29 APR 2024 บทความผลิตภัณฑ์ 5 นาทีในการอ่าน 4802 VIEWS 38 แชร์

ไมโครพลาสติก สิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกายได้โดยไม่รู้ตัว

ไมโครพลาสติก คือพลาสติกขนาดเล็กจิ๋ว จนสามารถเจือปนอยู่ในทุกที่รอบๆ ตัวเรา ทั้งอากาศ น้ำ และอาหาร เกิดจากการผลิตและใช้พลาสติกที่ย่อยสลายยากมานานหลายสิบปี ยิ่งมีการใช้พลาสติกเพิ่มมากขึ้น ไมโครพลาสติกก็ทวีจำนวนขึ้น&

ไมโครพลาสติก (Microplastic) คืออะไร

ไมโครพลาสติก (Microplastic) คืออนุภาคของพลาสติกขนาดเล็ก ที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 5 มิลลิเมตร ไปจนถึงขนาดเล็กมากจนไม่สามารถสังเกตเห็นได้ โดยมีลักษณะเป็นรูปทรงวงกลม ทรงวงรี หรือรูปร่างอื่นๆ รูปทรง และขนาดของไมโครพลาสติกนั้นไม่มีความแน่นอน และโดยส่วนใหญ่มักจะเกิดจากการย่อยสลายของพลาสติก รวมถึงการแตกหักของพลาสติกขนาดใหญ่ และพลาสติกที่ถูกสร้างให้มีขนาดเล็ก เพื่อนำมาใช้ให้ตรงกับวัตถุประสงค์ในการใช้งาน1

ประเภทของไมโครพลาสติก

สำหรับประเภทของไมโครพลาสติกนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ ไมโครพลาสติกปฐมภูมิ และไมโครพลาสติกทุติยภูมิ โดยไมโครพลาสติกทั้ง 2 ประเภท มีรายละเอียด และมีความแตกต่างกัน ดังนี้

ไมโครพลาสติกปฐมภูมิ (Primary Microplastics

ไมโครพลาสติกปฐมภูมิ (Primary Microplastics)

ไมโครพลาสติกปฐมภูมิ คือพลาสติกที่ถูกผลิตขึ้นมาให้มีขนาดเล็ก เพื่อนำมาใช้ให้ตรงกับวัตถุประสงค์ในการใช้งาน หรือนำมาใช้ในเฉพาะด้าน และไมโครพลาสติกปฐมภูมินั้นสามารถแพร่กระจายสู่สิ่งแวดล้อมจากการทิ้งของเสีย หรือจากบ้านเรือนสู่แหล่งน้ำ และทะเลได้โดยตรง1 ซึ่งไมโครพลาสติกปฐมภูมินั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด ดังนี้

  • เม็ดพลาสติกบริสุทธิ์ (Nurdle) เป็นไมโครพลาสติกที่เป็นสารตั้งต้นในการผลิตพลาสติกทุกชนิด มีขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร สามารถปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อมได้จากกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์อื่นๆ และกระบวนการขนส่ง2
  • กลิตเตอร์ (Glitter) เป็นสารตกแต่งอาหารที่มีส่วนประกอบของไมโครพลาสติก ที่นิยมนำมาตกแต่งอาหาร เพื่อให้อาหารมีสีสันสวยงาม และมีความน่ากินมากขึ้น2
  • เม็ดบีดส์ (Beads) เป็นไมโครพลาสติกที่ถูกผลิตขึ้นมาให้มีขนาดเล็ก เพื่อใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด เช่น ยาสีฟัน โฟมล้างหน้า หรือสบู่อาบน้ำ รวมถึงผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดในครัวเรือน และเครื่องสำอาง สามารถแพร่กระจายสู่สิ่งแวดล้อมจากการใช้งานภายในบ้านเรือนสู่แหล่งน้ำได้2

ไมโครพลาสติกทุติยภูมิ (Secondary Microplastics) 

ไมโครพลาสติกทุติยภูมิ (Secondary Microplastics) 

ไมโครพลาสติกทุติยภูมิ คือพลาสติกที่เกิดจากมาโครพลาสติก (Macroplastics) หรือพลาสติกที่มีขนาดใหญ่ ที่มีการแตกหัก หรือย่อยสลายจากการสะสมอยู่ในสิ่งแวดล้อมเป็นระยะเวลานาน โดยสามารถย่อยสลายจากพลาสติกขนาดใหญ่สู่ไมโครพลาสติกได้หลากหลายกระบวนการ เช่น กระบวนการย่อยสลายทางเคมี กระบวนการย่อยสลายทางชีวภาพ หรือกระบวนการย่อยสลายด้วยแสงอาทิตย์ เป็นต้น 

เมื่อโครงสร้างของพลาสติกเกิดการย่อยสลาย หรือแตกตัวจนมีขนาดเล็ก จะกลายเป็นสารแขวนลอยที่ปะปนอยู่ภายในสิ่งแวดล้อม เช่น ไมโครพลาสติกในแหล่งน้ำขนาดเล็ก แม่น้ำ หรือทะเล เป็นต้น1

ไมโครพลาสติกมาจากไหน? 

สำหรับไมโครพลาสติกนั้น ส่วนใหญ่มักจะมาจากการย่อยสลาย หรือการแตกตัวของพลาสติก เช่น ขวดน้ำพลาสติก แก้วน้ำพลาสติก กล่องอาหาร ถุงร้อน หรือพลาสติกจากการใช้งานต่างๆ เป็นต้น3 แต่นอกจากการย่อยสลาย และการแตกตัวของพลาสติกชนิดต่างๆ แล้ว ไมโครพลาสติกยังมีแหล่งที่มาจากแหล่งอื่นๆ อีก ดังนี้

  • บ้าน หรือที่อยู่อาศัย เป็นแหล่งที่มาของไมโครพลาสติกที่เกิดจากการใช้งานผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่มีส่วนประกอบของไมโครพลาสติก เช่น ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด เสื้อผ้าที่มีส่วนประกอบของโพลีเอสเตอร์ หรือบรรจุภัณฑ์พลาสติกแบบใช้แล้วทิ้ง อย่างถุงร้อน หรือกล่องอาหาร เป็นต้น3
  • ท้องถนน เป็นแหล่งที่มาของไมโครพลาสติก ที่เกิดจากการเสียดสีระหว่างรถยนต์กับพื้นถนน ที่ทำให้ไมโครพลาสติกในยางรถยนต์เกิดการแตกตัว และกระจายฟุ้งอยู่ภายในอากาศ3
  • บริเวณที่ทำประมง เป็นแหล่งที่มาของไมโครพลาสติกที่เกิดจากอวนของชาวประมง ที่มีส่วนประกอบของไนลอน ที่เป็นไมโครพลาสติก จึงทำให้บริเวณที่ทำประมงมีปริมาณของไมโครพลาสติกเยอะตามไปด้วย3

ไมโครพลาสติก ปะปนอยู่ที่ไหนบ้าง?

เนื่องจากไมโครพลาสติก มีขนาดเล็กมาก ตั้งแต่เส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 5 มิลลิเมตรไปจนถึงขนาดที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ทำให้สามารถฟุ้งกระจาย หรือปะปนได้อยู่กับสิ่งต่างๆ ที่มนุษย์ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ โดยแหล่งที่มีไมโครพลาสติกปะปนที่อยู่ใกล้ตัว มีดังนี้

ไมโครพลาสติกในอากาศ

ในอากาศ เป็นอีกแหล่งที่มีไมโครพลาสติกปะปน ที่เกิดจากการที่พลาสติกบนพื้นดินนั้นมีการย่อยสลาย หรือแตกตัว จนเกิดไมโครพลาสติกที่มีขนาดเล็ก และมีความเบา ทำให้ไมโครพลาสติกถูกพัดพาไปตามสายลม และถูกดึงขึ้นไปในชั้นบรรยากาศได้ง่าย และเป็นสาเหตุที่ทำให้ภายในอากาศ และชั้นบรรยากาศนั้นมีไมโครพลาสติกปะปนอยู่4 ด้วยความที่มีขนาดเล็กมาก

ไมโครพลาสติกในแหล่งน้ำ

แหล่งน้ำในธรรมชาติ เป็นแหล่งที่มีไมโครพลาสติกที่เกิดจากการใช้พลาสติกเป็นสารตั้งต้นในอุตสาหกรรมการผลิตต่างๆ เกือบทุกอุตสาหกรรม เช่น การผลิตบรรจุภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด เครื่องสำอาง เฟอร์นิเจอร์ ชิ้นส่วนวัสดุก่อสร้าง เครื่องใช้ในครัวเรือน หรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ โดยในระหว่างการผลิต การขนส่ง และการใช้งานนั้น ก็อาจจะทำให้พลาสติกเกิดการแตกตัว และด้วยความที่ไมโครพลาสติกมีขนาดเล็ก และมีน้ำหนักเบา จึงทำให้สามารถหลุดรอดจากกระบวนการบำบัดน้ำเสียได้ รวมถึงสามารถปะปนลงไปในแหล่งน้ำต่างๆ ได้ง่ายมากขึ้น2

ไมโครพลาสติกในอาหาร

ไมโครพลาสติกในอาหาร เป็นแหล่งที่มีไมโครพลาสติกที่สามารถเกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุ เช่น การทิ้งขยะพลาสติกลงแหล่งน้ำ การทำประมง หรือการปล่อยของเสียที่มีส่วนประกอบของไมโครพลาสติกลงแหล่งน้ำ ส่งผลให้ไมโครพลาสติกนั้นมีการปนเปื้อนอยู่ในแหล่งน้ำต่างๆ ที่เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำ เช่น ปลา หอย กุ้ง และปู และเมื่อมีไมโครพลาสติกปนเปื้อนอยู่ในแหล่งน้ำ ก็จะทำให้สัตว์น้ำกินไมโครพลาสติกเข้าไป และสะสมไว้ภายในตัวสัตว์ และเมื่อมนุษย์นำสัตว์น้ำเหล่านี้มาประกอบอาหาร ก็ส่งผลให้มีไมโครพลาสติกปนเปื้อนมากับอาหารด้วยนั่นเอง5

ผลกระทบที่เกิดจากไมโครพลาสติก

ผลกระทบที่เกิดจากไมโครพลาสติก

ไมโครพลาสติก เป็นสิ่งแปลกปลอมที่มีขนาดเล็ก และมีน้ำหนักเบา ที่สามารถปนเปื้อน และปะปนได้ตามสิ่งแวดล้อมต่างๆ จึงทำให้ไมโครพลาสติกนั้นสามารถส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสิ่งมีชีวิตได้ ดังนี้

ผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเล 

สำหรับผลกระทบของไมโครพลาสติกนั้น ทาง WHO หรือองค์การอนามัยโลก ได้ทำการประกาศว่า ยังไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพมนุษย์ แต่มีการวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบของไมโครพลาสติกต่อระบบนิเวศ และสัตว์ทะเล ที่พบว่า ในปัจจุบันไมโครพลาสติกเป็นปัญหามลพิษทางทะเล ที่ทำให้ชายฝั่ง และระบบนิเวศเสื่อมโทรมลง เพราะไมโครพลาสติกนั้นมีขนาดเล็ก และมีน้ำหนักเบา จึงทำให้ยากต่อการกำจัด หรือการเก็บ ส่งผลให้ไมโครพลาสติกนั้นสามารถแพร่กระจาย ปนเปื้อน สะสม และตกค้างในสิ่งแวดล้อม และแหล่งน้ำได้ง่าย รวมถึงสามารถแพร่กระจายได้ทั้งในน้ำจืด น้ำเค็ม และตะกอนดิน ส่งผลให้สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำต่างๆ นั้นกินไมโครพลาสติกเข้าไป จนเกิดการสะสมในห่วงโซ่อาหาร และส่งผลกระทบต่อการดำรงของสิ่งมีชีวิตทั้งบนบก และในน้ำได้6

ผลกระทบต่อแหล่งน้ำธรรมชาติ

น้ำดื่มบรรจุขวดที่เรากินกัน นำมาจากแหล่งน้ำคุณภาพดี เช่น น้ำบาดาล หรือน้ำประปา ที่ผ่านกระบวนการกรองอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ถ้าไมโครพลาสติกได้ปนเปื้อนลงไปในแหล่งน้ำนั้นๆ ก็อาจตกค้างเข้าไปภายในร่างกายได้ เพราะแม้กระบวนการผลิตน้ำดื่มจะมีการกรองอย่างดี แต่ไมโครพลาสติกมีขนาดเล็กมาก จนบางครั้งก็ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า 

ผลกระทบต่อสภาพอากาศ 

สำหรับผลกระทบของไมโครพลาสติกต่อสภาพอากาศนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ง่าย เพราะไมโครพลาสติกนั้นมีขนาดเล็ก และมีน้ำหนักเบา ทำให้ไมโครพลาสติกสามารถถูกพัดพาด้วยลม และถูกดึงขึ้นในชั้นบรรยากาศได้ง่าย ทำให้ภายในอากาศนั้นมี 4

วิธีป้องกันตัวเองจากไมโครพลาสติก 

วิธีป้องกันตัวเองจากไมโครพลาสติก 

ถึงแม้ว่าไมโครพลาสติกนั้นจะไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และสามารถส่งผลกระทบต่างๆ ต่อสิ่งแวดล้อม และสิ่งมีชีวิตได้ แต่ทุกคนสามารถหลีกเลี่ยง และลดไมโครพลาสติกได้ด้วยตัวเอง ด้วยวิธีการป้องกันตัวเองจากไมโครพลาสติก ดังนี้

ดื่มน้ำจากเครื่องกรองน้ำ

การดื่มน้ำจากเครื่องกรองน้ำ เป็นวิธีป้องกันตัวเองจากไมโครพลาสติกได้ โดยทุกคนควรเลือกดื่มน้ำจากเครื่องกรองน้ำอย่างเครื่องกรองน้ำที่กรองไมโครพลาสติกได้ ทำให้มีโอกาสน้อยมากที่ภายในน้ำดื่มจะมีการปนเปื้อนของไมโครพลาสติก

ลดการใช้พลาสติก

การลดการใช้พลาสติก เป็นวิธีป้องกันตัวเองจากไมโครพลาสติกที่ทุกคนควรช่วยกัน เมื่อปริมาณพลาสติกน้อยลง ก็จะทำให้โอกาสที่พลาสติกย่อยสลาย หรือแตกตัวจนกลายเป็นไมโครพลาสติกน้อยลง และเมื่อไมโครพลาสติกน้อยลง ก็จะทำให้ไมโครพลาสติกในอาหาร สิ่งแวดล้อม แหล่งน้ำ หรือไมโครพลาสติกในร่างกายน้อยลงไปด้วย

ทำความสะอาดบ้านอยู่เสมอ

การทำความสะอาดบ้านเป็นประจำ เป็นวิธีป้องกันตัวเองจากไมโครพลาสติก ที่จะช่วยลดการสะสมไมโครพลาสติกในร่างกายได้ เพราะภายในบ้านมักจะมีการปนเปื้อนของไมโครพลาสติกที่มาจากแหล่งกำเนิดต่างๆ เช่น ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด เสื้อผ้า หรือพลาสติกอื่นๆ ดังนั้น จึงควรเปิดหน้าต่างให้อากาศถ่ายเท กวาดบ้าน ถูบ้าน หรือดูดฝุ่นให้บ้านสะอาดอยู่เสมอ

ไม่ทิ้งขยะลงแหล่งน้ำ 

การไม่ทิ้งขยะลงแหล่งน้ำ เป็นวิธีการป้องกันตัวเองจากไมโครพลาสติก และเป็นอีกส่วนหนึ่งในการลดการสะสมไมโครพลาสติกในอาหารด้วย เพราะในแหล่งน้ำมีสัตว์น้ำที่นำมาทำเป็นอาหารได้ และมีการนำน้ำตามแหล่งน้ำนั้นๆ ไปใช้ในการทำการเกษตร ทำให้มีการปนเปื้อนทางอ้อม ดังนั้นจึงควรห้ามทิ้งขยะลงในแหล่งน้ำ เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม สิ่งมีชีวิต ระบบนิเวศ และตัวมนุษย์เองด้วย

สรุป

ไมโครพลาสติก คืออนุภาคของพลาสติกขนาดเล็ก ที่สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ ไมโครพลาสติกปฐมภูมิ และไมโครพลาสติกทุติยภูมิ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 5 มิลลิเมตร และมีน้ำหนักเบา ทำให้ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และสามารถปะปนอยู่ในสิ่งแวดล้อม อากาศ น้ำ หรืออาหาร รวมถึงสามารถส่งผลต่อระบบนิเวศ และสภาพอากาศได้ ดังนั้น จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้พลาสติกเท่าที่สามารถทำได้ เพื่อช่วยลดปริมาณการเกิดไมโครพลาสติก ป้องกันไม่ให้ไมโครพลาสติกเข้ามาในร่างกาย ป้องกันไม่ให้ไมโครพลาสติกปนเปื้อนในอาหาร และช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมด้วย

Reference.

  1. OTOP. ไมโครพลาสติก (Microplastics) คืออะไร. otop.dss.go.th. Retrieved 28 February 2024.

  2. Environment Journal. ไมโครพลาสติกในแหล่งน้ำจืดและแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค. ej.eric.chula.ac.th. Published 11 May 2019. Retrieved 28 February 2024.

  3. Marumothai. อันตรายของ “ไมโครพลาสติก” เป็นอย่างไร?. marumothai.com. Published 9 February 2021. Retrieved 28 February 2024.

  4. Spacebar. ‘ไมโครพลาสติก’ (อาจ) กระตุ้นการก่อ ‘เมฆ’ และส่งผลต่อสภาพอากาศ. spacebar.th. Published 20 November 2023. Retrieved 28 February 2024.

  5. AMARC. ไมโครพลาสติก ภัยเงียบในห่วงโซ่อาหาร. amarc.co.th. Published 31 August 2023. Retrieved 28 February 2024.

  6. Petromat. ไมโครพลาสติก : ผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์. petromat.org. Published 2 September 2022. Retrieved 28 February 2024.