมาณพลาสติกมีน้ำหนักรวมกันถึง 8.3 พันล้านตัน ปริมาณดังกล่าวเทียบได้เท่ากับน้ำหนักของตึกเอ็มไพร์สเตทในมหานครนิวยอร์กของสหรัฐฯ รวมกันถึง 25,000 หลัง หรือหากเทียบกับน้ำหนักช้างแล้วใกล้เคียงกับน้ำหนักรวมกัน 1 พันล้านเชือก เลยทีเดียว

ที่มา: บีบีซี นาวิเกชั่น 21 กรกฎาคม 2017 - http://www.bbc.com/thai/international-40678972



❝ เราได้ทราบปริมาณพลาสติกที่ผลิตทั่วโลกกันแล้วว่ามากมายขนาดไหน

ถ้าท่านยังไม่คิดว่าขยะพลาสติกเป็นวิกฤติสำคัญของโลก ให้ลองพิจารณาตัวเลขต่อไปนี้ ❞


มีพลาสติกเพียง 5% เท่านั้นที่ถูกนำมารีไซเคิลอย่างมีประสิทธิภาพ ราว 10% ถูกนำมาเผากำจัด อีก 40% ถูกฝังกลบ ในขณะที่อีกกว่า 30% หรือหนึ่งในสาม ไม่ได้รับการจัดการ ถูกทิ้งอยู่ในระบบนิเวศโดยเฉพาะในทะเลและมหาสมุทร

1526458390562.jpg


ปัจจุบันพบว่ามีพลาสติกชิ้นเล็กชิ้นน้อยลอยอยู่ในมหาสมุทรมากกว่า 5.25 ล้านล้านชิ้น รวมน้ำหนักราว 269,000 ตัน ไม่รวมไมโครพลาสติกอีก 4 พันล้านชิ้นต่อ 1 ตารางกิโลเมตร ที่ทับถมอยู่ก้นทะเล พลาสติกชิ้นเล็กๆ และไมโครพลาสติกสามารถดูดซับสารพิษต่างๆ เมื่อถูกสิ่งมีชีวิตกินเข้าไปก็จะถูกส่งต่อผ่านห่วงโซ่อาหารมายังมนุษย์

1526271390526.jpg


หากไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง คาดว่าจะมีปริมาณพลาสติกในทะเลมากกว่าน้ำหนักปลาทั้งหมดรวมกันภายใน 30 ปีข้างหน้า

ประเทศไทยมีค่าประเมินปริมาณขยะพลาสติกที่ลงสู่ทะเล อยู่ที่ 150,000 - 410,000 ตันต่อปี หรือ เฉลี่ย 280,000 ตัน สูงเป็นอันดับ 5 ของโลก หากประเมินคร่าวๆ ว่าขยะแห้ง 1 กิโลกรัม มีประมาณ 100 ชิ้น หมายความว่าเราทิ้งขยะพลาสติกลงสู่ทะเล ปีละกว่า 28,000 ล้านชิ้น

นิวทริไลท์สนับสนุนให้นักธุรกิจและสมาชิกแอมเวย์ใช้ช้อนสเตนเลสสั้นตวงนิวทริไลท์ โปรตีน และนิวทริไลท์ ไฟโตพาวเดอร์ เพื่อให้ทุกท่านได้มีส่วนร่วมในการลดขยะพลาสติกและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

1558512018034.jpg

1558511777384.jpg

1558512030351.jpg

1558512044439.jpg

1558512055920.jpg

1558512069031.jpg

1558512077988.jpg

1558512086632.jpg

1558512106439.jpg

*สูตรการตวงโดยช้อนสเตนเลสสั้น ปริมาตรที่ตวงได้ในหนึ่งหน่วยบริโภคอาจมีความแม่นยำต่างจากช้อนพลาสติกเล็กน้อย


บริษัทเปลี่ยนแปลงวันสิ้นสุดโครงการ นิวทริไลท์รักษ์โลก 'ไม่รับช้อน รับ 2 บีวี' จากเดิมสิ้นสุดวันที่ 31 พ.ค. 62 เป็นวันที่ 10 พ.ค. 62 และตั้งแต่วันที่ 11 พ.ค. 62 เป็นต้นไป บริษัทจะกลับมาแจกช้อนตวงเช่นเดิม