31 AUG 2022 บทความผลิตภัณฑ์ 2 นาทีในการอ่าน 5225 VIEWS 34 แชร์

อะมิโนแอซิดกับการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ | นิตยสารอะชีฟ ฉบับกันยายน 2565

อะมิโนแอซิดกับการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ

sep22-xs1.png


เส้นใยกล้ามเนื้อส่วนใหญ่ประกอบด้วยโปรตีน
กระบวนการสร้างโปรตีนในกล้ามเนื้อ (MPS) และการสลายโปรตีนในกล้ามเนื้อ (MPB) เกิดขึ้นตลอดวัน
เมื่อเรารับประทานอาหาร ร่างกายจะย่อยเป็นกรดอะมิโนเข้าสู่กระแสเลือดและกักเก็บไว้ที่กล้ามเนื้อสำหรับกระบวนสร้างโปรตีนในกล้ามเนื้อ
การเพิ่มกรดอะมิโนใน pool กล้ามเนื้อได้ จะต้องเพิ่มปริมาณกรดอะมิโนในกระแสเลือด


sep22-xs1-04.png


การสร้างกล้ามเนื้อจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อกระบวนการสร้างโปรตีนในกล้ามเนื้อ (MPS) มากกว่า > การสลาย (MPB)
เราจะกระตุ้นการสร้างโปรตีนในกล้ามเนื้อ MPS และยับยั้งการสลาย MPB ได้ด้วยการออกกำลังกายและการกินอาหารที่มีกรดอะมิโนครบถ้วน


sep22-xs1-06.png


ความต้องการกรดอะมิโนจำเป็นที่องค์กรอนามัยโลกที่แนะนำ(ต่อวัน) (มก. / กก. น้ำหนักตัว)
Leucine (ลูซีน) 42
Lysine (ไลซีน) 30
Valine (วาลีน) 26
Isoleucine (ไอโซลูซีน) 19
Threonine (ธรีโอนีน) 15
Phenylalanine (ฟีนิลอะลานีน) 25
Methionine (เมทไทโอนีน) 10
Histidine (ฮิสทีดีน) 10
Tryptophan (ทริปโทแฟน) 4

sep22-xs1-05.png



ปริมาณโปรตีนที่เหมาะสมในแต่ละวัน (กรัม / กก. น้ำหนักตัว)
คนทั่วไป (ไม่ได้ออกกำลังกายหรือมีกิจกรรมทางกาย) 0.8
คนออกกำลังกายเป็นประจำ 0.8 - 1.0
นักกีฬาประเภททนทาน 1.2 - 1.4
นักกีฬาประเภทความแข็งแรง 1.6 - 1.7
คนที่ต้องการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ 1.6 - 2.0
ผู้สูงอายุ 1.0 - 1.5
ผู้ที่ควบคุม/ลดน้ำหนัก 1.5 - 1.8

บทความจากการฝึกอบรมกรดอะมิโนกับกล้ามเนื้อโดย ดร.คุณัญญา มาสดใส แขนงวิชาสรีรวิทยาการออกกำลังกาย คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย