07 JUN 2023 บทความผลิตภัณฑ์ 4 นาทีในการอ่าน 3814 VIEWS 15 แชร์

อาการแพ้อากาศ VS อาการแพ้ฝุ่น

เวลาอากาศเปลี่ยน เดี๋ยวฝน เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวหนาว กระตุ้นให้โรคภูมิแพ้กำเริบได้ง่ายขึ้น ใครแพ้ฝุ่น หรือเซนซิทีฟกับความชื้น คงทรมานกันไม่ใช่น้อย ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นของโรคภูมิแพ้นั้นเป็นปฏิกิริยาของร่างกายต่อสภาพอากาศ และมลภาวะรอบตัว โดยอาการแพ้อากาศ และอาการแพ้ฝุ่นนั้น เกิดจากการที่จมูกมีความไวต่อสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในอากาศ ทำให้เยื่อบุจมูกต้องปรับตัวและทำให้เกิดอาการคัดจมูก จามติดต่อกันหลายครั้ง มีน้ำมูกใสในปริมาณเยอะๆ ซึ่งอาการแพ้อากาศและอาการแพ้ฝุ่น มีสาเหตุต่างกันที่ตัวกระตุ้นเท่านั้น

  • อาการแพ้อากาศ เกิดจากการที่จมูกมีความไวต่ออุณหภูมิในอากาศ รวมถึงสิ่งที่ทำให้ระคายเคือง และความชื้นในอากาศด้วย

  • อาการแพ้ฝุ่น เกิดจากการที่จมูกมีความไวต่อฝุ่นหรือไรฝุ่นที่ปนเปื้อนอยู่ในอากาศ 

อาจพูดได้ว่า ตัวกระตุ้นสำคัญที่ทำให้เกิดอาการแพ้อากาศและแพ้ฝุ่น คือสิ่งที่อยู่ในอากาศ ไม่ว่าจะเป็นความชื้น หรือสิ่งปนเปื้อนต่างๆ ซึ่ง “ฝุ่น” เป็นตัวนำพามาสู่ระบบทางเดินหายใจของเรา และทำให้โรคภูมิแพ้กำเริบขึ้นได้นั่นเอง

ฝุ่น PM 2.5 เป็นตัวการก่อภูมิแพ้จริงหรือ?

ฝุ่น PM 2.5 เป็นตัวการก่อภูมิแพ้จริงหรือ?

ฝุ่น สามารถส่งผลกระทบต่อโรคภูมิแพ้เป็นอย่างมาก และอันตรายมากกว่าที่คิด เพราะอาจเป็นตัวกระตุ้นอาการของคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ โรคหอบหืด โรคที่เกี่ยวกับปอด หรือเกิดปัญหาสุขภาพอื่นๆ ตามมาได้

ฝุ่น PM 2.5 เป็นฝุ่นที่ยากจะหลีกเลี่ยง เพราะ เป็นฝุ่นขนาดเล็กที่อยู่ในอากาศ ซึ่งมีขนาดเพียง 2.5 ไมครอนเท่านั้น และเป็นละอองฝุ่นที่สามารถเจอได้ทั้งภายใน และภายนอกอาคาร โดยฝุ่น PM 2.5 นั้นมีที่มาจากหลายสาเหตุ เช่น

  • การเผาไหม้ตามธรรมชาติ เช่น ไฟป่า ภูเขาไฟระเบิด

  • การทำอาหาร เช่น การใช้เตาถ่านปิ้งย่าง 

  • การเผาไหม้ของเครื่องยนต์ เช่น การใช้น้ำมันดีเซล การปล่อยควันจากท่อไอเสียของรถยนต์

  • การเกิดปฏิกิริยาของก๊าซ หรือละออง เช่น กระบวนการผลิตจากโรงงานอุตสาหกรรม 

  • การเผาไหม้ทางการเกษตร เช่น การเผาไร่อ้อย ไร่ข้าวโพด และตอซังข้าว เป็นต้น

ด้วยขนาดของฝุ่นที่เล็กมาก จึงสามารถลอดผ่านประตู หรือหน้าต่างที่มีช่องว่างเข้ามาภายในได้ ถึงแม้จะอยู่แต่ในอาคาร ไม่ได้ออกไปเผชิญฝุ่น หรือควันจากภายนอกโดยตรง ก็อาจเกิดอาการแพ้อากาศ-แพ้ฝุ่นได้เสมอ ยิ่งปริมาณฝุ่นในอากาศมีมาก โอกาสกระตุ้นให้เกิดโรคภูมิแพ้ก็ยิ่งมากขึ้นไปด้วย

โดยปัจจัยที่ทำให้ฝุ่นเกิดความหนาแน่นนั้นมีหลายอย่างด้วยกัน เริ่มจากฤดูกาลในช่วงปลายปี ที่ทำให้อากาศหนาแน่น และมีความชื้นเยอะ จนอากาศไม่สามารถหมุนเวียนขึ้นไปได้ตามปกติ จึงส่งผลให้อากาศที่เป็นมลพิษไม่ถูกระบายออกไป ซึ่งระดับความหนาแน่นของฝุ่นมีทั้งหมด 3 ระดับ ดังนี้

  1. ระดับ 51 - 100 เริ่มเกิดอาการหายใจไม่สะดวก เกิดความระคายเคืองในระบบทางเดินหายใจ ไอ หรือ จาม โดยเฉพาะในคนที่มีโรคประจำตัว อย่างเช่น โรคภูมิแพ้ ภูมิแพ้อากาศ หรือภูมิแพ้ฝุ่น  

  2. ระดับ 101 - 150 เกิดความระคายเคืองในระบบทางเดินหายใจ อาจเกิดการหายใจหอบเหนื่อย ไอ จาม สำหรับผู้ที่มีอาการของ โรคภูมิแพ้อากาศ หรือภูมิแพ้ฝุ่น  ควรหลีกเลี่ยงการออกไปอยู่กลางที่แจ้ง

  3. ระดับ 151 ขึ้นไป จะเกิดความระคายเคืองในระบบทางเดินหายใจ หายใจหอบเหนื่อย ไอ จาม โดยเฉพาะคนที่มีโรคประจำตัว อย่าง โรคภูมิแพ้ ภูมิแพ้อากาศ หรือภูมิแพ้ฝุ่น  ไม่ควรออกไปกลางที่แจ้ง ส่วนบุคคลทั่วไป อาจจะเกิดอาการแพ้ฝุ่นที่ไม่รุนแรง เช่นมีน้ำมูก จาม คัดจมูก ผื่นคัน จึงควรหลีกเลี่ยงการออกไปอยู่กลางที่แจ้งเช่นเดียวกัน

อากาศชื้น กระตุ้นโรคภูมิแพ้ได้?

อากาศชื้น กระตุ้นโรคภูมิแพ้ได้?

ความชื้นภายในบ้านเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นสภาพอากาศจากภายนอก บริเวณต่างๆ ที่มีการใช้น้ำเป็นจำนวนมาก อย่างห้องน้ำ ห้องครัว ห้องซักล้าง รวมทั้งการดูดซึมน้ำในดิน ทำให้อุณหภูมิภายในบ้านมีความชื้นสูง

สำหรับผู้ที่ไวต่อความชื้น หลังจากออกไปเจออากาศร้อนๆ นอกบ้าน แล้วเดินเข้าบ้านที่มีความชื้นสูงก็อาจจะทำให้เกิดอาการแพ้ได้ง่าย นอกจากนี้หากอากาศภายในบ้านไม่ปลอดโปร่ง รวมถึงมีระบบการจัดการที่ไม่ดี มีรอยรั่วซึมต่างๆ ตามผนัง และพื้นบ้านก็จะส่งผลให้เกิดคราบเชื้อรา ซึ่งเป็นสปอร์ขนาดเล็กที่จะฟุ้งกระจายลอยปะปนอยู่ในอากาศ จึงควรติดตั้งเครื่องกรอง หรือเครื่องฟอกอากาศที่มีประสิทธิภาพสูงเพื่อกรองสปอร์เชื้อราในอากาศออกไป

เพราะหากหายใจเอาเชื้อราเหล่านั้นเข้าไป ก็จะทำให้เกิดอาการแพ้ ในบางคนอาจจะไอ จาม คันจมูก มีน้ำมูกไหล หรือปวดหัว ถึงอย่างไรก็ตามวิธีการสังเกตความชื้นภายในบ้าน สามารถดูได้จากคราบน้ำหรือละอองตามกระจก วอลเปเปอร์ และหน้าต่าง รวมทั้งกลิ่นเหม็นอับภายในห้อง ดังนั้น วิธีการป้องกันความชื้นในเบื้องต้นคือ ภายในบ้านจะต้องมีการระบายอากาศที่ดี

ฝุ่นส่งผลร้ายได้มากกว่าที่คิด

ฝุ่นส่งผลร้ายได้มากกว่าที่คิด

ถ้าหากร่างกายสูดดมอากาศที่เป็นมลพิษจากฝุ่นละอองเข้าไปบ่อยๆ โดยเฉพาะฝุ่นที่มีขนาดเล็ก จะทำให้ฝุ่นเหล่านั้นเข้าไปถึงระบบทางเดินหายใจ ลงสู่ปอดง่ายขึ้น และอาจเข้าถึงกระแสเลือดได้ในที่สุด ซึ่งฝุ่นเหล่านี้สามารถกระตุ้นโรคภูมิแพ้ได้อีกด้วย แถมยังสามารถส่งผลร้าย และกระทบต่อสุขภาพได้ในหลายๆ ด้าน ดังนี้

ส่งผลกระทบต่อปอด

มลพิษทางอากาศอย่างฝุ่นละอองนั้นสามารถส่งผลกระทบต่อปอดได้โดยตรง และเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคต่างๆ เกี่ยวกับปอดได้ เช่น โรคมะเร็งปอด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และโรคหอบหืด เป็นต้น

ระบบหัวใจและหลอดเลือด

ถ้าหากร่างกายรับฝุ่นเข้ามาช่วงระยะเวลาหนึ่ง อาจส่งผลต่อการแข็งตัวภายในหลอดเลือดดำ และหลอดเลือดแดง ซึ่งอาจส่งผลร้ายแรงต่อเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ และหลอดเลือด จนนำไปสู่ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือหัวใจล้มเหลวได้

ระบบทางเดินหายใจ

ฝุ่นละออง และมลพิษทางอากาศมีขนาดเล็ก และไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า อาจส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ โดยอาจเป็นสาเหตุของโรคหอบหืด หรือเป็นตัวกระตุ้นให้โรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจกำเริบขึ้นได้

อันตรายต่อสมอง

ถ้าหากสูดฝุ่นละอองเป็นระยะเวลานาน สามารถเพิ่มโอกาสในการเกิดหลอดเลือดแดงในสมองแข็งตัว ทำให้เลือดมีความข้น และหนืดขึ้น ส่งผลให้ความดันสูงขึ้น จนมีความเสี่ยงที่จะเกิดลิ่มเลือดในสมองได้

ฝุ่นเยอะ ทำยังไง?

ฝุ่นเยอะ ทำยังไง?

ค่าฝุ่นที่สูงสามารถส่งผลกับทางเดินหายใจได้อย่างร้ายกาจ อาจนำมาสู่โรคภูมิแพ้ อาการภูมิแพ้อากาศ และภูมิแพ้ฝุ่น ซึ่งวิธีดูแลตัวเองนั้น มีดังนี้

หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้ง

การทำกิจกรรมกลางแจ้งหรือนอกอาคารนั้น เป็นสาเหตุที่ทำให้เราสูดรับเอาฝุ่น หรือมลพิษเข้าร่างกายได้ในปริมาณมาก ด้วยเหตุนี้ การเปลี่ยนสถานที่ทำกิจกรรมจากกลางแจ้งเป็นในที่ร่ม จะช่วยลดโอกาสรับฝุ่นหรือมลพิษได้ดียิ่งขึ้น เช่น เปลี่ยนจากวิ่งออกกำลังกายกลางแจ้ง เป็นวิ่งในอาคารกีฬา หรือวิ่งบนลู่วิ่งฟิตเนสแทน เป็นต้น

ใส่หน้ากากป้องกันฝุ่น

ควรใส่หน้ากากป้องกันฝุ่นที่กระชับกับใบหน้า เลือกวัสดุที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันฝุ่นพิษ สามารถกรองอนุภาคฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศได้สูงถึง 95% - 99% เช่น หน้ากาก N95 หรือ N99 เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการภูมิแพ้อากาศ และภูมิแพ้ฝุ่น

ลดการใช้รถส่วนตัว

ควันเสียจากรถยนต์ เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดฝุ่น PM 2.5 ได้ ดังนั้น การใช้รถส่วนตัวให้น้อยลง หันมาใช้รถสาธารณะมากขึ้น ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยลดมลพิษจากควันรถของตัวเอง รวมถึงช่วยลดการเกิดฝุ่น PM 2.5 ได้เช่นกัน

ใช้เครื่องกรองอากาศลดฝุ่น

ใช้เครื่องกรองอากาศลดฝุ่น

แม้จะทำกิจกรรมในอาคารเพื่อเลี่ยงฝุ่นแล้ว แต่ก็ยังมีโอกาสเจอฝุ่นได้ เพราะฝุ่นPM 2.5 นั้นมีขนาดที่เล็กมาก ดังนั้น เครื่องฟอกอากาศจึงเป็นคำตอบในการกรองฝุ่นที่มีประสิทธิภาพในการในการกรองสิ่งปนเปื้อนในอากาศได้สูงสุดถึง 99.99% ผ่านการรับรองจากมาตรฐานสากล เพื่อให้ผู้ใช้งานมั่นใจ และกรองฝุ่นพิษภายในอาคารได้ ช่วยลดสาเหตุที่ทำให้แพ้ฝุ่นหรือมีอาการของโรคภูมิแพ้ได้

อันตรายของฝุ่นละอองในอากาศนั้นสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้เป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการกระตุ้นโรคภูมิแพ้ อย่างภูมิแพ้อากาศ และภูมิแพ้ฝุ่น ที่ส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ เพิ่มความเสี่ยงของภาวะขาดเลือด หรือโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้น อาจทำให้พิการถาวรเป็นอัมพาตได้ เพราะฉะนั้นการดูแลตัวเองถือเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งวิธีป้องกันทำได้ง่ายๆ โดยลดกิจกรรมที่ทำกลางแจ้ง ใส่หน้ากากที่ได้มาตรฐาน และที่สำคัญ คือ ควรมีเครื่องฟอกอากาศติดบ้านไว้ เพื่อเป็นการกรองอากาศอีกชั้น ดักจับฝุ่นละอองอันก่อให้เกิดภูมิแพ้อากาศ และภูมิแพ้ฝุ่น ปล่อยอากาศที่ปราศจากสารก่อภูมิแพ้ออกมา นอกจากนี้ยังกรองสามารถไวรัส และแบคทีเรียที่มีขนาดเล็กที่เป็นสาเหตุของโรคอันตรายอื่นออกไปอีกด้วย เพื่อให้ทางเดินหายใจรับอากาศที่สะอาดร่างกายทำงานได้ดี รับมือกับฝุ่นพิษในชีวิตประจำวันได้มากขึ้น