10 JUL 2023 บทความผลิตภัณฑ์ 4 นาทีในการอ่าน 2430 VIEWS

PM 2.5 เกิดจากอะไร ส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง พร้อมวิธีป้องกัน

PM 2.5 คืออะไร? ทำไมในไทยจึงมีค่ามลภาวะทางอากาศสูงติดอันดับต้นของโลก ฝุ่นที่มีขนาดเล็กเหล่านี้มีผลเสียต่อร่างกายอย่างไร และมีวิธีป้องกันฝุ่นมลพิษนี้ให้หมดไปจากบ้านและครอบครัวคุณได้หรือไม่

ฝุ่น PM 2.5 เป็นมลภาวะทางอากาศที่ทุกคนกำลังเผชิญ และสามารถหลีกเลี่ยงได้ยาก เพราะเป็นฝุ่นที่มีขนาดเล็ก และสามารถส่งผลเสียต่างๆ ต่อร่างกายที่อาจตามมาได้ในอนาคต

PM 2.5 คืออะไร

PM 2.5 คืออะไร

ฝุ่น PM 2.5 หรือ Particulate Matter with diameter of less than 2.5 micron เป็นฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน ด้วยขนาดเล็กที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ทำให้ฝุ่น PM 2.5 นั้นสามารถผ่านการกรองของขนจมูกได้ง่าย และสามารถเข้าไปสู่ทางเดินหายใจ กระแสเลือด หรือปอดได้ง่าย 

นอกจาก PM 2.5 ยังมีฝุ่นพิษที่เล็กกว่านี้ เช่น PM0.3 และ PM0.0024 ซึ่งเป็นค่าฝุ่นที่เครื่องมือในปัจจุบันสามารถตรวจจับได้ และยังมีฝุ่นพิษที่เล็กกว่านั้นลอยปะปนอยู่ในอากาศ ซึ่งสามารถเข้าไปถึงปอดส่วนลึกได้ผ่านการหายใจ โดยที่เครื่องฟอกอากาศทั่วไปในท้องตลาดไม่สามารถกรองได้ รวมทั้งไวรัสและแบคทีเรีย ที่ต้องกรองด้วยแผ่นกรอง HEPA ประสิทธิภาพสูง

ฝุ่น PM 2.5 ในไทย เกิดจากอะไร

ฝุ่น PM 2.5 ในไทย เกิดจากอะไร

ฝุ่น PM 2.5 สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การใช้ชีวิตประจำวัน การประกอบกิจกรรมในครัวเรือน หรือโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น แต่ว่าฝุ่น PM 2.5 ในประเทศไทยนั้นมักจะเกิดจากสาเหตุต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • การเผาไหม้ในที่โล่ง 54% เป็นการเผาไหม้ขยะ เผาป่า หรือเผาเศษวัสดุเหลือใช้จากภาคเกษตรกร เช่น เผาไร่ข้าวโพด หรือเผาฟางในไร่นา เป็นต้น จนทำให้เกิดควันพิษในชั้นบรรยากาศ

  • ควันจากปล่องโรงงานอุตสาหกรรม 17% เป็นการเผาไหม้เชื้อเพลิง หรือการเผาไหม้จากกระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมที่อาจมีส่วนประกอบของสารเคมีต่างๆ ทำให้ควันที่ปล่อยออกมานั้นเป็นควันพิษ

  • ไอเสียจากรถยนต์ หรือการจราจร 13% เป็นการเผาไหม้ของน้ำมันดีเซลจากรถยนต์ หรือยานพาหนะต่างๆ ที่ใช้น้ำมันดีเซล รวมถึงการจราจรที่ติดขัดที่สามารถส่งผลให้ไอเสียจากรถยนต์เกิดการสะสมจนเกิดเป็นควันพิษได้

  • การผลิตไฟฟ้า 8% เป็นการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงที่ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น ฟอสซิล หรือถ่านหิน จนทำให้เกิดควัน หรือมลพิษทางอากาศได้

  • การใช้ชีวิตประจำวันและที่อยู่อาศัย 7% การใช้ชีวิตประจำวันนั้นมักมีกิจกรรมที่ทำให้เกิดฝุ่นและควันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น การทำอาหาร การสูบบุหรี่ หรือการจุดธุปไหว้พระ ซึ่งควันที่เกิดขึ้นมาจากการทำกิจกรรมดังกล่าว สามารถก่อให้เกิดมลพิษได้ไม่น้อย และอาจเห็นได้ชัดในบางพื้นที่ เมื่อถึงช่วงเทศกาลที่เกี่ยวกับศาสนา

ผลเสียของ PM 2.5 ต่อร่างกาย

ผลเสียของ PM 2.5 ต่อร่างกาย

ฝุ่น PM 2.5 นั้นสามารถส่งผลเสียต่อร่างกายได้อย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้ทันที เช่น อาการแสบตา แสบจมูก หรือเจ็บคอ เป็นต้น และถ้าหากสูดหายใจนำฝุ่น PM 2.5 เข้าไปสะสมเป็นเวลานาน อาจทำเกิดโรคจากฝุ่นได้ และผลเสียของ PM 2.5 ที่ส่งผลต่อร่างกาย มีดังนี้

ผลเสียต่อระบบทางเดินหายใจ 

ฝุ่น PM 2.5 มีขนาดเล็กกว่าเส้นผม จึงสามารถเดินทางผ่านระบบทางเดินหายใจได้ง่ายและรวดเร็ว ซึ่งอาจทำให้แสบจมูก หรือระคายเคืองคอได้แล้ว ยังมีโอกาสที่ฝุ่น PM 2.5 จะเดินทางไปเข้าสู่ปอด และอาจสะสมจนมีความเสี่ยงเกิดโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจหรือปอดได้

ผลเสียต่อหัวใจ  

นอกจากจะเดินทางเข้าไปในปอดแล้ว ฝุ่น PM 2.5 ยังมีโอกาสเล็ดรอดเข้าสู่กระแสเลือด อาจส่งผลให้เกิดภาวะหลอดเลือดแข็งตัว ความดันโลหิตสูงขึ้น มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หลอดเลือดหัวใจตีบตัน หรือกล้ามเนื้อหัวใจเกิดการขาดเลือดเฉียบพลันได้มากขึ้นได้

ผลเสียต่อสมอง 

แน่นอนว่า เมื่อฝุ่น PM 2.5 เล็กมากจนระบบกรองของร่างกายตรวจจับไม่ได้ มันจึงสามารถหลุดเข้าสู่สมองได้โดยตรง ผ่านทางเส้นประสาทการรับกลิ่นที่อยู่เหนือโพรงจมูก และอาจก่อให้เกิดอาการอักเสบในสมองโรคหลอดเลือดสมองตีบ หลอดเลือดสมองแตก โรคอัลไซเมอร์ หรือทำให้เป็นเนื้อสมองสีขาวได้ง่ายกว่าปกติ สำหรับผู้ที่มีอาการไมเกรนอยู่ ก็อาจทำให้อาการรุนแรงขึ้นได้

ผลเสียต่อผิวหนัง 

ฝุ่น PM 2.5 สามารถทำร้ายเซลล์ผิวหนัง และกระตุ้นให้เกิดการอักเสบ อาการคัน หรือผื่นต่างๆ และในผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับผิวหนังอยู่แล้ว เช่น โรคภูมิแพ้ผิวหนัง ผื่นผิวหนังอักเสบ หรือสิว ก็อาจทำให้ผิวระคายเคือง หรือมีอาการรุนแรงขึ้นได้

กลุ่มคนที่เสี่ยงอันตรายจาก PM 2.5 

กลุ่มคนที่เสี่ยงอันตรายจาก PM 2.5 

สุขภาพร่างกายของแต่ละคน นั้นมีความแข็งแรงที่แตกต่างกัน ดังนั้น การที่สูดหายใจนำ PM 2.5 เข้าไปในร่างกายอาจทำให้เกิดผลเสีย หรือผลกระทบที่ไม่เหมือนกัน โดยกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับ PM 2.5 เข้าไปในร่างกาย และจะทำให้เกิดอันตรายได้มากกว่า 

เด็ก 

เด็กนั้นมีภูมิคุ้มกันน้อยกว่า อวัยวะ และระบบต่างๆ ภายในร่างกายยังอยู่ในช่วงที่กำลังเจริญเติบโต หากมีฝุ่น PM 2.5 เข้าไปสะสมในร่างกายตั้งแต่ยังเล็ก อาจทำให้การเจริญเติบโตไม่ปกติ และเกิดโรคต่างๆ ตามมาในอนาคตได้

สตรีมีครรภ์ 

สตรีมีครรภ์ เป็นอีกกลุ่มเสี่ยงที่ควรหลีกเลี่ยงการสูดหายใจนำฝุ่น PM 2.5 เข้าไปในร่างกาย เพราะนอกจากฝุ่น PM 2.5 จะส่งผลต่อร่างกายของมารดาแล้ว ยังส่งผลไปถึงทารกในครรภ์ได้อีกด้วย อาจเกิดภาวะคลอดก่อนกำหนด และเพิ่มโอกาสในการแท้งบุตร หรือมีอัตราการเสียชีวิตของทารกในครรภ์สูงขึ้นได้

ผู้สูงอายุ 

สุขภาพของร่างกายผู้สูงอายุนั้นมีความเสื่อมสภาพลงตามช่วงวัย จึงทำให้อวัยวะ ระบบต่างๆ ภายในร่างกาย และภูมิคุ้มกันเสื่อมถอย หากมีฝุ่น PM 2.5 สะสมในร่างกายมาก ก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจ หอบหืด หรือโรคต่างๆ ดังที่กล่าวไว้แล้ว

ผู้ป่วยหรือผู้ที่มีโรคประจำตัว

ผู้ป่วย หรือผู้ที่มีโรคประจำตัวนั้นเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ต้องหลีกเลี่ยงฝุ่น PM 2.5 เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะผู้ป่วย หรือผู้ที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับทางเดินหายใจ ปอด หรือหัวใจ เพราะว่าฝุ่นนั้นอาจไปกระตุ้นให้อาการต่างๆ ของโรคกำเริบได้

วิธีป้องกัน PM 2.5 

วิธีป้องกัน PM 2.5 

วิธีป้องกันฝุ่น PM 2.5 แบบง่ายๆ ด้วยตัวเอง หลายคนอาจจะนึกถึงหน้ากากอนามัย แต่ยังมีอีกหลายวิธีที่จะช่วยป้องกันฝุ่นไม่ให้เข้าไปสะสมในร่างกายจนเกิดโรคจากฝุ่นได้ โดยวิธีป้องกันฝุ่น PM 2.5 แบบง่ายๆ มีทั้งหมดหลายวิธี ดังนี้

สวมใส่หน้ากาก

วิธีป้องกันฝุ่น PM 2.5 แบบง่ายๆ ที่ทุกคนสามารถทำได้ทันที คือ การสวมใส่หน้ากาก N95 หรือหน้ากากอนามัยที่สามารถกรองฝุ่น PM 2.5 ได้ โดยหน้ากาก N95 นั้นจะมีคุณสมบัติพิเศษที่ช่วยป้องกันเชื้อโรค ฝุ่นละออง หรือสิ่งปนเปื้อนที่มีขนาดเล็กเข้าสู่ร่างกายได้ จึงสามารถช่วยกรองฝุ่นออกไปก่อนที่จะหายใจเข้าไปในร่างกายได้

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากหน้ากาก N95 นั้นมีราคาค่อนข้างสูง และหน้ากากทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐาน ก็สามารถป้องกันฝุ่น PM2.5 ได้เช่นกัน หลายคนจึงนิยมใช้หน้ากากทางการแพทย์ที่หาได้ง่ายมากกว่า เพียงแต่ต้องสวมใส่อย่างมิดชิด ไม่ให้มีช่องว่างที่ฝุ่นจะสามารถเล็ดรอดเข้าไปในระบบทางเดินหายใจได้ จึงจำเป็นต้องอาศัยวิธีอื่นๆ เสริม เพื่อป้องกันฝุ่น PM2.5 ร่วมด้วย

ใช้เครื่องฟอกอากาศที่กรองฝุ่นขนาดเล็กได้

การใช้เครื่องฟอกอากาศ เป็นอีกวิธีในการป้องกันฝุ่น PM 2.5 ภายในบ้าน หรือที่พักอาศัย โดยการเลือกใช้เครื่องฟอกอากาศนั้นควรจะเลือกใช้เครื่องฟอกอากาศที่สามารถกรองฝุ่นขนาดเล็กได้ เพราะนอกจากฝุ่น PM 2.5 ที่อันตรายแล้ว ในอากาศก็ยังมีฝุ่น เชื้อโรค หรือสิ่งปนเปื้อนต่างๆ ที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน ซึ่งอันตรายต่อร่างกายยิ่งกว่าฝุ่น PM 2.5 เสียอีก เครื่องฟอกอากาศ Atmosphere SKY จึงออกแบบมาให้สามารถกรองอนุภาคได้เล็กถึง 0.0024 ไมครอน ครอบคลุมตั้งแต่ฝุ่น PM 2.5 ไวรัส แบคทีเรีย เชื้อโรค และสารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ถึง 300 กว่าชนิด ลดสิ่งที่ปนเปื้อนอยู่ในอากาศได้มากถึง 99.99% ทำให้อากาศภายในบ้าน ปลอดภัยสำหรับทุกคนอย่างแท้จริง

หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้ง

การอยู่กลางแจ้ง จะทำให้ต้องสูดหายใจนำฝุ่น PM 2.5 เข้าไปในจำนวนที่มากขึ้น ดังนั้น ผู้ที่ออกกำลังกาย หรือผู้ที่ทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นประจำ ควรปรับเปลี่ยนกิจวัตรประจำวันมาออกกำลังกายภายในห้องปิดที่มีระบบฟอกอากาศ หรือออกจากบ้านให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้

งดการสูบบุหรี่หรืองดกิจกรรมที่ทำให้เกิดควัน

การงดสูบบุหรี่ หรืองดกิจกรรมที่ทำให้เกิดควันนั้นนอกจากจะสามารถช่วยป้องกันการเกิดฝุ่น PM 2.5 ได้แล้ว ยังสามารถช่วยป้องกันไม่ให้เกิดผลเสีย หรือผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ หรือปอดได้ เพราะว่าการสูบบุหรี่ หรือการทำกิจกรรมที่ทำให้เกิดควันนั้นอาจทำให้ระบบหายใจ หรือปอดอ่อนแอลงได้ แถมยังทำให้สุขภาพแย่ลง และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ตามมาได้อีกด้วย

สรุป

ฝุ่น PM 2.5 เป็นฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กที่มีขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ที่มีการสะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศจนกลายเป็นมลภาวะทางอากาศ โดยฝุ่น PM 2.5 นั้นสามารถส่งผลให้เกิดโรคจากฝุ่น หรือส่งผลเสียต่างๆ ต่อร่างกายได้อย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นระบบทางเดินหายใจ ปอด หัวใจ สมอง หรือผิวหนัง เป็นต้น ดังนั้น ผู้อ่านจึงควรป้องกันฝุ่น PM 2.5 ด้วยการสวมใส่หน้ากากที่ช่วยกรองฝุ่น PM 2.5 หลีกเลี่ยงการออกจากบ้านโดยไม่จำเป็น ใช้เครื่องฟอกอากาศภายในบ้าน หรืองดทำกิจกรรมที่ก่อให้เกิดฝุ่นควัน เป็นต้น เพื่อลดโอกาสในการสูดหายใจนำฝุ่น PM 2.5 เข้าร่างกายจนเกิดการสะสมจนทำให้เกิดอันตราย หรือโรคต่างๆ ตามมาได้ในภายหลัง