19 APR 2023 โอกาสทางธุรกิจ 2 นาทีในการอ่าน 3300 VIEWS 23 แชร์

จรรยาบรรณและความซื่อสัตย์ คือหัวใจหลักของธุรกิจแอมเวย์ | นิตยสารอะชีฟ ฉบับพฤษภาคม 2566


จรรยาบรรณและความซื่อสัตย์
คือหัวใจหลักของธุรกิจแอมเวย์

บทความที่เขียนโดยแผนกจรรยาบรรณฉบับนี้จะขอเรียนผู้อ่านทุกท่านว่า เราจะวางเรื่องเป็นซีรีส์เพื่อให้ทราบก่อนว่า ในเล่มหน้านั้นจะเป็นเรื่องอะไร ซึ่งผู้เขียนวางไว้ทั้งสิ้นจำนวน 9 เรื่อง ดังนี้

Ethics_May23_No-01.png การไม่แข่งขัน/การไม่ชักจูง

Ethics_May23_No-02.png การจัดโครงสร้างองค์กรนักธุรกิจ

Ethics_May23_No-03.png การขายสินค้าข้ามกลุ่ม

Ethics_May23_No-04.png การรบกวนสถานภาพการเป็นนักธุรกิจของ บุคคลอื่น/กฎ 6 เดือน และ 2 ปี

Ethics_May23_No-05.png ร้านค้าปลีก

Ethics_May23_No-06.png อวดอ้างสรรพคุณเกินจริง

Ethics_May23_No-07.png การซื้อขายธุรกิจ/การโอนธุรกิจ

Ethics_May23_No-08.png การไม่แข่งขัน/การไม่ชักจูง

Ethics_May23_No-09.png วิธีการพิจารณาความผิด/บทกำหนดโทษ

การไม่แข่งขัน/การไม่ชักจูง

เรื่องแรกถือเป็นหัวข้อที่ทันยุคทันเหตุการณ์กับนักธุรกิจแอมเวย์อย่างมาก นั่นคือ การไม่แข่งขัน/ การไม่ชักจูง ซึ่งระบุอยู่ใน กฎข้อ 6.10 ที่ระบุไว้ใน “คู่มือดำเนินธุรกิจ” สาระสำคัญฉบับย่อของ กฎข้อนี้ ทั้ง ( ก ) และ ( ข ) คือ ส่วน ( ก ) นักธุรกิจแอมเวย์จะต้องไม่เกี่ยวข้องหรือประกอบธุรกิจในเชิงแข่งขันกับธุรกิจแอมเวย์ โดยกฎดังกล่าวครอบคลุมนักธุรกิจที่ยังมีอายุสมาชิกภาพ และหมดอายุสมาชิกภาพ หรือใน 6 เดือน หลังจากหมดสถานะการเป็นนักธุรกิจแอมเวย์ ส่วน ( ข ) คือ ห้ามนักธุรกิจแอมเวย์ และรวมถึงนักธุรกิจแอมเวย์ที่หมดอายุสมาชิกภาพไปแล้ว 24 เดือนหรือ 2 ปี จะไม่สามารถชักชวนหรือจูงใจให้นักธุรกิจแอมเวย์ละทิ้งธุรกิจ สรุปและยกตัวอย่างแบบชัดเจนคือ จะต้องไม่ชวนนักธุรกิจ/สมาชิก ให้ลาออกหรือไปทำธุรกิจขายตรงอื่นๆ ไม่ว่าขณะนั้นจะมีอายุสมาชิกอยู่ หรือหมดอายุสมาชิกไปแล้ว ไม่น้อยกว่า 24 เดือน หรือ 2 ปี

body_Ethics_May23.png

ทั้งนี้ ท่านต้องมีคำถามอยู่ในใจแน่นอนว่า แล้วบริษัทจะทำอย่างไรกับนักธุรกิจที่ละเมิดข้อบังคับทั้ง 2 ข้อนี้ คำตอบข้อแรกนั้นคงตอบได้ว่าสุดท้ายก็คงต้องจากกัน ส่วนคำถามที่สองนั้น แน่นอนว่าจะต้องมีผู้สงสัยแน่ๆ ว่า กฎทั้ง 2 ข้อย่อยนั้นมีผลบังคับกับนักธุรกิจที่สิ้นสุดสถานะการเป็นนักธุรกิจแอมเวย์ไปแล้ว หรือไม่ได้เป็นนักธุรกิจแล้ว ดังนั้น บริษัทจะดำเนินการอย่างไร แล้วจะมีผลกับพวกเขาอย่างไร ซึ่งคำตอบของคำถามนี้ก็ไม่ผิดเลยที่เราไม่สามารถดำเนินการอะไรกับเขาได้ เพราะเขาไม่ใช่นักธุรกิจแอมเวย์แล้วด้วยการลาออกเพื่อไปทำธุรกิจขายตรงอื่น แต่ในอนาคต หากนักธุรกิจเหล่านี้จะขอกลับมาสมัครเป็นนักธุรกิจแอมเวย์อีกครั้ง บริษัทขอปฏิเสธในการรับสมัครเขาให้เข้ามาเป็นนักธุรกิจแอมเวย์อีก หรือในกรณีที่บริษัทตัดสิทธิ์หรือยกเลิกการเป็นนักธุรกิจ ซึ่งตามกฏข้อ 13 นั้น บริษัทมีสิทธิ์ที่จะดำเนินการ ไม่ว่าจะปล่อยให้ธุรกิจนี้หายไปหรือจะให้มีการขายธุรกิจ ทั้งนี้ โดยปกติสำหรับนักธุรกิจแอมเวย์ระดับแพลตินัมและสูงขึ้นไปนั้น บริษัทจะดำเนินการตามในประการหลังคือ ให้นักธุรกิจท่านนั้นขายธุรกิจได้ แต่หากนักธุรกิจท่านนั้นเมื่อถูกบริษัทเพิกถอนสถานภาพ แต่ก็ยังมีพฤติกรรมที่ชักชวนนักธุรกิจแอมเวย์อยู่ พูดง่ายๆ คือไม่ยอมหยุดหรือเป็นเจ้าของกิจการเสียเองไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม หากเป็นเช่นนี้ บริษัทก็จะพิจารณาไม่อนุญาตให้มีการขายธุรกิจของเขา อนึ่ง คำว่าเจ้าของกิจการนั้นครอบคลุมถึงการเป็นเจ้าของกิจการโดยใช้ชื่อตนเอง หรือใช้ชื่อญาติ หรือผู้อื่นแทนตน

ความร่วมมือของนักธุรกิจแอมเวย์ทุกท่านเป็นส่วนประกอบสำคัญที่จะไม่ให้ปัญหานี้ลุกลาม ซึ่งทั้งบริษัทและนักธุรกิจหลายต่อหลายท่านก็คงได้มีประสบการณ์และพบกับเรื่องดังกล่าวอยู่ตลอดเวลาในการธุรกิจ และต้องยอมรับว่าปัญหาเช่นนี้ลุกลามไวมาก ดังนั้น การแก้ปัญหาเสียตั้งแต่ตอนต้นจึงเป็นเครื่องมือที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหา ไม่ว่าผู้ทำผิดนั้นจะเป็นใคร แม้แต่เขาจะเป็นดาวน์ไลน์ของเราก็ตาม เพราะส่วนใหญ่จะมีความหวงหรือเสียดายดาวน์ไลน์ และหวังว่าวันหนึ่งเขาจะหยุดหรือกลับใจ แต่จากสถิตินั้นแทบจะเป็นศูนย์ และผู้ที่จะเสียหายมากที่สุด นั่นคือตัวอัพไลน์เอง

ฉบับหน้าพบกับหัวข้อ “การจัดโครงสร้างองค์กรนักธุรกิจ”

กฎจรรยาบรรณของแอมเวย์ถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของการเป็นนักธุรกิจแอมเวย์ ดังนั้น ทุกท่านจึงควรศึกษาและให้ความสำคัญกับกฎจรรณยาบรรณเพราะการปฏิบัติตามกฎจะช่วยให้ธุรกิจของทุกท่านเจริญเติบโตได้อย่างมั่นคง ยั่งยืน และมีเสถียรภาพ อีกทั้งท่านยังสามารถส่งมอบธุรกิจที่มีอนาคตนี้ให้กับลูกหลานของท่านให้สมกับวิสัยทัศน์ของเราที่ว่า “แอมเวย์...เพื่อคุณ เพื่อชีวิตที่มีคุณค่า” นอกจากนี้ ยังเป็นการดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรมและบรรยากาศในการดำเนินธุรกิจที่สอดประสานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอีกด้วย