![]() |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
35 ปีที่แล้ว คุณอรอนงค์ (พี่อร) ศิริรังคมานนท์เข้ามาเป็นนักธุรกิจแอมเวย์รุ่นบุกเบิกและก่อตั้งองค์กรของตัวเองขึ้นมา ที่เปรียบเหมือนสถาบันการเรียนรู้ของนักธุรกิจแอมเวย์รุ่นแล้วรุ่นเล่า มาวันนี้ เธอจะมาบอกเล่าถึง 3 สิ่งสำคัญในจักรวาลธุรกิจแอมเวย์ของเธอ และการปรับตัวในสถานการณ์โควิด-19 ในช่วง 2 ปีครึ่งที่ผ่านมา |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
![]() ไม่ว่าก่อนหรือหลังโควิด แพสชั่นของพี่คือความรักในคุณค่าของธุรกิจแอมเวย์ ในการช่วยเหลือผู้คนให้เปลี่ยนแปลงชีวิตได้ พี่ค้นพบว่าเวลาช่วยให้คนๆ หนึ่งเปลี่ยนแปลงจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง มันทำให้เราปลื้มปิติและเปลี่ยนเป็นพลังในตัวเองได้ ต่างจากธุรกิจอื่นที่มีผลประกอบการเป็นตัวกำหนด ศักยภาพในการเติบโตและประสบความสำเร็จที่แอมเวย์กลับไม่มีขีดจำกัดและยุติธรรมจริงๆ ความสำเร็จอยู่ที่ความขยันของแต่ละคน ทุกคนที่เข้ามา ไม่ต้องลงทุนเยอะ แต่ต้องเปิดโอกาสให้ตัวเองได้เรียนรู้และฝึกฝน ตราบใดที่คนฝันอยากเป็นเจ้าของธุรกิจ พี่ก็ยังคงช่วยเหลือเขาได้ พาให้เขาเข้ามาสู่สังคมแห่งการพัฒนาตนเอง ซึ่งในช่วงโควิด แม้พี่มีโอกาสได้ฟังพอดแคสต์ ดูทีวี ดูภาพยนต์ที่ชอบมากขึ้น แต่กลายเป็นว่าพี่ทำงานหนักกว่าเดิมผ่านซูม เป็นความหนักที่อาจเบาด้านกายภาพเพราะไม่ต้องเดินทาง แต่หนักขึ้นในแง่ความถี่ในการพูดคุย โดยเฉพาะกับคนที่อยู่ไกลหรือกลุ่มเล็กกลุ่มน้อย ก่อให้เกิดการต่อยอดไปสู่การเติบโตรวมไปถึงในต่างประเทศ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
![]() |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
![]() คนเรามีความแตกต่างกันในแง่ภูมิหลังด้านต่างๆ ในการทำงานกับคน พี่จึงใช้ความเมตตาเป็นหลักในการรับฟังปัญหา จริงอยู่ที่คนเราเลือกอดีตไม่ได้ แต่เมื่อเขามาร่วมงานกับเรา เขาต้องปรับตัว เหมือนทฤษฎีของชาร์ลส์ ดาร์วิน ที่บอกว่า Survival is the fittest คนที่ปรับตัวคือคนที่จะรอดชีวิตในที่สุด เป็นคนที่เหมาะสมที่สุด พี่จึงใช้หลัก 5Ss ในการสอนคน นั่นคือ Self-starter เป็นคนขยัน Self-motivation ลุกขึ้นเองได้เมื่อเจอปัญหา Self-audit หมั่นตรวจตราตัวเองเพราะพี่พูดเสมอว่า Good นั้นเป็นศัตรูของ Great เราจึงต้องหมั่นตรวจสอบตัวเองว่ามีข้อผิดพลาดตรงไหน มีจุดไหนที่ทำให้ดีขึ้นได้อีกบ้าง Self-respect เมื่อทำถูกต้องและทำดีที่สุดแล้ว มองกระจกแล้วไหว้ตัวเองได้เลย เคารพตัวเองได้เลย จะได้มีพลังไปต่อ เพราะเราทำเต็มสูบแล้ว ซึ่งนำไปสู่ Self-commitment นั่นเอง แต่พี่ไม่เคยสอนว่าดีกรีของแต่ละ S นั้นอยู่ที่ระดับไหน เขาต้องเป็นคนปรับให้เข้ากับตัวเอง พี่เป็นเหมือนวาทยากรที่กำลังสร้างวงมโหรี ต่อให้เสียงเล็กเสียงน้อยก็เอาหมด ซึ่งมนุษย์เรานั้นมีความหลากหลาย และมีความสามารถต่างกันไปในหลายระดับ ถ้าเราเจอคนที่มีศักยภาพสูง ซึ่งปกติมีแต่ต้องค้นหา เมื่อพบเราควรรีบคิดเลยว่าจะทำอย่างไรกับเขา ส่วนคนที่มีความสามารถปานกลาง ซึ่งพบเห็นได้มากกว่านั้น เรามีหน้าที่ขัดเกลาศักยภาพของเขาให้เปล่งประกายขึ้นในที่สุด คนเรานั้นมีช่องให้ปรับปรุงและพัฒนาตัวเองกันได้ทุกคนถ้าตั้งใจจริง จริงอยู่ที่ความสำเร็จนั้นเราไม่ได้เป็นคนทำให้เขา แต่เราสามารถสร้างสิ่งแวดล้อมและหลักการทางความคิดให้เขาเติบโตได้ ในช่วงโควิดนั้น จริงอยู่ที่เราไม่ขาดแคลนผู้บริโภค แต่เมื่อไม่ได้พบปะกัน การสร้างผู้นำก็ยากขึ้นและช้าลง พี่จึงซูมบ่อยขึ้น เติมพลังให้เขา แต่ไม่ว่าเขาจะอยู่ในระดับไหนในองค์กร ทุกคนควรเรียนรู้ที่จะปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ ขณะที่ผู้นำก็ต้องอ่านคนให้ออกแล้วหาวิธีสื่อสารกับคนๆ นั้นเพื่อพัฒนาเขาให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
![]() |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
![]() ความสำเร็จเป็นผลของความรู้ความสามารถและความตั้งใจของมนุษย์ พี่จึงพยายามทำให้เห็นเป็นตัวอย่างว่าเราสำเร็จมากขึ้นได้ตลอดเวลา สำหรับพี่ ความสำเร็จไม่ใช่กล่องผูกโบแดง ไม่ใช่การวิ่งไปหาความสำเร็จระดับสูงแล้วหยุด แต่พี่เพลิดเพลินกับ small win ในแต่ละวัน ซึ่งการสั่งสมความสำเร็จนั้นต้องมากพอและนานพอถึงจะขยับไปสู่เข็มที่โตขึ้นได้ ตลอดจนกล้าที่จะตั้งเป้าหมายต่อไป ทรัพย์สินที่สำคัญสุดขององค์กรของพี่คือคน เป็นทรัพย์สินที่จะเติบโตต่อไปไม่สิ้นสุด ซึ่งกลไกที่จะทำให้องค์กรที่มีคนเป็นหมื่นเติบโตนั้นไม่ง่าย วิธีที่ดีที่สุดคือการสร้าง Power of my success ให้เขาเห็นเป็นตัวอย่าง พี่จึงยังทำงานไปเรื่อยๆ ให้ทุกคนเห็นว่าขนาดอายุ 70 กว่าแล้วแต่พี่ไม่หยุดอยู่กับที่ ยังอยากเติบโตไปเพื่อมอบคุณค่าธุรกิจ ก่อนหน้านี้พี่ได้เดินทางไปเวียดนาม แม้ช่วงแรกไม่มีผลงานเลย แต่ยังเชื่อว่าวันหนึ่งตลาดเวียดนามจะต้องโต จึงกลับไปที่นั่นปีละหลายครั้ง ในที่สุดกลายเป็นว่าสิ่งที่พี่ทุ่มเทลงไปนั้นส่งผลให้องค์กรที่นั่นแข็งแรงไม่น้อยหน้าองค์กรในไทย และจะเป็นตัวแทนของพี่ในเวียดนามต่อไป การจะมี Power of success ได้นั้น เราต้องทำด้วยตัวเอง ถ้าเราไปบอกเขาว่าคุณต้องสำเร็จแต่ตัวเราไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงเลย เขาก็คงไม่เชื่อ เพราะฉะนั้นการสอนที่ดีคือการทำให้ดู พี่จึงไม่คิดที่จะหยุดก้าวไปข้างหน้าและสร้างผู้นำรุ่นใหม่ๆต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
Arch Apolar คือศิลปินไทยคนแรกที่ได้รับเลือกจาก J.K. Rowling ให้เป็นผู้วาดปกและภาพประกอบ Harry Potter วรรณกรรมเยาวชนระดับโลก ในวาระพิเศษครบรอบ 20 ปี ฉบับภาษาไทย ด้วยส่วนผสมของความกล้าในการสร้างสรรค์รายละเอียดที่สดใหม่แต่ยังคงความอ่อนน้อมต่อต้นฉบับ ผลงานชุดนี้จึงได้รับคำชื่นชมจากแฟนๆ นักอ่านทั่วโลก สำหรับภาพ The Power of Passion คุณอาชว์วาดขึ้นจากแรงบันดาลใจในเรื่องเล่าที่เป็นดั่งตำนานความสำเร็จของพี่อร ประสบการณ์อันกล้าหาญสนุกสนาน และเปี่ยมด้วยพลังราวกับมีเวทมนตร์ได้ถูกถ่ายทอดมาเป็นภาพปก Achieve ฉบับนี้ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ลำดับขั้นความสำเร็จ
|