24 OCT 2023 บทความผลิตภัณฑ์ 5 นาทีในการอ่าน 1479 VIEWS

มลพิษทางอากาศ แค่หายใจก็อันตราย ภัยเงียบที่ถูกมองข้าม

มลพิษทางอากาศ หรือภาวะสารปนเปื้อนในอากาศเป็นอันตรายต่อสุขภาพ แค่หายใจก็ทำให้เกิดโรคที่รุนแรงถึงชีวิตได้ จึงต้องหาวิธีป้องกันให้คุณภาพอากาศรอบตัวสะอาดอยู่เสมอ

ทำความรู้จัก มลพิษทางอากาศ คืออะไร

มลพิษทางอากาศ คือ สภาวะที่อากาศมีสิ่งปนเปื้อนขนาดเล็ก ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5 และ PM 10) ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) โอโซน (O3) ผงเขม่าดำ (Black Carbon: BC) และซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) เป็นต้น 

ประเภทของมลพิษทางอากาศ มีอะไรบ้าง

ประเภทของมลพิษทางอากาศ มีอะไรบ้าง

มลพิษทางอากาศมี 2 ประเภท คือ มลพิษทางตรง และมลพิษทางอ้อม ซึ่งมลพิษทางอากาศแต่ละประเภทมีสาเหตุที่แตกต่างกัน ดังนี้ 

มลพิษทางตรง

มลพิษทางตรง คือ สารพิษที่ถูกปล่อยสู่อากาศในธรรมชาติโดยตรง บางส่วนอาจมาจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ แต่ส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น

  • ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง 

  • ก๊าซไนโตรเจนที่เกิดจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ หรือการเผาไหม้ในกระบวนการอุตสาหกรรม

  • สารโลหะหนัก ที่ใช้ในกระบวนการทางอุตสาหกรรม เช่น ตะกั่ว ปรอท และแคดเมียม เป็นต้น

  • สารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) อย่างเช่น สารมีเทน ที่ถูกปล่อยออกมาตลอดเวลาจากการใช้ชีวิตประจำวันของมนุษย์ และการทำงานของโรงงานต่างๆ 

  • อนุภาคสิ่งแปลกปลอมในอากาศ เช่น ฝุ่นละออง ขี้เถ้า และควัน เป็นต้น

มลพิษทางอ้อม

มลพิษทางอ้อม คือ มลพิษที่เกิดจากการทำปฏิกิริยากันระหว่างก๊าซต่างๆ ในภายหลัง เช่น หมอกสีน้ำตาล หรือหมอควัน ที่เกิดจากการทำปฏิกิริยากับแสง (Photochemical) ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างมาก

สาเหตุของมลพิษทางอากาศ แก้ไขได้อย่างไร

สาเหตุของมลพิษทางอากาศ แก้ไขได้อย่างไร

สาเหตุของมลพิษทางอากาศ เกิดจากปัจจัยหลากหลาย อาจเป็นได้ทั้งสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และสิ่งที่มนุษย์สร้าง แต่สาเหตุหลักๆ ของมลพิษทางอากาศส่วนใหญ่ มาจากกิจกรรมของมนุษย์ ได้แก่ 

การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงฟอสซิล

การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล โดยส่วนใหญ่มาจากการเผาไหม้ในโรงงานอุตสาหกรรม การเผาไหม้เครื่องยนต์ และการเผาไหม้ที่เกิดในครัวเรือน ซึ่งแนวทางการแก้ไขมลพิษทางอากาศในปัจจุบัน สามารถเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาดทดแทนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล โดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม ซึ่งเป็นพลังงานหมุนเวียน นอกจากจะปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพแล้ว ยังใช้ต้นทุนที่ต่ำกว่าอีกด้วย

การปล่อยมลพิษทางอุตสาหกรรม

การปล่อยไอเสียของโรงงานอุตสาหกรรม โดยเฉพาะเมื่อก๊าซพิษไปรวมกับก๊าซอื่นๆ หรือทำปฏิกิริยากับแสง ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ โรงงานหลายแห่งเริ่มหันมาใช้เทคโนโลยีเป็นตัวช่วย เช่น ระบบการกรองอากาศ ระบบอัจฉริยะที่จะช่วยในการตรวจสอบการปล่อยมลพิษออกสู่อากาศ เป็นต้น

มลพิษทางอากาศภายในอาคาร

อากาศภายในอาคารอาจไม่ได้ปลอดภัยอย่างที่คิด เพราะมีทั้งมลพิษจากภายนอกไหลเวียนเข้ามาตามช่องทางต่างๆ และมลพิษที่เกิดจากกิจกรรมภายในอาคาร เช่น ควันจากการทำอาหาร เชื้อรา และไวรัสต่างๆ ไปจนถึงสารเคมีจากผลิตภัณฑ์ที่ใช้สอยในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็น เฟอร์นิเจอร์ วัสดุก่อสร้าง สารทำความสะอาด เป็นต้น 

การควบคุมและการป้องกันมลพิษทางอากาศภายในอาคาร ควรทำความสะอาด ทำลายแหล่งอับชื้น กำจัดเชื้อรา แมลง ไรฝุ่นต่างๆ โดยติดตั้งเครื่องฟอกอากาศไว้ในแต่ละห้อง พร้อมทั้งควบคุมความหนาแน่นของผู้ที่อยู่ในอาคารด้วย

การคมนาคม

การคมนาคม โดยเฉพาะยานพาหนะเครื่องยนต์ต่างๆ เป็นส่วนที่ปล่อยมลพิษออกสู่อากาศจำนวนมาก เช่น ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ สารประกอบไฮโดรคาร์บอน สารตะกั่วและก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เป็นต้น ซึ่งเกิดจากการเผาผลาญไม่สมบูรณ์ของเครื่องยนต์ แนวทางการแก้ไขมลพิษทางอากาศ ควรลดการใช้ยานพาหนะเครื่องยนต์ดีเซล โดยการใช้ขนส่งสาธารณะมากขึ้น หรือการหมั่นเช็คสภาพยานพาหนะ บำรุงรักษาให้เครื่องยนต์อยู่ในสภาพดี และการติดตั้งตัวกรองท่อไอเสีย เป็นต้น

การทำเกษตรกรรม

การปล่อยมลพิษจากการเผาไหม้ทางการเกษตร โดยเฉพาะการเผาทำลายซากพืชเพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูกในฤดูกาลถัดไป ส่วนมากจะเป็นการเผาในพื้นที่การเกษตรขนาดใหญ่ ก่อให้เกิดฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) กระจายโดยรอบ แนวทางการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศจากการทำเกษตรกรรม เป็นสิ่งที่ต้องอาศัยการผลักดันนโยบายทั้งในระดับรัฐ และระหว่างประเทศ ควบคุมการเผาในพื้นที่เกษตรขนาดใหญ่ และการพัฒนากระบวนการผลิตทั้งหมด รวมไปถึงการสร้างความร่วมมือ ควบคุมการเผาพื้นที่เกษตรในระดับภูมิภาคอาเซียน

การเผาไหม้ขยะมูลฝอย

การเผาขยะในที่โล่ง เป็นการเผาขยะทั่วๆ ไปในครัวเรือน หรือการเผาขยะในที่โล่งเพื่อกำจัดขยะขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นการปล่อยมลพิษสู่อากาศโดยตรง โดยไม่ผ่านการกรองแต่อย่างใด ส่วนใหญ่เป็นสารไดออกซิน และสารพิษอื่นๆ ที่ลอยไม่สูงมากนัก ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยตรง สำหรับแนวทางการแก้ไข ควรบังคับให้การเผากำจัดขยะต้องทำในพื้นที่เตาเผาขยะที่ได้รับการควบคุมอย่างถูกต้องเท่านั้น

การใช้ผลิตภัณฑ์เคมี และสังเคราะห์

มลพิษทางอากาศยังมีสาเหตุมาจากการใช้ผลิตภัณฑ์เคมีและสังเคราะห์ เช่น สารทำความสะอาด ยาฆ่าแมลง วัสดุก่อสร้างต่างๆ ซึ่งมีสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) โดยการลดผลกระทบนั้น สามารถเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติเป็นหลัก หรือลดการใช้สเปรย์ต่างๆ ภายในบ้าน เป็นต้น

มลพิษทางอากาศในประเทศไทย

ปัจจุบันประเทศไทยเผชิญกับสถานการณ์มลพิษทางอากาศที่มีความรุนแรงมากในทุกๆ ปี โดยเฉพาะช่วงฤดูแล้ง (เดือนพฤศจิกายน - เมษายน) อันเป็นฤดูกาลของการเผาพื้นที่เพาะปลูกขนาดใหญ่ ทั้งจากภายในประเทศและประเทศเพื่อนบ้าน รวมไปถึงการเกิดไฟไหม้ป่าจากการสะสมความร้อนของป่าด้วย พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือบริเวณภาคเหนือของไทย ที่เผชิญกับสถานการณ์ดังกล่าวมาแล้วเกือบทศวรรษ และยังไม่มีแนวโน้มว่าสถานการณ์หมอกควันจะลดลงแต่อย่างใด 

ผลกระทบจากมลพิษทางอากาศ อันตรายอย่างไร

ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและมนุษย์ จากมลพิษทางอากาศ อาจพบได้จากสภาวะทางสุขภาพ อุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้สิ่งมีชีวิตบางชนิดไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ บางอย่างเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ จนเราแทบไม่รู้สึกตัว แต่บางอย่าง ก็เห็นผลกระทบแบบรูปธรรม ดังนี้

ผลกระทบจากมลพิษทางอากาศ ต่อสิ่งแวดล้อม

  • ฝนกรด เกิดจากที่สารพิษจากการเผาไหม้ทำปฏิกิริยากันในอากาศ กลายเป็นฝนกรด ตกลงมาสู่พื้นโลก และเป็นอันตรายต่อพืชต่างๆ ทั้งในพื้นดินและในน้ำ 

  • หมอกควัน เป็นการทำปฏิกิริยาระหว่างสารพิษกับแสงแดด กลายเป็นมลพิษทางอากาศที่ส่งผลต่อทุกชีวิตที่สูดอากาศเหล่านี้เข้าไปในร่างกาย

  • ชั้นโอโซนลดลง สารพิษที่ปล่อยออกสู่อากาศส่งผลให้ชั้นโอโซนของโลกลดลง ซึ่งโอโซนเป็นสิ่งที่คอยป้องกันโลกจากแสงอาทิตย์ เมื่อชั้นโอโซนลดลงจะส่งผลโดยตรงต่อภาวะความร้อนของโลก

  • ผลกระทบต่อสัตว์ป่า มลพิษทางอากาศส่งผลกระทบต่อสัตว์ป่า ก่อให้เกิดความผิดปกติต่างๆ เช่น อัตราการเกิดลดลง ความล้มเหลวของการเจริญพันธุ์ ตลอดจนการเกิดโรคในสัตว์ เป็นต้น 

  • การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กิจกรรมของมนุษย์บางอย่าง เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิง การใช้พลังงานที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การเพาะปลูกข้าวหรือเลี้ยงสัตว์ ทำให้ปริมาณก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศเพิ่มขึ้น เป็นต้นเหตุของอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น จนก่อให้เกิดสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงทั่วโลก2

ผลกระทบจากมลพิษทางอากาศ ต่อตัวเรา

มลพิษทางอากาศส่งผลกระทบต่อตัวผู้คนในหลากหลายรูปแบบ ดังนี้ 

  • ผลกระทบของมลพิษทางอากาศในระยะสั้น ได้แก่ อาการระคายเคืองตา จมูก อาการไอ และการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างเฉียบพลันลงปอด เป็นต้น 

  • ผลกระทบของมลพิษทางอากาศในระยะยาวจะส่งผลต่อสุขภาพในระดับรุนแรงขึ้นเมื่อได้รับอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะมลพิษ ไวรัส หรือแบคทีเรียที่มีขนาดเล็กมาก จนเครื่องฟอกอากาศทั่วไปในท้องตลาดไม่สามารถกรองได้ ซึ่งอาจเข้าสู่ร่างกายในระดับลึกถึงกระแสเลือด ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ กระตุ้นอาการของโรคหอบหืด มะเร็งปอด โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง หากรุนแรงอาจมีอันตรายถึงชีวิตได้1

ผู้ที่ได้รับผลกระทบต่อมลพิษทางอากาศได้ง่าย

กลุ่มคนผู้ที่อาจได้รับมลพิษทางอากาศได้ง่ายกว่ากลุ่มคนอื่นๆ ได้แก่

  • เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้สูงอายุ

  • ผู้มีโรคประจำตัว เช่น โรคหอบหืด โรคในระบบทางเดินหายใจ และโรคหัวใจ เป็นต้น

  • ผู้สูบบุหรี่ และผู้ได้รับผลกระทบจากควันบุหรี่

  • ผู้ทำงานกลางแจ้ง เช่น กรรมกร ตำรวจจราจร และคนกวาดถนน เป็นต้น

  • สตรีที่กำลังมีครรภ์

ป้องกันตัวเองจากมลพิษทางอากาศ ได้อย่างไร

เราสามารถดูแลปกป้องตัวเองจากมลพิษทางอากาศได้หลายวิธี แต่เชื่อหรือไม่ว่า แม้จะหลบอยู่แต่ในอาคาร ก็ยังไม่อาจหลบเลี่ยงมลพิษในอากาศได้ 100% ดังนั้น จึงต้องใช้หาวิธีอื่นที่จะช่วยให้เราปลอดภัยจากมลพิษทางอากาศเพิ่มเติม ได้แก่

ใช้เครื่องฟอกอากาศในอาคาร

แน่นอนว่า ในช่วงที่มีมลพิษทางอากาศสูง เราควรอยู่ในพื้นที่ปิด หรือในอาคารให้ได้มากที่สุด และติดตั้งเครื่องฟอกอากาศที่มีมาตรฐานไว้ในห้องแต่ละห้อง หากจำเป็นต้องออกไปข้างนอก ควรจำกัดเวลาและพยายามหลบเข้าตัวอาคาร เพื่อพักการสูดมลพิษทางอากาศในที่โล่ง

ใช้เครื่องฟอกอากาศในอาคาร

สวมใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้ง

เลือกใช้หน้ากากอนามัยสำหรับกรองฝุ่นละอองขนาดเล็ก (N95) เพื่อป้องกันการสูดฝุ่นละอองเข้าสู่ปอดได้ และสวมใส่หน้ากากอนามัยอยู่ตลอดเวลาเมื่ออยู่ในเคหสถาน หากแน่ใจว่าค่าฝุ่นละอองภายในพื้นที่อยู่ในระดับปกติก็สามารถถอดหน้ากากอนามัยได้

สวมใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้ง

อาบน้ำเมื่อกลับบ้าน

ทุกครั้งที่ออกไปทำกิจกรรมภายนอก ย่อมมีฝุ่นละออง สารแปลกปลอมต่างๆ ติดตัว ผิวหนัง และเสื้อผ้าเสมอ  ดังนั้นจึงควรอาบน้ำและเปลี่ยนเสื้อผ้าเมื่อกลับถึงบ้าน ซึ่งเป็นการชะล้างฝุ่นละอองขนาดเล็กที่ติดตามตัว ป้องกันอาการคัน และแพ้ฝุ่นอีกด้วย

หมั่นตรวจสอบมลพิษทางอากาศ

ควรหมั่นตรวจสอบและติดตามค่าฝุ่นละอองในแต่ละวัน เพื่อการวางแผนสำหรับการเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ โดยสามารถตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์ของกรมควบคุมมลพิษ หรือแอปพลิเคชั่นรายงานค่าฝุ่นละอองต่างๆ 

ทำให้อากาศภายในตัวบ้านปลอดมลพิษให้ได้มากที่สุด

การอยู่ภายในอาคารเพื่อหลีกเลี่ยงมลพิษทางอากาศเป็นวิธีที่ดีที่สุด ทว่าภายในอาคารเองก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเผชิญหมอกควันได้ ดังนั้นทางเลือกหนึ่งที่สำคัญ คือ การติดตั้งเครื่องฟอกอากาศไว้ในห้องต่างๆ ซึ่งการเลือกเครื่องฟอกอากาศควรเลือกที่เหมาะกับขนาดของห้อง ในห้องขนาดใหญ่สามารถใช้ เครื่องฟอกอากาศ แอทโมสเฟียร์ สกาย จาก AMWAY และ เครื่องฟอกอากาศ แอทโมสเฟียร์ มินิ จาก AMWAY สำหรับห้องขนาดเล็ก ซึ่งสามารถกรองสิ่งปนเปื้อนในอากาศขนาดเล็กถึง 0.0024 ไมครอน ที่มีขนาดเล็กกว่าฝุ่น PM 2.5 ถึง 1,000 เท่า สามารถกรองสิ่งปนเปื้อนในอากาศได้มากถึง 330 ชนิด ลดสารปนเปื้อนในอากาศได้ถึง 14 ชนิด และยังผ่านการทดสอบรับรองประสิทธิภาพการกรองฝุ่นละออง และสารปนเปื้อนในอากาศจากสถาบันในระดับสากลอีกด้วย 

สรุป

มลพิษทางอากาศ เป็นสภาวะที่อากาศเต็มไปด้วยสิ่งแปลกปลอมที่ส่งผลต่อสุขภาพของมนุษย์ สัตว์ รวมไปถึงสภาพแวดล้อมด้วย ดังนั้นทุกคนจึงควรดูแลตัวเองให้เผชิญกับมลพิษทางอากาศให้น้อยที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการสวมหน้ากากอนามัยสำหรับกรองฝุ่น หลีกเลี่ยงการอยู่ภายนอกอาคาร และการทำให้พื้นที่ภายในอาคารมีอากาศสะอาดปลอดภัยเหมาะแก่การอยู่อาศัยหรือทำงาน 

Reference 

  1. World Health Organization Thailand. มลพิษทางอากาศคืออะไร. who.int. Public 17 January 2009.

  2. Retrieved 27 September 2023.nationalgrid. What are greenhouse gases?. nationalgrid.com. Public 23 February 2023. Retrieved October 2023.