นพ.ไพศิษฐ์ ตระกูลก้องสมุท
MSc. Clinical & Public Health Nutrition (Distinction), UCL, London, UK Certificate in Plant-Based Nutrition, T.Colin Campbell Center, Cornell University. American Board in Anti-Aging & Regenerative Medicine
ภาวะลําไส้รั่ว (Leaky Gut Syndrome) คืออะไร?
ภาวะลำไส้รั่ว หรือ Leaky Gut หมายถึงภาวะที่มีการดูดซึมผ่านผนังเยื่อบุลำไส้มากเกินไป (Increased Intestinal Permeability) ทำให้เกิดการรั่วซึมของสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในทางเดินอาหารเข้าสู่ระบบไหลเวียนเลือด โดยปกติแล้วเยื่อบุลำไส้จะอนุญาตให้สารบางอย่างซึมผ่าน (Transcellular Absorption) เท่านั้น เช่น วิตามิน แร่ธาตุ น้ำตาลโมเลกุลเล็ก กรดไขมัน กรดอะมิโน แต่ในภาวะลำไส้รั่วนี้ ทำให้สารที่ไม่ควรถูกดูดซึมสามารถซึมผ่านเยื่อบุผนังลำไส้ได้ เช่น สารพิษ โปรตีนโมเลกุลใหญ่ แอนติเจน (สารแปลกปลอม) สารอักเสบ เชื้อก่อโรคทั้งแบคทีเรีย ไวรัส ยีสต์ ซึมผ่านเข้าสู่ผนังลำไส้ แล้วเดินทางต่อเข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิต ไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้เกิดปฏิกิริยาตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน เกิดการอักเสบเรื้อรัง ทำให้เกิดอาการ และปัญหาสุขภาพในหลายระบบของร่างกายตามมา เช่น โรคอ้วน โรคลำไส้แปรปรวน โรคลำไส้อักเสบ โรคภูมิแพ้อาหาร และปวดศีรษะไมเกรน
ปรับพฤติกรรมเพื่อป้องกันภาวะลำไส้รั่ว
ตามหลักในการดำเนินชีวิต 6 ด้าน
1. เลือกประเภทอาหารที่ดี
คือ รูปแบบการกินที่เน้นพืช ผักผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี ถั่วเปลือกแข็ง ถั่วเมล็ดแห้งมากขึ้น และกินเนื้อสัตว์น้อยลง
2. การนอน
ควรนอนหลับให้เพียงพอประมาณ 7-9 ชั่วโมงต่อวัน การนอนหลับไม่เพียงพอและการนอนหลับพักผ่อนไม่เป็นเวลาทำให้นาฬิกาชีวิตรวนส่งผลให้จุลินทรีย์ลำไส้เสียสมดุล (Dysbiosis) ทำให้เกิดภาวะลำไส้รั่วตามมา
3. ทัศนคติ
ในการปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิต การที่จะดูแลตัวเองให้มีประสิทธิภาพและมีสุขภาพดีต้องมี Growth Mindset ที่เชื่อว่าเราสามารถพัฒนาได้
4. ความเครียด
ความเครียดส่งผลกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติซิมพาเทติก และกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล (ฮอร์โมนความเครียด) ส่งผลให้การย่อยอาหารประสิทธิภาพลดลง ลดทอนความแข็งแรงของเยื่อบุผนังลำไส้ เกิดภาวะลำไส้รั่วตามมา
5. กิจกรรมทางกาย
พบว่าการออกกำลังกายปานกลางควบคู่ไปกับการดูแลเรื่องอาหารทำให้ภาวะลำไส้รั่วดีขึ้น
6. ปรับนิสัยการรับประทานอาหาร
เวลารับประทานอาหารควรค่อยๆ เคี้ยวเพื่อระบบทางเดินอาหารจะได้ย่อยอาหารได้มีประสิทธิภาพ
ประโยชน์ที่เกี่ยวข้องในบทความ คลิกเลย
นอกจากการปรับพฤติกรรมแล้ว การบริโภคอาหารเสริมของลำไส้จำพวกโพรไบโอติกจะกระตุ้นให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกายเพราะโพรไบโอติกจะช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ที่ดีในร่างกาย ซึ่งจะมีส่วนช่วยทำให้ไมโครไบโอมมีความสมดุลมากขึ้น และจะทำให้คุณมีสุขภาพโดยรวมดีขึ้นอีกทั้งมีส่วนช่วยในการป้องกันภาวะลำไส้รั่วได้
จุลินทรีย์ในลำไส้ส่งผลต่อน้ำหนักตัวอย่างไร?
จากการศึกษาวิจัยที่ผ่านมาพบว่าความแตกต่างขององค์ประกอบของจุลินทรีย์ในลำไส้ของเราเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อสมดุลพลังงานในร่างกาย ในคนอ้วนมีความหลากหลายของจุลินทรีย์ในลำไส้ (Diversity) น้อยกว่าในคนผอม คนที่อ้วนและคนที่น้ำหนักเกินจะมีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์น้อยกว่าคนผอม ส่งผลให้มีการสะสมไขมันมากกว่าปกติ
จุลินทรีย์ในลำไส้ของคนอ้วนจะสะสมพลังงานในรูปไขมันมากกว่าจุลินทรีย์ในลำไส้ของคนผอม | |
การอักเสบเรื้อรังเป็นปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องกับความอ้วน โดยพบว่าการเปลี่ยนแปลงของจุลินทรีย์ในลำไส้จากการกินอาหารที่มีไขมันสูง ส่งผลให้
เกิดการอักเสบเรื้อรัง ซึ่งทำให้เกิดการสะสมไขมันในช่องท้อง ภาวะดื้ออินซูลินและน้ำตาลในเลือดสูง |
จุลินทรีย์ที่ดีจะสร้างกรดไขมันสายสั้นหลักๆ (Short Chain Fatty Acids; SCFA) 3 ชนิด ได้แก่ อะซิเตท (Acetate),บิวทิเรท (Butyrate), และโพรพิโอเนท (Propionate) ซึ่งกรดไขมันสายสั้นพวกนี้จะมีส่วนช่วยในการลดอักเสบในทางเดินอาหาร ช่วยควบคุมความอิ่มควบคุมระดับน้ำตาลและไขมันในเลือดและลดความอยากอาหาร |
ด้วยเหตุนี้การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ผนวกกับการปรับสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้ เป็นหลักการใหม่ในการควบคุม หรือ ลดน้ำหนัก ส่งผลดีต่อระดับน้ำตาลในเลือด ระดับไขมันในเลือด และลดการอักเสบเรื้อรังซึ่งเป็นวิธีการที่ทำได้ง่ายและยั่งยืน