01 OCT 2024 PRODUCT INFORMATION 8 MINS READ 74 VIEWS

อยากผิวขาว กันแค่รังสียูวีคงไม่พอ

อยากมีผิวขาว กระจ่างใส อมชมพู แต่กันแดดที่ใช้ กันได้แต่รังสียูวี ทั้งที่ในชีวิตประจำวัน ผิวเรา ถูกทำร้ายจากรังสีอินฟราเรด และแสงสีฟ้าในชั้นผิวที่ลึกยิ่งกว่า ดังนั้น แค่ทาครีมกันแดดที่กันได้แค่รังสียูวี ก็ยังปกป้องผิวจากความหมองคล้ำไม่ได้ 100% อย่างที่คิด

แสงแดด อันตรายแค่ไหน

แสงแดดอันตรายกว่าที่คิด เพื่อให้ผิวสุขภาพดีจึงจำเป็นต้องทาครีมกันแดดที่กันแสงได้ทุกองศา ทั้งรังสียูวีเอ ยูวีบี รังสีอินฟราเรด และแสงสีฟ้า ทุกๆ ครั้งก่อนออกไปเผชิญหน้ากับแสงแดด และถึงแม้จะอยู่ในที่ร่ม ไม่ได้ออกไปเจอแสงแดดโดยตรง ก็ควรป้องกันอันตรายที่แฝงมาด้วยเช่นกัน

รังสียูวีเอ / ยูวีบี

รังสียูวีเอและรังสียูวีบี เป็นรังสีที่อยู่ในแสงแดด หากผิวได้รับรังสียูวีทั้งสองนี้เป็นเวลานาน จะส่งผลเสียต่อสุขภาพผิว ไม่ว่าจะเป็นผิวไหม้แดด ผิวหมองคล้ำ ริ้วรอย จุดด่างดำต่างๆ ทำให้ดูแก่ก่อนวัยอันควร และอาจถึงขั้นเป็นมะเร็งผิวหนังได้ เพราะเมื่อรังสียูวีเข้าสู่ชั้นผิวหนังจะยับยั้งภูมิต้านทานของผิว ส่งผลให้ลดทอนประสิทธิภาพในการป้องกันการเกิดและแพร่กระจายของมะเร็งผิวหนัง1 โดยเฉพาะรังสียูวีเอที่สามารถทะลุผ่านกระจกได้ ถึงแม้ไม่ได้อยู่กลางแจ้ง แต่ผิวยังคงได้รับอันตรายจากรังสียูวีเช่นกัน

ทั้งนี้การทาครีมกันแดดสามารถป้องกันรังสียูวีได้ โดยประสิทธิภาพขึ้นอยู่กับค่า PA : Protection grade of UVA ซึ่งเป็นค่าความสามารถในการป้องกันรังสียูวีเอ และ ค่า SPF : Sun Protection Factor ซึ่งเป็นค่าดูดซับรังสียูวีบี

รังสีอินฟราเรด

รังสีอินฟราเรด หรือรังสีความร้อน เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดหนึ่งที่สามารถสัมผัสได้โดยตรงจากแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นรังสีที่มีปริมาณมากกว่า 50% ของรังสีที่ตกกระทบมาถึงโลก2 และยังสามารถสัมผัสรังสีอินฟราเรดได้จากเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือแม้กระทั่งแสงหลอดไฟนีออน

อินฟราเรดจึงเป็นรังสีที่สามารถเข้าไปทำลายผิวได้ลึกกว่ารังสียูวีเอและรังสียูวีบี3 ทั้งสร้างริ้วรอย ผิวหมองคล้ำ สีผิวไม่สม่ำเสมอ ทำลายคอลลาเจนในชั้นผิวหนัง และผลเสียถึงขั้นร้ายแรงเป็นมะเร็งผิวหนังได้ ซึ่งวิธีการป้องกันรังสีอินฟราเรด คือ การหลีกเลี่ยงแสงแดดจัด สวมใส่เสื้อผ้าแขนยาว ใส่หมวกหรือแว่นกันแดดเพื่อปกปิดใบหน้า และที่สำคัญที่สุดคือการใช้ครีมกันแดดในทุกๆ วัน

แสงบลูไลท์ หรือ HEV

แสงบลูไลท์ เป็นคลื่นแสงพลังงานสูง มีต้นกำเนิดจากแสงอาทิตย์ แต่ก็พบได้จากรอบๆ ตัว เช่น แสงหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ หน้าจออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ซึ่งแสงบลูไลท์ส่งผลเสียต่อผิวพรรณโดยตรง เพราะเข้าไปกระตุ้นให้เกิดเม็ดสีเมลานิน ทำให้ใบหน้าและผิวเกิดจุดด่างดำ ความหมองคล้ำ ฝ้า กระ ที่ฝังลึก

หากแสงบลูไลท์เข้าสู่ชั้นผิวที่ลึกขึ้น จะเกิดอนุมูลอิสระและทำลายคอลลาเจน รวมถึงอิลาสติน4 ส่งผลให้ผิวเหี่ยวย่น หย่อนคล้อย ขาดความยืดหยุ่น และเกิดริ้วรอยร่องลึก ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ผิวดูแก่ก่อนวัย

วิธีที่จะป้องกันผิวจากแสงบลูไลท์ได้ คือ การหลีกเลี่ยงแสงแดด และดูแลผิวพรรณด้วยการทาครีมบำรุงผิวที่มีส่วนผสมให้ผิวกระจ่างใส ทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF และค่า PA ที่สูง นอกจากนี้คือควรลดเวลาการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ก่อแสงสีฟ้าให้น้อยลง

กันแดดสู้แสงทุกองศา +
ปรับผิวให้ดูโกลว์

คลิกเลย

ครีมกันแดดทาหน้า สำคัญอย่างไร

ครีมกันแดดทำหน้าที่เป็นเสมือนเกราะป้องกันผิว ไม่เพียงช่วยปกป้องผิวจากอันตรายของรังสีในแสงแดดแล้ว ครีมกันแดดยังมีความสำคัญ ดังนี้

ลดโอกาสเกิดฝ้า

หากร่างกายได้สัมผัสแสงแดดโดยไร้การปกป้อง ผิวหนังจะดูดซับรังสียูวีจากแสงแดดเอาไว้ และผลิตเม็ดสีเมลานินออกมาเพื่อปกป้องผิว เมื่อเม็ดสีเมลานินเริ่มจับตัวกันเป็นกระจุก จะทำให้เกิดฝ้าบนผิวได้5 ซึ่งถ้ามีการปกป้องผิวด้วยการใช้ครีมกันแดดทาหน้าและลำตัว ครีมกันแดดจะเป็นตัวช่วยยับยั้งการดูดซับรังสี และป้องกันไม่ให้ร่างกายผลิตเม็ดสีเมลานินออกมาปกป้องผิวเอง ซึ่งจะลดโอกาสเกิดฝ้า กระ หรือจุดด่างดำได้

ลดความเสี่ยงผิวไหม้แดด

การออกไปเผชิญหน้ากับแสงแดดเป็นเวลานานๆ จะทำให้ผิวถูกแดดทำร้ายอย่างต่อเนื่อง จนมีอาการผิวไหม้แดด หากรุนแรงก็มีแผลพุพอง และอาจนำไปสู่การเป็นมะเร็งผิวหนัง การทาครีมกันแดดจะช่วยลดความเสี่ยงจากการถูกแดดเผาได้

ป้องกันสีผิวไม่สม่ำเสมอ

สีผิวไม่สม่ำเสมอมาจากการออกแดดเป็นเวลานาน บริเวณที่มีการเปลี่ยนสีผิวจะเกิดจุด Sun Spot หรือจุดด่างดำที่เกิดจากแสงแดดโดยตรง เป็นจุดเล็กๆ สีน้ำตาลคล้ายกระ มักเกิดขึ้นที่ใบหน้า มือ และแขน การทาครีมกันแดดจึงเป็นทางออกที่ดี ที่จะช่วยป้องกันไม่ให้จุดเหล่านั้นเกิดขึ้นบนผิวได้

ปกป้องผิวจากแสงยูวี

รังสียูวีเป็นตัวการที่ทำร้ายผิวได้ตั้งแต่ผิวชั้นบน และสามารถแทรกซึมเข้าไปทำลายลึกถึงคอลลาเจนที่อยู่ใต้ผิวหนัง ก่อให้เกิดปัญหาริ้วรอยได้

ชะลอผิวแก่ก่อนวัย

ผิวที่โดนแสงแดดเป็นประจำโดยไม่มีการป้องกัน จะทำให้เซลล์ผิว คอลลาเจน และอิลาสตินได้รับความเสียหาย ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดริ้วรอย ผิวหย่อนคล้อยก่อนวัยได้ จึงควรป้องกันแสงแดดด้วยการทาครีมกันแดดอย่างสม่ำเสมอ เป็นวิธีช่วยรักษาคอลลาเจนที่อยู่ใต้ผิวให้คงความยืดหยุ่น ลดปัญหาผิวเสีย และช่วยชะลอผิวแก่ก่อนวัย

วิธีเลือกครีมกันแดดให้เหมาะกับตัวเอง

การเลือกครีมกันแดด ควรเลือกอย่างถูกวิธีและเลือกให้เหมาะกับตัวเอง เพื่อให้ได้ครีมกันแดดที่มีประสิทธิภาพในการปกป้องผิวดีที่สุด

เลือกครีมกันแดดที่มี SPF สูง

ครีมกันแดดจะมีค่า SPF ซึ่งบ่งบอกถึงประสิทธิภาพในการป้องกันผิวจากรังสียูวีบี โดยแต่ละระดับจะสามารถดูดซับรังสียูวีบีไม่เท่ากัน ยิ่งมีค่า SPF สูง ก็จะสามารถป้องกันผิวจากรังสียูวีบีได้ดี โดยค่า SPF ที่แตกต่างกันจะมีประสิทธิภาพที่แตกต่างกัน ดังนี้

  • ครีมกันแดดที่มีค่า SPF 15 จะดูดซับรังสียูวีบีได้ 93%
  • ครีมกันแดดที่มีค่า SPF 30 จะดูดซับรังสียูวีบีได้ 97%
  • ครีมกันแดดที่มีค่า SPF 50 จะดูดซับรังสียูวีบีได้ 98%

แม้ครีมกันแดดที่มีค่า SPF ต่ำกว่า 15 จะช่วยป้องกันผิวไหม้ได้ แต่ไม่สามารถป้องกันมะเร็งผิวหนังหรือชะลอผิวแก่ก่อนวัยได้ สำหรับแสงแดดเมืองไทย แนะนำให้เลือกครีมกันแดดที่มีค่า SPF 50+ และมีค่า PA++++ จะดีที่สุด

เลือกครีมกันแดดที่ป้องกันได้ทั้งยูวีเอ และยูวีบี

ควรเลือกครีมกันแดดที่ระบุว่าสามารถป้องกันได้ครอบคลุม ทั้งจากรังสียูวีเอและรังสียูวีบี หากเลือกครีมกันแดดที่ไม่ได้รับการระบุดังกล่าว ครีมกันแดดนั้นจะเพียงช่วยป้องกันผิวไหม้แดด แต่ไม่สามารถป้องกันมะเร็งผิวหนังและผิวที่แก่ก่อนวัย

เลือกครีมกันแดดที่ป้องกันอินฟราเรดได้

อินฟราเรดเป็นรังสีที่แทรกซึมเข้าสู่ผิวได้ลึกกว่ารังสียูวีเอและยูวีบี สามารถทะลุผ่านผิวหนังชั้นนอกและผิวหนังแท้เข้าสู่ใต้ผิวหนังได้ เมื่ออินฟราเรดเข้าสู่ชั้นผิวลึกจะส่งผลให้เกิดอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นตัวการทำลายคอลลาเจนและเร่งให้ผิวดูแก่กว่าวัย8 ดังนั้นเพื่อป้องกันผลเสียจากรังสีอินฟราเรดจึงควรเลือกครีมกันแดดที่ป้องกันรังสีอินฟราเรดได้ด้วย

เลือกครีมกันแดดที่ป้องกันแสงสีฟ้าได้

แสงแดดประกอบด้วยความถี่ต่างๆ ของแสงที่มองเห็นและมองไม่เห็น หนึ่งในนั้นคือแสงสีฟ้า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแสงขาวจากแสงยูวี สามารถมองเห็นได้และมีพลังงานสูง มีความถี่ประมาณ 380 – 480 นาโนเมตร3 หากได้สัมผัสแสงสีฟ้าจะทำให้เซลล์ผิวได้รับความเสียหาย อีกทั้งเร่งให้ผิวแก่กว่าวัย9 วิธีแก้ไขปัญหาเหล่านี้คือควรเลือกใช้ครีมกันแดดที่ช่วยป้องกันแสงสีฟ้าได้

กันแดดสู้แสงทุกองศา +
ปรับผิวให้ดูโกลว์

คลิกเลย

เลือกครีมกันแดดที่มีประสิทธิภาพในการกันน้ำ

ครีมกันแดดที่สามารถกันน้ำได้จะช่วยปกป้องผิวในขณะที่ว่ายน้ำหรือมีเหงื่อออกได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งประสิทธิภาพการป้องกันจะอยู่ได้นานถึง 40 – 80 นาที7 และควรทาครีมกันแดดซ้ำในทุกๆ 2 ชั่วโมง

เลือกครีมกันแดดที่ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคือง

หลีกเลี่ยงการเลือกใช้ครีมกันแดดที่มีสารต่อไปนี้เป็นส่วนผสม เพราะจะทำให้เกิดอาการแพ้ได้ง่าย

  • มิเนอรัล ออยล์
  • พาราเบน
  • พาทาเลต
  • สารลดแรงตึงผิวกลุ่มซัลเฟต
  • ไซคลิก ซิลิโคน11

อย่างไรก็ตาม อาการแพ้หรือระคายเคืองอาจจะเกิดขึ้นอยู่กับสภาพผิวของแต่ละบุคคล ดังนั้นนอกจากเลือกครีมกันแดดที่ไม่มีส่วนผสมที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองแล้ว ควรสังเกตอาการตนเองเพิ่มเติมว่ามีอาการระคายเคืองต่อส่วนผสมอื่นๆ ด้วยหรือไม่

ช่วงเวลาไหนที่ควรหลีกเลี่ยงแสงแดด

อีกหนึ่งวิธีง่ายๆ ที่ช่วยป้องกันตัวเองจากแสงแดด คือหลีกเลี่ยงการออกไปข้างนอกในช่วงเวลาที่แสงแดดจัด ตั้งแต่ประมาณ 11.00 น. – 14.00 น. และเลือกออกไปข้างนอกในช่วงเวลาปลอดภัยที่โดนแสงแดดได้ เช่น ช่วงเช้า 6.00 น. - 11.00 น. และช่วงหลัง 14.00 น. เป็นต้นไป เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่แสงแดดมีรังสียูวีบีน้อย10

กันแดดสู้แสงทุกองศา +
ปรับผิวให้ดูโกลว์

คลิกเลย
Reference
  1. Skin Cancer Foundation. UV Radiation & Your Skin. skincancer.org. Publised August 2021. Retrieved 30 September 2023.
  2. Rajavithi Hospital. “แสงสีฟ้า” ตัวการทำร้ายผิว. Rajavithi.go.th. (No date). Retrieved 28 September 2023.
  3. Health Light. Blue Light vs Red Light vs Infrared. healthlightllc.com. Published 17 April 2021. Retrieved 28 September 2023.
  4. Wiley Online Library. The impact of blue light and digital screens on the skin. onlinelibrary.wiley.com. Published 03 January 2023. Retrieved 28 September 2023.
  5. Medical News Today. What to know about freckles. medicalnewstoday.com. Published 27 March 2023. Retrieved 28 September 2023.
  6. PobPad. ครีมกันแดด เลือกใช้อย่างไรให้ปกป้องผิวได้ดี. pobpad.com. (No date). Retrieved 30 September 2023.
  7. Science Direct. Effects of Infrared Radiation and Heat on Human Skin Aging in vivo. sciencedirect.com. Published 16 December 2015. Retrieved 30 September 2023.
  8. Rama Mahidol. แนะเคล็ดลับในการป้องกันแสงแดด. rama.mahidol.ac.th. (No date). Retrieved 30 September 2023.
  9. U.S. Food And Drugs. Sunscreen: How to Help Protect Your Skin from the Sun. fda.gov. (No date). Retrieved 30 September 2023.