18 OCT 2021 บทความผลิตภัณฑ์ 3 นาทีในการอ่าน 3072 VIEWS

GREEN COFFEE BEAN EXTRACT ตัวช่วยเผาผลาญไขมันในร่างกาย | นิตยสารอะชีฟ ฉบับตุลาคม 2564

สารสกัดจากเมล็ดกาแฟสดที่ไม่ผ่านการคั่ว

GREEN COFFEE BEAN EXTRACT

ตัวช่วยเผาผลาญไขมันในร่างกาย

xs_p47_oct21_coffee_bean_green.png

รู้จักเมล็ดกาแฟสดที่ไม่ผ่านการคั่ว


เมล็ดกาแฟสด หรือเมล็ดกาแฟที่ไม่ผ่านกระบวนการคั่ว (Green Coffee Bean) เป็นแหล่งของสารอาหารและสารสำคัญ ขณะที่เมล็ดกาแฟที่ผ่านกระบวนการคั่วจะพบปริมาณสารอาหาร และสารสำคัญในปริมาณที่แตกต่างกัน เมล็ดกาแฟที่ผ่านกรรมวิธีการคั่วนั้นจะลดปริมาณคาร์โบไฮเดรต โปรตีน กรดอะมิโน และสารประกอบฟีนอล นอกจากนี้ สายพันธุ์กาแฟและกรรมวิธีการผลิตมีผลต่อสัดส่วนของสารอาหารและสารสำคัญที่พบได้1, 2

xs_p47_oct21_cga.png


กรดคลอโรเจนิค 

กุญแจสำคัญเกี่ยวกับการลดไขมันในร่างกาย

เมล็ดกาแฟสดอุดมไปด้วย Chlorogenic Acid (CGA) ในปริมาณมากซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระในธรรมชาติและ ช่วยส่งเสริมการควบคุมน้ำหนัก3


คุณสมบัติของสารสกัดจากเมล็ดกาแฟสดมีดังนี้

xs_p47_oct21_icon1.png

ลดระดับโคเลสเตอรอลทั้งหมด (Total Cholesterol) และลดโคเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL Cholesterol) ในเลือดได้4

xs_p47_oct21_icon2.png

ลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ (Fasting Blood Glucose)5

xs_p47_oct21_icon3.png

ลดความดันโลหิตได้6


ทั้งนี้ คุณสมบัติในการควบคุมน้ำหนักของสารสกัดจากเมล็ดกาแฟสดที่ไม่ผ่านการคั่ว มีการศึกษาคุณสมบัติดังกล่าวเป็นจำนวนมาก แสดงผลทั้งสามารถควบคุมน้ำหนักได้และไม่สามารถควบคุมได้ แต่ยังไม่ได้รับการยืนยันถึงคุณสมบัติดังกล่าวอย่างชัดเจน หรือมีนัยสำคัญทางสถิติ3, 7


คุณสมบัติของสาร

Chlorogenic Acid

icon1-3_xs_p47_oct21.png1. ยับยั้งการดูดซึมของไขมัน8, 9 จากการศึกษาในสัตว์ทดลอง จึงคาดว่าช่วยลดการสะสมของไขมันในร่างกาย
icon2-3_xs_p47_oct21.png2. เพิ่มการเผาผลาญของไขมันในตับ8, 9 จากการศึกษาในสัตว์ทดลอง
icon3-3_xs_p47_oct21.png3. ลดระดับน้ำตาลในเลือดในคนที่มีน้ำหนักเกิน10 จึงช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และมีส่วนช่วยลดการเปลี่ยนน้ำตาลไปสะสมเป็นไขมันในร่างกาย


xs_p47_oct21_tip.png

สารสกัดจากเมล็ดกาแฟสดที่ไม่ผ่านการคั่ว จะมีปริมาณคาเฟอีนอยู่น้อยมากและมี ปริมาณคาเฟอีนน้อยกว่าเมล็ดกาแฟที่ผ่าน การคั่วแล้ว เนื่องจากกระบวนการคั่วมีผลต่อ ปริมาณคาเฟอีนในเมล็ดกาแฟ


ข้อมูลอ้างอิง
1 Shahmohammadi HA, Hosseini SA, Hajiani E,Malehi AS, Alipour M. Effects of Green Coffee Bean Extract Supplementation on Patients with Non-Alcoholic Fatty Liver Disease: A Randomized Clinical Trial. Hepar Mon. 2017;17(4):1-9.
2 Hu AL, Wang X, Zhang L, Qiu MH. The sources and mechanisms of bioactive ingredients in coffee. Food Funct. 2019;10:3113-26.
3 Buchanan R, Beckett RD. Green coffee for pharmacological weight loss. J Evid Based Complementary Altern Med. 2013;18(4):309-13.
4 Ding F, Ma B, Nazary-Vannani A, Kord-Varkaneh H, Fatahi S, Papageorgiou M, et al. The effects of green coffee bean extract supplementation on lipid profile in humans: A systematic review and meta-analysis of randomized controlled trials. Nutr Metab Cardiovasc Dis. 2019;30:1-10.
5 Nikpayam O, Najafi M, Ghaffari S, Jafarabadi MA, Sohrab G, Roshanravan N. Effects of green coffee extract on fasting blood glucose, insulin concentration and homeostatic model assessment of insulin resistance (HOMA‑IR): a systematic review and meta‑analysis of interventional studies. Diabetol Metab Syndr. 2019;11(91):1-8.
6 Han B, Nazary-Vannani A, Talaei S, Clark CCT, Rahmani J, Rasekhmagham R, et al. The effect of green coffee extract supplementation on blood pressure: A systematic review and meta-analysis of randomized controlled trials. Phytother Res. 2019;33:2918-26.
7 Onakpoya I, Terry R, Ernst E. The use of green coffee extract as a weight loss supplement: A systematic review and meta-analysis of randomised clinical trials. Gastroenterol Res Pract. 2011:1-6.
8 Meng S, Cao J, Feng Q, Peng J, Hu Y. Roles of chlorogenic acid on regulating glucose and lipids metabolism: A review. Evid Based Complement Alternat Med. 2013:1-11.
9 Shimoda H, Seki E, Aitani M. Inhibitory effect of green coffee bean extract on fat accumulation and body weight gain in mice. BMC Complement Altern Med. 2006;6(9):1-9.
10 Dijk AE, Olthof MR, Meeuse JC, Seebus E, Heine RJ, Dam RM. Acute effects of decaffeinated coffee and the major coffee components chlorogenic acid and trigonelline on glucose tolerance. Diabetes care. 2009;32(9):1023-5.