07 JUN 2023 บ้านและเทคโนโลยี 3 นาทีในการอ่าน 11011 VIEWS 30 แชร์

เครื่องกรองอากาศหรือเครื่องฟอกอากาศมีประโยชน์อะไร? ทำไมต้องมี?

ควันและฝุ่นเป็นปัญหาหนึ่งที่คนไทยพบเจออยู่ในทุกวัน โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ๆ อย่างกรุงเทพฯ ที่มีปริมาณรถเยอะ ทำให้เกิดควันพิษและฝุ่นละอองจำนวนมาก เครื่องฟอกอากาศจึงเป็นอุปกรณ์ประจำบ้านที่หลายคนเริ่มจะสนใจกันมากขึ้น ใครที่ยังสงสัยว่า เครื่องฟอกอากาศช่วยอะไร? เครื่องฟอกอากาศมีประโยชน์อย่างไรบ้าง? ลองมาดูความสำคัญของเครื่องฟอกอากาศ ในยุคที่อากาศเป็นพิษ แม้แต่อากาศที่หายใจเข้าไปก็อันตราย

เครื่องฟอกอากาศช่วยอะไร มีหลักการทำงานอย่างไร

หน้าที่หลักๆ ของเครื่องฟอกอากาศ คือ การฟอกอากาศในบ้านหรือที่ทำงานให้สะอาดขึ้น ซึ่งกระบวนการทำงานของเครื่องฟอกอากาศแต่ละรุ่นอาจจะมีเทคโนโลยีการฟอกอากาศที่แตกต่างกันออกไป แต่กระบวนการทำงานหลักๆ ประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้

  • ขั้นแรก ตัวกรองจะขจัดฝุ่นออกจากอากาศ
  • ขั้นที่สอง สารที่เป็นอันตรายจะถูกกำจัดออก
  • ขั้นที่สาม ระบบกำจัดกลิ่นต่างๆ ที่ยังปะปนอยู่ในอากาศ
  • ขั้นที่สี่ ปล่อยอากาศที่ผ่านการกรองกลับออกมา

นอกจากขั้นตอนเหล่านี้แล้ว เครื่องฟอกอากาศบางรุ่นยังอาจมีฟังก์ชันเพิ่มเติม เช่น การกำจัดความชื้น ยับยั้งเชื้อไวรัส หรือบางรุ่นอาจมีอุปกรณ์ที่ช่วยบำบัดให้มีกลิ่นหอม ช่วยให้ห้องมีอากาศที่ดี หอมสดชื่นได้ด้วย

การใช้เครื่องฟอกอากาศจึงเป็นผลดีกับทุกๆ คน โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ ดังที่ทราบกันดีว่าการหายใจเอาสารระคายเคืองเข้าไปจะทำให้หายใจลำบาก บางครั้งอาจมีอาการแน่นหน้าอก ซึ่งเป็นความลำบากในการใช้ชีวิตอย่างมาก

การติดตั้งเครื่องฟอกอากาศไว้ในบ้านหรือที่ทำงานจึงมีประโยชน์มาก นอกจากจะช่วยฟอกให้อากาศสะอาดขึ้นแล้ว ยังช่วยกำจัดละอองเกสร ไรฝุ่น ขนของสัตว์เลี้ยง และสิ่งกระตุ้นทั่วไปอื่นๆ ที่อาจกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ได้อีกด้วย

เครื่องฟอกอากาศมีประโยชน์อะไรบ้าง?

เครื่องฟอกอากาศมีประโยชน์อะไรบ้าง?

ในยุคปัจจุบันที่แม้จะหายใจเข้าไปอากาศก็ยังเป็นพิษ ทำให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ โดยเฉพาะระบบทางเดินหายใจ จะหลีกเลี่ยงก็เป็นเรื่องยาก เพราะยังต้องหายใจเข้าไปอยู่ทุกวัน จึงจำเป็นต้องมีตัวช่วยอย่าง “เครื่องฟอกอากาศ” ที่ช่วย กรองฝุ่นในอากาศและดักจับเชื้อ ช่วยให้มีอากาศที่สดชื่นขึ้น นอกจากนี้เครื่องฟอกอากาศยังมีประโยชน์อื่นๆ อีกมากมาย ดังนี้

ช่วยลดฝุ่นในอากาศ

อากาศภายในบ้านหรือที่ทำงานมักจะสกปรกกว่าภายนอกมาก อาจเป็นเพราะการระบายอากาศไม่ดี หรือเพราะผู้คนมักจะปิดหน้าต่าง ทำให้อากาศภายในอาคารมักจะมีสารปนเปื้อน เช่น เศษผงจากใยผ้า ฝุ่นจากรองเท้า สะเก็ดผิวหนัง ควันและไอน้ำมันจากการประกอบอาหาร เป็นต้น

เครื่องฟอกอากาศจึงมีหน้าที่ทำให้อากาศสะอาดโดยการกรองฝุ่นและดูดซับฝุ่นไป ระบบฟอกอากาศจะใช้ตัวกรองต่างๆ ดักจับสารปนเปื้อนในอากาศ เช่น เพิ่มประจุไฟฟ้าในอากาศ ทำให้สารปนเปื้อนรวมตัวกันและมีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อให้ตัวกรองดักจับได้ง่ายขึ้น เป็นต้น เมื่อเวลาผ่านไป มีการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ มากมายเพื่อกรองฝุ่น และฟอกอากาศในอาคารและบ้าน เช่น

  • เครื่องฟอกอากาศแบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยทำให้มวลอากาศมีไฟฟ้าสถิต เพื่อดักจับฝุ่นผงต่างๆ ด้วยสนามแม่เหล็กภายในเครื่อง ซึ่งจะทำงานได้ดีเมื่อใช้ร่วมกับอุปกรณ์กรองประเภทอื่นๆ
  • ตัวกรอง HEPA ตัวกรองอากาศแบบอนุภาคที่มีประสิทธิภาพสูง (หรือที่เรียกว่า High efficiency particulate air filters "HEPAs") เป็นหนึ่งในวิธีการกรองอากาศที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ข้อได้เปรียบหลักคือความสามารถในการดักจับแม้แต่อนุภาคขนาดจิ๋วที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 0.3 ไมครอน นั่นทำให้ HEPA เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการกำจัดสารก่อภูมิแพ้ในอากาศ ฝุ่น PM2.5 และไอระเหยของสารเคมี แต่จำเป็นต้องเปลี่ยนเป็นประจำ เนื่องจากตัวกรองทั้งหมดจะอุดตันในที่สุด
  • ไส้กรองถ่านกัมมันต์ ถ่านกัมมันต์ผลิตโดยการเผาวัสดุจากพืช ภายใต้สภาวะควบคุม เมื่อเผาอย่างเหมาะสม ถ่านกัมมันต์จะผลิตวัสดุที่มีรูพรุนสูงเป็นจำนวนมาก ประสิทธิภาพในการทำความสะอาดส่วนใหญ่มาจากความสามารถในการดูดซับสารเคมีและกรองฝุ่นที่มีอยู่ในอากาศ
  • เครื่องฟอกคาร์บอนไดออกไซด์ เครื่องฟอก CO2 ทำความสะอาดอากาศโดยการดักจับก๊าซที่เกิดจากการสูบผลิตภัณฑ์ยาสูบ เตาแก๊ส ฯลฯ โดยปกติแล้วจะใช้ร่วมกับตัวกรองถ่านกัมมันต์ เพื่อการกรองฝุ่นที่สมบูรณ์

ช่วยลดเชื้อไวรัสในอากาศ

สารมลพิษที่พบมากที่สุดคือ สาร PM ซึ่งนอกจากจะประกอบด้วยฝุ่นละออง ละอองเกสร และอนุภาคขนาดเล็กอื่นๆ ในชั้นบรรยากาศแล้ว ยังมีเชื้อโรคในอากาศด้วย แม้ระบบฟอกอากาศจากเครื่องฟอกอากาศจะไม่ได้ใช้ฆ่าเชื้อไวรัส แต่ก็ช่วยดักจับและกรองเชื้อไวรัสจากอากาศที่ผ่านเข้าตัวเครื่อง เมื่อเวลาผ่านไป มีการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ มากมายเพื่อคัดกรองเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อราในอาคารและบ้าน เช่น

  • Ionizers เทคโนโลยี Ionizing Chamber ใช้ไอออนประจุไฟฟ้าเพื่อดึงดูดสารอันตราย เช่น สปอร์ของเชื้อราและแบคทีเรีย
  • Fluorescent Discharge Generators (FDG) เครื่องกำเนิด Fluorescent ผลิตรังสี UV ความเข้มสูงที่ต่อต้านจุลินทรีย์ รวมทั้งแบคทีเรียและไวรัสได้บางส่วน
  • หลอดไฟยูวี หลอดไฟอัลตราไวโอเลตเป็นอีกวิธีหนึ่ง ในการต่อต้านเชื้อโรคในอากาศ สำหรับรุ่นที่ทันสมัยส่วนใหญ่ปล่อยรังสี UVC ซึ่งไม่ทำลายผิวหนังมนุษย์
  • เครื่องกำเนิดโอโซน เครื่องกำเนิดโอโซนปล่อยอะตอมออกซิเจนสู่ชั้นบรรยากาศโดยรอบ ส่งผลให้โอโซนที่มีคุณสมบัติต้านเชื้อแบคทีเรียมีอยู่ในห้องในระดับที่สูงขึ้น

เลือกเครื่องฟอกอากาศยังไง?

เลือกเครื่องฟอกอากาศยังไง?

มีเครื่องฟอกอากาศในบ้านหลายประเภทในท้องตลาด และแต่ละประเภทก็มีข้อดีในตัวเอง วิธีที่ดีที่สุดในการตัดสินใจเลือกเครื่องที่เหมาะก็ขึ้นอยู่กับความต้องของการใช้งานเป็นสำคัญ ซึ่งก็มีอยู่อย่างหลากหลายดังต่อไปนี้

เลือกให้เหมาะกับขนาดห้อง

สำหรับพื้นที่ขนาดใหญ่ เช่น ห้องนั่งเล่นหรือพื้นที่รับประทานอาหาร ควรใช้ระบบการกรองอากาศที่ใหญ่ เพื่อให้เหมาะสมกับขนาดของห้อง เลือกตัวกรองประสิทธิภาพสูง จะช่วยฟอกอากาศทุกซอกทุกมุมในบ้านของคุณในคราวเดียว

สำหรับห้องขนาดเล็ก เครื่องฟอกอากาศจะทำงานได้ดีหากพื้นที่ไม่มีของแออัดมากนัก โดยเฉพาะในห้องที่ต้องการอากาศสะอาดอย่างห้องนอน เพราะต้องนอนและหายใจเอาอากาศเข้าไปเป็นเวลานาน

เลือกไส้กรอง/แผ่นกรองให้เหมาะกับความต้องการ

ตัวกรองแต่ละชนิดย่อมมีการทำงานที่ต่างกันออกไปด้วย ซึ่งบางชนิดอาจมีประสิทธิภาพในการกรองที่มากกว่าชนิดอื่น ขึ้นอยู่กับว่าสภาพแวดล้อมในบ้านว่ามีฝุ่นละอองแค่ไหน บางคนอาจจะแค่ต้องการกรองฝุ่น บางคนอาจจะมีภูมิแพ้จึงอยากกรองอนุภาคอื่นๆ ด้วย จึงควรเลือกไส้กรองที่ตอบโจทย์ความต้องการให้มากที่สุด โดยตัวอย่างแผ่นกรองและคุณสมบัติก็เช่น

  • ไส้กรอง HEPA ตามมาตรฐาน HEPA ทั่วไป ตัวกรองจะกำจัดอนุภาคในอากาศที่มีขนาดเล็กถึง 0.3 ไมครอนได้ถึง 99.97% จากอากาศที่ผ่านเข้าไป ซึ่งรวมถึงละอองเกสร ไรฝุ่น สะเก็ดผิวหนังของสัตว์เลี้ยง สปอร์ของเชื้อรา แบคทีเรีย ไวรัส และควันบุหรี่ เหมาะกับคนที่แพ้ฝุ่นง่ายเป็นพิเศษ ซึ่งรุ่นอย่างแอทโมสเฟียร์สกายก็จะมีความสามารถกรองได้ถึง 0.0024 ไมครอน เหนือกว่ามาตรฐาน HEPA ทั่วไปถึง 125 เท่า
  • แผ่นกรองกลิ่น (ODOR) ที่จะช่วยกรองสารเคมีที่ก่อให้เกิดกลิ่นจากอากาศ โดยที่แผ่นกรองกลิ่น สกาย ของแอทโมสเฟียร์สกายก็สามารถกรองสารเคมีได้ถึง 13 ชนิด ได้แก่ ฟอร์มาลดีไฮด์ โอโซน ไนโตรเจนไดออกไซด์ สารประกอบอินทรีย์ระเหย (TVOC) ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไฮโดรเจนไดออกไซด์ แอมโมเนีย เบนซิน ไซลีน โทลูอีนไดออกซินและไดเบนโซฟูแรน อะเซทัลดีไฮต์ กรดอะซิติก รวมไปถึงอนุภาคสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสี เรดอน ด้วย
  • แผ่นกรองหยาบ ที่จะขจัดอนุภาคขนาดใหญ่ เช่น เศษผ้าและฝุ่นละออง ออกจากอากาศ

เลือกที่มีสัญลักษณ์ Allergy UK

เลือกที่มีสัญลักษณ์ Allergy UK

สัญลักษณ์นี้หมายความว่าได้รับการทดสอบโดยห้องปฏิบัติการอิสระตามมาตรฐานของ British Standard ในส่วน BS EN 1822-1 เพื่อช่วยการันตีว่าผลิตภัณฑ์เหล่านั้นตรงตามมาตรฐานที่เข้มงวด เมื่อต้องการกำจัดสารก่อภูมิแพ้ในอากาศ เหมาะที่จะใช้กับผู้เป็นภูมิแพ้อย่างมาก

เลือกจากค่า CADR

CADR คือ อัตราการส่งมอบอากาศสะอาด (Clean Air Delivery Rate : CADR) เป็นมาตรวัดที่ใช้เปรียบเทียบประสิทธิภาพของอุปกรณ์ทำความสะอาดอากาศต่างๆ จะแสดงเป็นลูกบาศก์ฟุตต่อนาทีและบอกว่าอากาศสามารถผ่านอุปกรณ์ได้เท่าใดในหนึ่งนาที ตัวเลขที่มากขึ้นหมายถึงการไหลเวียนของอากาศที่มากขึ้น

เลือกจากระดับเสียงรบกวน

การเลือกจากความดังเสียงรบกวนอาจเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากใช้สำหรับห้องนอนหรือห้องพักผ่อน ก็ควรดูระดับเดซิเบลของตัวเครื่องก่อนตัดสินใจซื้อ เพื่อที่เสียงของเครื่องฟอกอากาศจะได้ไม่รบกวนเวลาในการนอน

เลือกจากความประหยัดไฟ

บางเครื่องอาจจะช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้าด้วยฟีเจอร์อัจฉริยะ อย่าง ระบบปิดอัตโนมัติ ในขณะที่เครื่องอื่นๆ อาจใช้พลังงานน้อยกว่าเพราะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า หรือไม่มีพัดลม ซึ่งพัดลมที่แรงขึ้นหรือใหญ่ขึ้นก็จะกินไฟมากขึ้น

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องฟอกอากาศ

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องฟอกอากาศ

วิธีการที่จะเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องฟอกอากาศให้ได้ผลดีนั้นมีอยู่หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของตำแหน่งที่วางของเครื่องฟอกอากาศ หรือความถี่ในการดูแลรักษา ที่ล้วนมีผลต่อเครื่องฟอกอากาศ โดยทริคที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพเหล่านี้ ได้แก่

  1. วางเครื่องฟอกอากาศในพื้นที่ปิดเพื่อการทำงานที่ดี
  2. เปลี่ยนไส้กรองเป็นประจำ (ทุก 1-3 เดือน)
  3. ไม่ควรวางไว้บนเฟอร์นิเจอร์หรือเครื่องนอน
  4. ควรหลีกเลี่ยงการวางใกล้อุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น ทีวี คอมพิวเตอร์ เพราะอยู่ใกล้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสูงเกินไป ไม่สามารถปิดกั้นการระบายอากาศได้ ดังนั้นควรเก็บให้ห่างจากหน้าต่างและประตู
  5. ไม่ควรวางในมุมเดียวกับเครื่องปรับอากาศ มันจะทำให้เกิดการรบกวนระหว่างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สองความถี่ที่แตกต่างกัน และสร้างมลพิษทางเสียง ถ้าเป็นไปได้ให้ย้ายห้องออกจากกัน
  6. เมื่อทำความสะอาดฝุ่น อย่าใช้เครื่องดูดฝุ่นโดยตรง กับแผ่นกรอง ให้ทำความสะอาดฟิลเตอร์โดยใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆ แทน แต่ไม่ต้องถอดฟิลเตอร์ออกก่อน และตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้ทำความสะอาดตัวกรองทั้งสองด้านหลังจากใช้งานแล้ว อย่าให้ส่วนใดส่วนหนึ่งของพื้นผิวที่สกปรกสัมผัสกับผิวหนังของคุณ สิ่งสกปรกอาจมีจุลินทรีย์ที่เป็นอันตราย เช่น แบคทีเรียและเชื้อราที่อาจส่งผลต่อสุขภาพได้
  7. อย่าปิดเครื่องทิ้งไว้ในเวลากลางคืน เวลานอน แม้ว่าเราจะคิดว่าเราจะไม่สนใจคุณภาพของอากาศในระหว่างการนอน แต่จริงๆ คุณภาพอากาศระหว่างการนอนนั้นมีความสำคัญไม่แพ้กับเวลาที่ตื่นเลย จึงควรเปิดในช่วงเวลาที่นอนไว้ด้วย

ทริคเหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และการดูแลเครื่องฟอกอากาศพื้นฐานที่ทุกคนควรรู้ เพื่อที่จะได้การใช้งานที่มีคุณภาพ

สรุป

เครื่องฟอกอากาศเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีเทคโนโลยีระบบกรองอากาศ จึงช่วยลดฝุ่นละอองทั้งที่มีขนาดใหญ่ไปจนเล็กมาก และช่วยจัดการมลภาวะในบริเวณนั้นๆ นอกจากนี้เครื่องฟอกอากาศที่มีประสิทธิภาพสูงยังสามารถกรองเชื้อไวรัส แบคทีเรีย และสารก่อภูมิแพ้ได้ด้วย อากาศรอบตัวจึงมีสิ่งปนเปื้อนและมลพิษน้อยลง อากาศสะอาดขึ้นนั่นเอง ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์สูงสุดควรพิจารณาเลือกเครื่องฟอกอากาศให้ดี โดยเลือกจากขนาดที่พอดีกับบริเวณห้อง เลือกไส้กรอง และค่า CADR ให้เหมาะสม ยิ่งถ้ามีมาตรฐานรับรองการกรองสารก่อภูมิแพ้ด้วย ก็ยิ่งเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าเพื่อสุขภาพของทุกคนในบ้าน