19 OCT 2021 บทความผลิตภัณฑ์ 3 นาทีในการอ่าน 2747 VIEWS

ดูแล "ดวงตา" ให้ "ดี" อย่าให้ "เสื่อม" ก่อนวัย | นิตยสารอะชีฟ ฉบับมิถุนายน 2564

jun21-health2-03.png


ดังนั้น การดูแลสุขภาพดวงตาให้ดีอยู่เสมอถือเป็นการรักษาดวงตาที่มีเพียงคู่เดียวให้อยู่กับเราตลอดไป แต่ด้วยอายุที่เพิ่มขึ้นร่วมกับพฤติกรรมการใช้สายตาในปัจจุบันที่เปลี่ยนไป ส่งผลให้สายตามีปัญหาและเสื่อมก่อนวัยได้ง่าย ในประเทศไทยพบว่า โรคและความผิดปกติทางสายตาเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญลำดับที่ 91 โดยมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ซึ่งพบได้มากในกลุ่มคนที่จ้องจออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เป็นเวลานาน และมีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป2


jun21-health2-04.png

jun21-health2-05.png

อ่านหนังสือหรือจ้องจออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในที่มีแสงน้อย

jun21-health2-07.png

ใช้สายตาหนักเป็นประจำต่อเนื่อง

jun21-health2-08.png

สัมผัสแสงแดด รังสียูวี ฝุ่นละออง ควัน โดยไม่มีอุปกรณ์ป้องกัน

jun21-health2-09.png

ใส่คอนแทกต์เลนส์โดยไม่ถอดพักและไม่รักษาความสะอาด

jun21-health2-10.png

ระคายเคืองจากเครื่องสำอางหรือผลิตภัณฑ์บำรุงผิวรอบดวงตา

jun21-health2-11.png

อยู่ในสภาพแวดล้อมที่แห้งและเย็นเป็นเวลานาน

jun21-health2-12.png

ขยี้ตาบ่อย ไม่ล้างมือให้สะอาดก่อนขยี้ตา

jun21-health2-13.png

สูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์

jun21-health2-14.png

นอนน้อยพักผ่อนไม่เพียงพอ

jun21-health2-15.png

รับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์


jun21-health2-06.png

jun21-health2-16.png


เราสามารถดูแลดวงตาให้อยู่กับเราไปนานๆ ได้ง่ายๆ เพียงแค่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันที่เสี่ยงต่อการทำร้ายดวงตา รวมถึงควรเลือกรับประทานอาหารที่ให้สารอาหารที่ดีมีประโยชน์ แต่ด้วยชีวิตที่เร่งรีบในยุคปัจจุบัน นอกจากการเลือกรับประทานอาหารที่ดีแล้ว ยังมีทางเลือกที่สะดวกเพื่อการดูแลสุขภาพดวงตาที่ดียิ่งขึ้น นั่นก็คือการเสริมด้วยผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเป็นประจำทุกวัน และควรเลือกที่มีสารอาหารสำคัญที่ช่วยบำรุงฟื้นฟูสุขภาพดวงตาให้แข็งแรงสดใสอยู่เสมอ

jun21-health2-17.png


ข้อมูลอ้างอิง:
• 1 ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ (2561). สายตาดีมีสุข ดูแลดวงตา…ดูแลคุณภาพชีวิต. สืบค้น 24 มีนาคม 2564, จาก https://www.prachachat.net/spinoff/health/news-181404
• 2 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (2562). โรคทางตา ภัยเงียบคนทำงานยุคดิจิทัล. สืบค้น 24 มีนาคม 2564, จาก https://www.thaihealth.or.th/Content/49786-โรคทางตา%20ภัยเงียบคนทำงานยุคดิจิทัล%20.html
• 3 Faculty of Pharmacy Mahidol University (2557). AMD What to eat to delay it?. สืบค้น 24 มีนาคม 2564, จาก https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/190/AMD-Whattoeattodelay/


ตัวอย่างสารอาหารสำคัญที่ช่วยบำรุงสายตา

สารสกัดจากบิลเบอร์รี่

• อุดมไปด้วยสารไฟโตนิวเทรียนท์โดยเฉพาะสารในกลุ่มแอนโธไซยาโนไซด์
• เพิ่มการไหลเวียนเลือดที่จอประสาทตา
• ช่วยลดอาการตาล้า

jun21-health2-18.png

สารสกัดจากดอกดาวเรือง

• อุดมไปด้วยสารไฟโตนิวเทรียนท์ โดยเฉพาะลูทีนและซีแซนทีน ซึ่งเป็นสารสำคัญที่พบมากในบริเวณจุดรับภาพบริเวณจอประสาทตาและเลนส์ตา ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อมได้
• ช่วยลดอนุมูลอิสระที่ส่งผลต่อจอประสาทตา
• ช่วยให้การมองเห็นภาพคมชัดยิ่งขึ้น

jun21-health2-19.png

สารสกัดจากแบล็คเคอร์แรนต์

• อุดมไปด้วยสารไฟโตนิวเทรียนท์หลายชนิดที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
• ช่วยป้องกันภาวะตาบอดในเวลากลางคืน
• ช่วยลดอาการตาล้า

jun21-health2-21.png

วิตามินเอ

• ช่วยป้องกันภาวะตาบอดในเวลากลางคืนและตาบอดจากการขาดวิตามินเอ
• เป็นองค์ประกอบของเนื้อเยื่อดวงตา
• ช่วยเรื่องการมองเห็นและการคงรูปของดวงตา

jun21-health2-22.png

ผักโขมหรือปวยเล้ง

• อุดมไปด้วยสารไฟโตนิวเทรียนท์ ได้แก่ ลูทีนและฟลาโวนอยด์
• เป็นแหล่งของวิตามินเอและวิตามินซี
• ช่วยป้องกันการเกิดสารอนุมูลอิสระที่ทำร้ายดวงตา

jun21-health2-20.png

เพียงเท่านี้ดวงตาคู่ซี้ ก็จะอยู่กับเราไปนานแสนนาน

เริ่มต้นดูแลสุขภาพของคุณและคนที่คุณรักตั้งแต่วันนี้

jun21-health2-23.png