16 MAY 2024 บทความผลิตภัณฑ์ 4 นาทีในการอ่าน 968 VIEWS

ภาวะขาดน้ำ (Dehydration) คืออะไร ป้องกันไม่ให้เกิดภาวะนี้ได้อย่างไร

ภาวะขาดน้ำอันตรายกว่าที่คิด! อย่าลืมดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวัน เพราะภาวะนี้เกิดจากที่ร่างกายเสียน้ำมากกว่าการได้รับน้ำมา โดยภาวะนี้สามารถเกิดได้กับทุกคน แต่ก็ยังป้องกันได้อยู่

ภาวะขาดน้ำ คืออะไร?

ภาวะขาดน้ำ (Dehydration) คือภาวะของร่างกายที่ผิดปกติ ที่มีการสูญเสียน้ำออกไปมากกว่าการได้รับน้ำเข้ามาภายในร่างกาย ทำให้ปริมาณน้ำ หรือของเหลวในร่างกายไม่สมดุล มีน้ำไม่เพียงพอต่อการทำงานของระบบต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะระบบการไหลเวียนเลือด ที่เกิดจากการดื่มน้ำไม่เพียงพอ ซึ่งส่งผลต่อการทำงานของสมอง หัวใจ หรือกล้ามเนื้อ ซึ่งภาวะขาดน้ำ อาจเป็นอันตรายกับร่างกายถึงขั้นเสียชีวิตได้1 

อาการของคนมีภาวะขาดน้ำ

อาการของคนมีภาวะขาดน้ำ เป็นอย่างไร

อาการทั่วไปที่สังเกตได้ของภาวะขาดน้ำ อาจแตกต่างกันตามความรุนแรงของโรคขาดน้ำ โดยแบ่งได้ 2 ระดับคือ ระดับที่ไม่เป็นอันตราย โดยร่างกายจะมีอาการขาดน้ำ และรู้สึกกระหายน้ำ ปัสสาวะน้อย ผิวแห้ง ตาแห้ง ปากแห้ง มีกลิ่นปาก ท้องผูก ถ่ายยาก รวมถึงอาจมีอาการมึนหัว และคลื่นไส้ร่วมด้วย ส่วนระดับที่รุนแรงจนอาจเกิดอันตรายได้นั้น จะมีอาการกระหายน้ำมากขั้นรุนแรง ปัสสาวะสีเข้ม หรือไม่ปัสสาวะเลย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง หัวใจเต้นเร็ว อาการหนักมากจนอาจมีไข้จนช็อกหมดสติได้

สาเหตุของการเกิดภาวะขาดน้ำ

ภาวะ Dehydration มีสาเหตุมาจากหลายปัจจัยด้วยกัน เพราะน้ำเป็นส่วนประกอบหลักในร่างกายถึง 60% เมื่อมีการสูญเสียมากเกินกว่าปกติ หรือการดื่มน้ำไม่สามารถเข้าไปทดแทนได้เพียงพอ จึงส่งผลให้เกิดภาวะขาดน้ำได้ 

ร่างกายเสียน้ำมากเกินไป

การที่ร่างกายเสียน้ำมากเกินไป ที่มาจากการอาเจียนหนัก การถ่ายเหลว ท้องเสีย หรือการสูญเสียเหงื่อมากผิดปกติจากการอยู่ท่ามกลางอากาศร้อน ส่งผลให้เกิดภาวะขาดน้ำได้

ดื่มน้ำน้อยเกินไป

น้ำ สำคัญต่อร่างกายมาก เพราะมีส่วนช่วยให้ระบบต่างๆ ภายในร่างกายทำงานได้ดีขึ้น พฤติกรรมการไม่ดื่มน้ำ หรือดื่มน้ำน้อยเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ จึงอาจส่งผลให้ร่างกายเกิดภาวะขาดน้ำได้

เสียเหงื่อมากกว่าปกติ

การอยู่ในที่ที่มีอากาศร้อนเป็นเวลานาน รวมไปถึงการเล่นกีฬา การทำงาน การทำกิจกรรมที่ต้องมีการสูญเสียเหงื่อเป็นเวลานานๆ ส่งผลให้ร่างกายเกิดภาวะขาดน้ำได้ 

ปัสสาวะมากกว่าปกติ

ในผู้ป่วยบางรายที่จำเป็นต้องใช้ยาขับปัสสาวะ ทำให้มีอาการปัสสาวะมากกว่าปกติ อาจส่งผลให้เกิดภาวะสูญเสียน้ำได้ 

ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดได้จากภาวะขาดน้ำ

ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดได้จากภาวะขาดน้ำ

ภาวะขาดน้ำ หากปล่อยไว้แล้วไม่รีบดูแล อาจส่งผลกระทบให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมาได้ ดังนี้ 

  • ไตทำงานผิดปกติ 
  • ทางเดินปัสสาวะผิดปกติ 
  • ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
  • ชัก หมดสติ 
  • เป็นลมแดด 
  • ความดันโลหิตต่ำ ช็อกหมดสติ 

สังเกตภาวะขาดน้ำหรืออาการขาดน้ำได้ด้วยตัวเอง

สังเกตภาวะขาดน้ำหรืออาการขาดน้ำได้ด้วยตัวเอง

อย่างไรก็ดี สามารถสังเกตภาวะขาดน้ำ หรืออาการขาดน้ำได้ด้วยตัวเอง ก่อนที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ ดังนี้ 

  • สังเกตจากความหยุ่นของผิว เมื่อร่างกายอยู่ในภาวะขาดน้ำ จะทำให้ผิวขาดความชุ่มชื้น และความยืดหยุ่น สังเกตจากการลองดึงผิวหนังบริเวณหลังมือแล้วปล่อย หากมีการคืนตัวช้ามากกว่า 2-3 วินาที แสดงว่าร่างกายอยู่ในภาวะขาดน้ำ2 
  • สังเกตจากสีของปัสสาวะ ภาวะขาดน้ำจะทำให้สีของปัสสาวะเข้มขึ้น จากสีปกติที่ควรมีสีเหลืองใส หากมีอาการปัสสาวะน้อยกว่า 4 ครั้งต่อวัน และปัสสาวะมีสีเข้มผิดปกติ แสดงว่าอาจมีภาวะขาดน้ำ2
  • สังเกตจากการไหลเวียนของเลือดที่ปลายนิ้ว เช็กการไหลเวียนของเลือดได้จากการบีบปลายนิ้ว 2-3 วินาทีแล้วปล่อย เพื่อสังเกตการคืนตัวของสีบริเวณปลายนิ้วที่เป็นสีชมพูอ่อนๆ หากกลายเป็นสีขาวเมื่อบีบ และคืนตัวกลับมาเป็นสีชมพูต้องไม่นานเกินกว่า 3 วินาที เพราะหากคืนตัวช้าอาจมีภาวะขาดน้ำ2

ภาวะขาดน้ำ ดูแลรักษาได้อย่างไร

เมื่อเกิดภาวะ Dehydration ทั้งในเด็ก และผู้ใหญ่ สามารถดูแลเบื้องต้นได้ตามช่วงวัย ด้วยวิธีต่อไปนี้ 

เด็กแรกเกิดและอายุไม่เกิน 1 ปี 

  • ให้ดื่มนม หรือนมแม่บ่อยๆ 
  • ไม่ควรให้ดื่มเกลือแร่ ควรปรึกษาแพทย์อย่างใกล้ชิด
  • หากอาการไม่ดีขึ้น ควรรีบพบแพทย์โดยเร็ว 

เด็กอายุ 1-11 ปี 

  • ให้ดื่มน้ำเปล่าบ่อยๆ 
  • หลีกเลี่ยงให้ดื่มน้ำที่มีน้ำตาลสูง เช่น น้ำอัดลม หรือน้ำผลไม้
  • ให้ดื่มน้ำที่ละลายผงเกลือแร่ 

ผู้ใหญ่และเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป 

  • หยุดพักการทำกิจกรรม
  • นั่งพักในที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวก
  • ดื่มน้ำเปล่าบ่อยๆ 
  • ดื่มน้ำเปล่าละลายผงเกลือแร่

วิธีป้องกันไม่ให้เกิดภาวะขาดน้ำ

วิธีป้องกันไม่ให้เกิดภาวะขาดน้ำ

เพื่อดูแลไม่ให้ร่างกายเกิดภาวะขาดน้ำ ควรป้องกันก่อนที่จะเกิดภาวะขาดน้ำได้ด้วยวิธีดังนี้ 

ดื่มน้ำให้เพียงพอทุกวัน 

เริ่มจากการดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอทุกวัน เพื่อทดแทนน้ำที่ร่างกายสูญเสียไปในแต่ละวัน เพื่อช่วยป้องกันภาวะขาดน้ำได้ หรือเลือกเครื่องกรองน้ำดื่ม eSpring ตัวช่วยที่ทำให้น้ำสะอาด แต่ยังคงแร่ธาตุที่มีประโยชน์ และจำเป็นไว้ในน้ำดื่ม เหมาะสำหรับการดื่มน้ำในทุกๆ วัน มาพร้อมคุณสมบัติสำคัญคือไส้กรองที่มีประสิทธิภาพสูง 3 ชั้น สามารถกรองไมโครพลาสติก สิ่งปนเปื้อนในน้ำ และฆ่าเชื้อโรคได้ด้วยเทคโนโลยี UV-C LED ทั้งนี้ ยังเป็นรายแรกที่ได้รับการรับรองจาก NSF มาพร้อมแอปพลิเคชันติดตามอายุการใช้งาน และปริมาณการกรองน้ำดื่ม มั่นใจได้ด้วยการรับประกันคุณภาพนานถึง 5 ปี

ทำให้ผิวชุ่มชื้น 

การดูแลผิวให้ชุ่มชื้น เป็นอีกวิธีที่ช่วยลดการสูญเสียน้ำทางผิวหนังได้ สามารถดูแลได้ด้วย Artistry Day Lotion Hydrating โลชั่นบำรุงผิวหน้า ที่มีคุณสมบัติบำรุงผิวให้แข็งแรง กระจ่างใส ลดริ้วรอย ช่วยให้ผิวดูอ่อนเยาว์ แลดูสุขภาพดีขึ้น พร้อมปกป้องแสงแดดด้วย SPF 30 PA++++  ทำให้ผิวชุ่มชื้นยาวนานถึง 24 ชั่วโมง และที่สำคัญ เนื้อโลชั่นมีสัมผัสที่นุ่ม บางเบาอีกด้วย

พักดื่มน้ำระหว่างทำกิจกรรมหรือออกกำลังกาย 

สำหรับคนที่ต้องทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือออกกำลังกายบ่อยๆ สามารถป้องกันภาวะขาดน้ำได้ด้วยการพักดื่มน้ำบ่อยๆ จะช่วยให้ร่างกายลดการสูญเสียน้ำได้ พร้อมกับสวมใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี ที่ช่วยให้ร่างกายระบายความร้อนออกทางผิวหนังได้ดีมากยิ่งขึ้น 

เลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์กับคาเฟอีน

การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน จะทำให้ร่างกายขับน้ำออกจากร่างกายไวมากกว่าปกติ ซึ่งนำไปสู่การเกิดภาวะขาดน้ำได้ จึงควรหลีกเลี่ยง เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายสูญเสียน้ำมาก

สรุป

ภาวะขาดน้ำ คือ ภาวะที่ร่างกายสูญเสียน้ำออกไปจากร่างกายมากกว่าได้รับเข้ามา มีสาเหตุมาจากการทำกิจกรรม หรือมีโรคประจำตัว ที่ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำมากกว่าปกติ รวมไปถึงการดื่มน้ำที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย วิธีสังเกตอาการขาดน้ำสามารถดูได้ง่ายๆ จากความรู้สึกกระหายน้ำ อาการปัสสาวะที่ผิดติ รวมไปถึงอาการผิดปกติ เช่น มึนหัว อ่อนเพลีย ผิวแห้ง หรือปากแห้ง เป็นต้น ซึ่งวิธีป้องกันภาวะขาดน้ำสามารถทำได้ง่ายๆ โดยเริ่มจากการดื่มน้ำให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ร้อนอบอ้าว รวมถึงหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่ทำให้ร่างกายขับน้ำออกไวมากกว่าปกติ เพื่อที่จะช่วยลดโอกาสการเกิดภาวะขาดน้ำได้

Reference 

  1. ธิติวุฒิ หู. อย่าปล่อยให้ร่างกายอยู่ใน… “ภาวะขาดน้ำ”. phyathai.com. Published 25 April 2022. Retrieved 14 April 2024

  2. โรงพยาบาลบางปะกอก สมุทรปราการ. ร่างกายขาดน้ำ อันตรายกว่าที่คิด. bpksamutprakan.com. Published 25 May 2022. Retrieved 14 April 2024