19 OCT 2021 บทความผลิตภัณฑ์ 3 นาทีในการอ่าน 7472 VIEWS 13 แชร์

กระเทียม & เลซิติน คู่ซี้ตัวช่วยดูแลหัวใจและหลอดเลือด | นิตยสารอะชีฟ ฉบับสิงหาคม 2564

กระเทียม & เลซิติน

คู่ซี้ตัวช่วยดูแลหัวใจและหลอดเลือด

aug21-health2-13.png

aug21-health2-03.png

ภาวะไขมันในเลือดสูง เป็นปัญหาสุขภาพที่นับวันจะรุนแรงและมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป เช่น รับประทานอาหารไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกายและมีความเครียด เป็นต้น ส่งผลให้เกิดโรคอ้วน ไขมันในเลือดสูง และสามารถพัฒนาต่อไปเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ ซึ่งปัจจุบันคนไทยป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดจำนวนมาก โดยพบว่าเป็นหนึ่งในสาเหตุของการเสียชีวิตลำดับต้นๆ เนื่องจากเมื่อเป็นแล้วมักไม่รู้ตัวจึงไม่ได้เข้ารับการรักษาและดูแลสุขภาพตนเองตั้งแต่เนิ่นๆ

สำหรับคนที่ไม่ค่อยมีเวลาดูแลตัวเอง นอกเหนือจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ รับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ ออกกำลังกายเป็นประจำ และทำจิตใจให้แจ่มใสอยู่เสมอแล้ว อาจจะหาตัวช่วยสมุนไพรหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อการดูแลสุขภาพที่ดียิ่งขึ้นสองคู่ซี้เพื่อการดูแลหัวใจและหลอดเลือดที่จะไม่พูดถึงไม่ได้เลยก็คือ aug21-health2-05.png

aug21-health2-07.png


aug21-health2-06.png

"กระเทียม" จัดเป็นสมุนไพรในครัวเรือนที่มีการนำมาใช้เป็นยารักษาโรคมายาวนาน ปัจจุบันถูกนำมาใช้ประโยชน์ทางด้านสุขภาพอย่างแพร่หลายต่อเนื่อง สารออกฤทธิ์สำคัญของกระเทียมคือ อัลลิซิน ซึ่งมีประโยชน์ต่อหัวใจและหลอดเลือด กระเทียมถือได้ว่าเป็นหนึ่งในสมุนไพรที่มีงานวิจัยสนับสนุนเรื่องการลดโคเลสเตอรอลในเลือดมากพอสมควร ซึ่งข้อสรุปที่ได้จากงานวิจัยส่วนหนึ่งพบว่า ทั้งกระเทียมสดและกระเทียมผงสามารถช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลรวมโคเลสเตอรอลชนิดแอลดีแอล และอนุมูลอิสระในเลือดได้ นอกจากนี้ยังพบว่ามีส่วนช่วยให้ระดับโคเลสเตอรอลชนิดเอชดีแอลเพิ่มสูงขึ้นอีกด้วย

แม้ว่ากระเทียมจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพในการช่วยลดไขมัน แต่สำหรับบางคนอาจจะไม่ชอบรับประทานกระเทียมสด เนื่องจากมีกลิ่นรสเฉพาะตัวค่อนข้างแรงและอาจทำให้เกิดกลิ่นปากได้ก็มีตัวเลือกที่สะดวกสบายมากยิ่งขึ้นคือ เลือกรับประทานในรูปแบบของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่สามารถพกไปได้ทุกที่ รับประทานได้ทุกเวลา ได้ปริมาณที่แน่นอน แถมยังไม่ต้องกังวลเรื่องกลิ่นปากอีกด้วย

แม้ว่าข้อมูลงานวิจัยของกระเทียมจะแสดงให้เห็นว่า กระเทียมมีความสามารถในการช่วยลดไขมันหรือโคเลสเตอรอลในเลือดได้ อย่างไรก็ตาม การควบคุมระดับโคเลสเตอรอลในร่างกายนั้นต้องดูแลเรื่องอาหารและการออกกำลังกายควบคู่กันไปซึ่งจะให้ผลดีมากยิ่งขึ้น และในกรณีที่ระดับโคเลสเตอรอลในเลือดสูงมากควรไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาต่อไป

aug21-health2-04.png

"เลซิติน" เป็นสารประกอบไขมันในกลุ่มฟอสโฟลิปิดที่มีโครงสร้างประกอบไปด้วยกรดไขมันอิ่มตัว กรดไขมันไม่อิ่มตัว เกลือฟอสเฟต และกลีเซอรอล นอกจากนี้มัก พบโมเลกุลของวิตามินบีรวมอยู่ด้วย เช่น โคลีนและอิโนซิทอล เลซิตินมีคุณสมบัติเป็นสารอิมัลซิไฟเออร์ทำให้น้ำและน้ำมันละลายเข้ากันได้ พบว่าเลซิตินเป็นส่วนประกอบของผนังเซลล์ของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย โดยพบมากในสมอง และเลซิตินยังเป็นองค์ประกอบของน้ำดีอีกด้วย ดังนั้น เลซิตินจึงมีความสำคัญต่อร่างกายในการการควบคุมกระบวนการต่างๆ ภายในเซลล์ให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ

aug21-health2-08.png


aug21-health2-09.png


ปัจจุบันพบว่ามีการบริโภคเลซิตินเพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพในด้านต่างๆ โดยเลซิตินในรูปแบบของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่สกัดจากพืชอย่างถั่วเหลืองเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากให้กรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวสูงซึ่งเป็นกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น กรดลิโนเลอิก กรดแอลฟาลิโนเลนิก และกรดอะราชิโดนิก ดังนั้น ในผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูงพบว่า เลซิตินมีบทบาทในการช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลได้ เนื่องจากคุณสมบัติของเลซิตินที่ช่วยลดการดูดซึมของโคเลสเตอรอลในทางเดินอาหาร และเพิ่มการสร้างน้ำดีจากโคเลสเตอรอลในเลือดมากขึ้น จึงช่วยลดความเสี่ยงของโคเลสเตอรอลที่จะเกาะตามผนังหลอดเลือดและการเกิดนิ่วในถุงน้ำดีได้ นอกจากนี้ เลซิตินยังมีส่วนช่วยให้ตับมีการเผาผลาญไขมันได้ดีขึ้น รวมถึงช่วยบำรุงตับและทำให้การทำงานของตับเป็นปกติอีกด้วย


aug21-health2-14.png


aug21-health2-12.png

aug21-health2-11.png
รู้ถึงประโยชน์ดีๆ ของกระเทียมและเลซิตินแบบนี้แล้ว นอกเหนือจากการเลือกรับประทานอาหารที่ดีและออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่าลืมเสริมด้วยสองคู่ซี้ตัวช่วยดูแลหัวใจและหลอดเลือดเพื่อการดูแลสุขภาพที่ดียิ่งขึ้น

เอกสารอ้างอิง
• Bangkok Hospital. ความรู้เกี่ยวกับการรับประทานเลซิติน. https://www.bangkokhospital.com/content/knowledge-of-lecithin
• Borlinghaus J, Albrecht F, Gruhlke MC, Nwachukwu ID, Slusarenko AJ. Allicin: chemistry and biological properties. Molecules. 2014 Aug 19;19(8):12591-618. doi: 10.3390/molecules190812591. PMID: 25153873; PMCID: PMC6271412.
• Jongaramruang, J. (2017, August 20). มาทำความรู้จักสารอาหารเลซิทินว่าคืออะไรและมีประโยชน์กับเราอย่างไรบ้าง. สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา. http://www.uniserv.buu.ac.th/forum2/topic.asp? TOPIC_ID=7070.
• Mourad AM, de Carvalho Pincinato E, Mazzola PG, Sabha M, Moriel P. Influence of soy lecithin administration on hypercholesterolemia. Cholesterol. 2010;2010:824813. doi: 10.1155/2010/824813. Epub 2009 Dec 28. PMID: 21490917; PMCID: PMC3065734.
• Nutrilite. เลซิตินกับวิตามินอี ดีต่อหัวใจ. https://www.nutrilite.co.th/th/article/lecithin
• Ramdath DD, Padhi EM, Sarfaraz S, Renwick S, Duncan AM. Beyond the Cholesterol-Lowering Effect of Soy Protein: A Review of the Effects of Dietary Soy and Its Constituents on Risk Factors for Cardiovascular Disease. Nutrients.2017;9(4):324. Published 2017 Mar 24. doi: 10.3390/nu9040324
• Yaithammasarn, P. (2018, January 7). กระเทียม...ลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด. MED HERB GURU รอบรู้เรื่องสมุนไพร. http://medherbguru.gpo.or.th/articles/D21_Garlic.pdf.