จะเป็นอย่างไรหากน้ำดื่มปนเปื้อนด้วยไมโครพลาสติก? มีงานวิจัยบอกว่าคนเรารับอนุภาคนี้เข้าไปในร่างกายถึง 5 กรัม ใน 1 สัปดาห์ ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาวได้
จากงานวิจัย ไมโครพลาสติกสามารถพบได้ในแม่น้ำ ทะเล หรือแหล่งน้ำอื่นๆ ตามธรรมชาติทุกที่แล้ว ยังสามารถพบการปนเปื้อนไมโครพลาสติกในน้ำดื่มที่วางขายตามท้องตลาด กล่าวคือทั่วโลกสามารถพบไมโครพลาสติกในน้ำดื่มได้ถึง 93% และประเทศไทยถือเป็นอันดับต้นๆ เพราะมีการพบไมโครพลาสติกปนเปื้อนในน้ำมากถึง 41% โดยสามารถปนเปื้อนได้จากทั้งกระบวนการผลิตและน้ำดื่มที่อยู่ในขวด ดังนี้
จากการศึกษาพบว่าไมโครพลาสติกในน้ำดื่มที่ได้จากกระบวนการผลิต จะพบไมโครพลาสติกตั้งแต่ 338 ถึง 628 ชิ้นต่อลิตร โดยเกือบทั้งหมดจะมีขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน ชนิดของไมโครพลาสติกที่พบ ได้แก่ PET, PP, PE, PS, PMMA, PBA และ PAM ซึ่งเป็นพลาสติกที่เป็นส่วนประกอบของสารก่อตะกอนในกระบวนการผลิต1
จากงานวิจัยเพื่อหาปริมาณไมโครพลาสติกในน้ำแร่บรรจุขวดชนิดต่างๆ ได้แก่ ขวด PET แบบใช้ครั้งเดียว ขวด PET แบบใช้ซ้ำได้ และขวดแก้วแบบใช้ซ้ำได้ พบว่ามีปริมาณไมโครพลาสติกประมาณ 2,649-2,857 ชิ้นต่อลิตร ในขวด PET จนถึง 6,292-10,521 ชิ้นต่อลิตรในขวดแก้ว โดยในขวด PET พบไมโครพลาสติกชนิด PET ซึ่งเป็นชนิดเดียวกับวัสดุที่ใช้ทำขวด และขวด PET แบบใช้ซ้ำ ทำให้มีไมโครพลาสติกในน้ำดื่มเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังพบอนุภาคของสาร Additive รวมอยู่ด้วย ส่วนในขวดแก้วพบไมโครพลาสติกชนิด PE และ Styrene-Butadiene-Copolymer1
หากกินไมโครพลาสติกเข้าไปในทุกๆ วัน อาจจะเกิดการสะสม และส่งผลเสียต่อร่างกายในระยะยาวได้ ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้
การดื่มน้ำที่ปนเปื้อนไมโครพลาสติกเข้าไป จะทำให้ร่างกายมีความเสี่ยงในการได้รับสารพิษเพิ่มขึ้น เนื่องจากไมโครพลาสติกมีคุณสมบัติในการดูดซับน้ำได้ จึงอาจเก็บสารพิษบางประเภทเอาไว้ เมื่อคนเราดื่มน้ำที่ปนเปื้อนไมโครพลาสติก หรือกินสัตว์ในทะเลที่กินไมโครพลาสติกเข้าไป ร่างกายเราก็จะได้รับสารพิษนั้นๆ เข้าไปด้วย2 ในบทความของ National Geographic Albert Rizzo หัวหน้าแพทย์ของ American Lung Association ได้กล่าวว่าหากเปรียบเทียบการสูดดมไมโครพลาสติกเข้าร่างกายเหมือนการสูบบุหรี่ ที่เมื่อควันบุหรี่เข้าไปในร่างกาย จะกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงาน เพื่อนำเอาสิ่งแปลกปลอม หรือควันบุหรี่ออกจากร่างกาย ซึ่งอาจจะทำให้เนื้อเยื่อเสียหาย หรือเกิดพังผืด และอาจจะทำให้เซลล์ดังกล่าว กลายไปเป็นเนื้อเยื่อมะเร็งในที่สุด8
หากดื่มน้ำที่มีการปนเปื้อนไมโครพลาสติกในน้ำเข้าไป อาจเกิดการฝังเข้ากับเนื้อเยื่อในร่างกาย พร้อมปล่อยพิษ หรือโลหะหนักที่ติดมาจากสิ่งแวดล้อมภายนอกเข้าสู่เนื้อเยื่อ จนเป็นสาเหตุให้เกิดโรคมะเร็งได้2 ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ชาวจีน ตรวจพบไมโครพลาสติกในเนื้อเยื่อหัวใจมนุษย์ จากการสุ่มตรวจเนื้อเยื่อหัวใจของคนไข้ 15 คน พบว่ามีพลาสติกถึง 9 ชนิด ใน 5 ชนิดเนื้อเยื่อ แม้ยังไม่ทราบผลกระทบต่อสุขภาพที่ชัดเจน แต่วิจัยชี้ไมโครพลาสติกอาจทำเนื้อเยื่อเสียหาย และก่อมะเร็งได้8
การที่ดื่มน้ำ หรือกินอาหารที่ปนเปื้อนไมโครพลาสติกในปริมาณที่มากถึง 10,000 ชิ้นต่อปี ไมโครพลาสติกขนาดเล็กๆ อาจเข้าสู่กระแสเลือดจนหลอดเลือดถูกปิดกั้นและขัดขวางการไหลเวียนเลือดได้2 โดยทีมวิจัยที่กำลังศึกษาผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับผ่าตัดหลอดเลือดแดง พบว่า ผู้ป่วยมากถึง 150 ราย จากทั้งหมด 304 ราย มีอนุภาคไมโครพลาสติกเกาะอยู่บริเวณคราบพลัคในหลอดเลือดแดง (Artery Plaque) เมื่อผ่านไป 34 เดือน ผู้ป่วยที่มีไมโครพลาสติกในหลอดเลือดแดงคาโรติด มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย โรคหลอดเลือดสมอง หรือเสียชีวิตจากสาเหตุอื่นๆ สูงกว่าผู้ที่ตรวจไม่พบไมโครพลาสติก ถึง 4.5 เท่า7
เมื่อร่างกายเด็กได้รับไมโครพลาสติกที่มีส่วนประกอบของสาร Bisphenol A (BPA) เข้าไป อาจมีผลกระทบต่อพัฒนาการทางสมองของเด็กเล็ก ที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี ส่งผลให้สมองทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ความจำและระบบประสาททำงานได้ลดลง2 ทีมวิจัยแห่ง London's Natural History Museum ค้นพบว่า ไมโครพลาสติกที่ปนเปื้อนภายในสภาพแวดล้อมต่างๆ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และอาจนำไปสู่การก่อให้เกิดโรค Plasticosis ทั้งนี้ทีมวิจัยยังกล่าวว่าไมโครพลาสติกอาจเข้าไปรบกวนการก่อตัวของตัวอ่อนนก ทำให้ตัวอ่อนไม่สามารถเจริญเติบโตอย่างราบรื่น จนถึงขั้นเสียชีวิต หรือต่อให้รอดชีวิตก็จะขัดขวางการเจริญเติบโตของลูกนก ส่งผลให้ขนาดร่างกายขาดสารอาหาร รูปร่างแคระแกร็น และนำไปสู่การเสียชีวิตในที่สุด9
สาร Bisphenol A (BPA) ที่อยู่ในไมโครพลาสติก อาจเข้าไปรบกวนการทำงานของต่อมไร้ท่อ ส่งผลให้ฮอร์โมนอีสโทรเจนที่มีความเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อเกิดความผิดปกติ รวมถึง BPA อาจทำให้ฮอร์โมนเพศชายมีการเปลี่ยนแปลง จนส่งผลกระทบทำให้เสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้2 มีการทดลองในหนู พบว่า BPA เป็นสารที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการเกิดมะเร็งเต้านม มะเร็งในต่อมลูกหมาก และยังส่งผลต่อความผิดปกติทางพันธุกรรม ของเซลล์ในร่างกายอีกด้วย ดังนั้น แม้ว่าจะยังไม่มีรายงานหรืองานวิจัย ที่สามารถอ้างอิงได้ แต่ ดร.ทัศชา ก็แสดงความกังวลว่า สาร BPA อาจจะส่งผลกระทบต่อร่างกายของมนุษย์หลายอย่าง ซึ่งแต่ละอย่างก็ล้วนมีความน่ากังวล10
การดื่มน้ำไม่สะอาดที่มีสารปนเปื้อนต่างๆ ทำให้อายุขัยเฉลี่ยลดลงไปถึง 7 เดือนต่อคน6 การดื่มน้ำสะอาดจึงเป็นเรื่องที่สำคัญและควรให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ โดยมีวิธีกำจัดไมโครพลาสติกและสารอื่นๆ เพื่อลดผลกระทบต่อร่างกายได้ 2 วิธีหลักๆ ดังนี้
การต้มน้ำให้เดือดและนำไปกรองอีกครั้ง จะสามารถกำจัดไมโครพลาสติกได้ โดยจากผลการวิจัยพบว่า เมื่อเติมนาโนพลาสติก และไมโครพลาสติกลงไปในน้ำประปา จากนั้นนำไปต้มแล้วกรองตะกอนออก พบว่าสามารถกำจัดนาโนพลาสติก และไมโครพลาสติกได้สูงถึง 90% ซึ่งเกิดจากเมื่อต้มน้ำประปาจะทำให้อนุภาคหินปูนแยกออกมาจับตัวบนพื้นผิวของพลาสติก จากนั้นจึงค่อยกรองตะกอนหินปูนด้วยตะแกรงสเตนเลส เพียงเท่านี้ก็ช่วยดักจับเศษพลาสติกปนเปื้อนได้3
วิธีกำจัดไมโครพลาสติกอีกวิธีที่สะดวกสบายกว่าการต้มและกรองก่อนดื่มทุกครั้ง คือการใช้เครื่องกรองน้ำ โดยเครื่องกรองน้ำที่ดีต้องได้รับมาตรฐาน NSF401 หรือมาตรฐานการกำจัดสิ่งปนเปื้อนที่เกิดขึ้นใหม่ ซึ่งถูกสังเคราะห์ขึ้นมา ที่อาจจะปนเปื้อนในน้ำ เพื่อรับรองว่าเครื่องกรองน้ำรุ่นนี้สามารถกำจัดไมโครพลาสติกในน้ำดื่มได้
eSpring เครื่องกรองน้ำที่กรองไมโครพลาสติกที่นอกจากจะผ่านมาตรฐาน NSF 401 ยังผ่านมาตรฐาน NSF 42, NSF 53 และ NSF 55 เพื่อให้มั่นใจได้ว่าน้ำที่ผ่านการกรองมีความสะอาดที่เหนือกว่า ลดปริมาณสิ่งปนเปื้อนและสารเคมีในน้ำที่มีอยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็นไมโครพลาสติก, PFOA/PFOS, ไมโครซีสทิน และสารอื่นๆ มากกว่า 170 ชนิด รวมถึงสามารถลดปริมาณเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และซีสต์ ด้วยเทคโนโลยี UV LED เจ้าแรกที่ได้รับการรับรองโดย NSF (NSF/ANSI 55, Class B) อีกทั้งยังคงรักษาคุณค่าแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายอย่างแคลเซียม และแมกนีเซียม เอาไว้ได้อีกด้วย
ไมโครพลาสติก คืออนุภาคย่อยของพลาสติกซึ่งเป็นชิ้นส่วนขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร4 ที่สามารถปนเปื้อนในน้ำดื่มได้จากกระบวนการผลิต หรือเป็นไมโครพลาสติกในน้ำดื่มที่บรรจุขวด หากดื่มน้ำที่ปนเปื้อนไมโครพลาสติกเป็นประจำในระยะยาว อาจเพิ่มความเสี่ยงให้กับร่างกายในการได้รับสารพิษ ประสิทธิภาพการทำงานของเส้นเลือดลดลง ฮอร์โมนร่างกายผิดปกติ กระทบต่อพัฒนาการของเด็ก หรืออาจร้ายแรงถึงขั้นก่อให้เกิดมะเร็งได้
อย่างไรก็ตาม วิธีกำจัดไมโครพลาสติกในน้ำดื่ม ก็สามารถกำจัดได้ด้วยการต้มน้ำให้เดือด แล้วนำไปกรองอีกครั้ง แต่การกรองต้องใช้ตัวกรองที่กรองได้ละเอียดกว่า 0.3 ไมครอน ถึงจะกรองไมโครพลาสติกได้ ดังนั้นหากต้องการความสะดวกสบายที่มากกว่า จึงควรใช้ eSpring เครื่องกรองน้ำไมโครพลาสติกที่ผ่านมาตรฐาน NSF 401 ซึ่งมั่นใจได้ว่าสามารถกรองไมโครพลาสติกได้เป็นอย่างดี มีติดบ้านไว้เพื่อสุขภาพที่ดีของทุกคนในครอบครัว
Reference
วารสารสิ่งแวดล้อม. นักวิจัยตรวจพบไมโครพลาสติกในน้ำดื่ม แล้วแต่ละปี เรากินเข้าไปเท่าไร ?. chula.ac.th. Published 28 December 2022. Retrieved 21 April 2024.
ทัศชา ทรัพย์มีชัย. ไมโครพลาสติก : ผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์. petromat.org. Published 2 September 2022. Retrieved 21 April 2024.
แก้วนภา โพธิ. กำจัดไมโครพลาสติกในน้ำดื่ม…ทำได้ง่ายกว่าที่คิด. nsm.or.th. Published 8 March 2024. Retrieved 21 April 2024.
BBC NEWS. อนามัยโลกชี้ไมโครพลาสติกในน้ำดื่มบรรจุขวดไม่เป็นอันตราย. bbc.com. Published 22 August 2019. Retrieved 21 April 2024.
REFILL STATION. พวกเรากินพลาสติกอยู่ทุกวัน?. refillstationbkk.com. Published 14 June 2019. Retrieved 21 April 2024.
University of Chicago Office of Communications. Air pollution reduces global life expectancy by nearly two years. news.uchicago.edu. Published 19 November 2018. Retrieved 21 April 2024.
Raffaele Marfella, et al. Microplastics and Nanoplastics in Atheromas and Cardiovascular Events. nejm.org. Published 6 March 2024. Retrieved 15 May 2024.
Drwinai. ไมโครพลาสติกกับสุขภาพ. drwinai.com. Retrieved 15 May 2024.
เกรียงไกร เรืองทรัพย์เดช. Plasticosis โรคร้ายจากไมโครพลาสติกทำลายทางเดินอาหาร. posttoday.com. Published 3 April 2023. Retrieved 15 May 2024.
Thairath. 'ไมโครพลาสติก' ภัยเงียบซ่อนตัวในมนุษย์. thairath.co.th. Published 21 October 2023. Retrieved 15 May 2024.