ปัญหาฟันผุ เหมือนจะเป็นเรื่องเล็กๆ แต่อันตรายถึงชีวิตหากมีอาการติดเชื้อ! เพราะมีจุลินทรีย์ แบคทีเรียร้ายในช่องปาก ที่เป็นสาเหตุของฟันผุ จึงต้องรีบหาวิธีกำจัดโดยทันที
อาการฟันผุมักจะสังเกตได้ง่ายจากการพบจุด หรือรูบนฟัน โดยมักจะเกิดขึ้นบริเวณฟันกรามที่ทำความสะอาดได้ยาก แต่รู้หรือไม่? ว่าแท้จริงแล้วยังมีอีกหลายอาการที่สามารถพบร่วมได้ มาสังเกตอาการฟันผุกันได้ ดังนี้
เพื่อให้ได้เห็นภาพรวม และเข้าใจอาการฟันผุได้ดีมากยิ่งขึ้น ในเนื้อหาส่วนนี้จะพาไปรู้จักกับระยะความรุนแรงของโรคฟันผุกัน โดยจะมีการแบ่งออกเป็น 4 ระยะความรุนแรงด้วยกัน ดังนี้
หลายคนอาจเคยได้ยินว่าอาการฟันผุเกิดจากแมงกินฟัน แต่นั่นไม่ใช่ความจริงเลย เพราะฟันผุมักเกิดจากสิ่งสกปรกหมักหมมเนื่องจากไม่ได้ถูกทำความสะอาดให้ดีมากพอ จากคราบสิ่งสกปรก มีการเปลี่ยนแปลงเป็นกรด และทำลายเนื้อฟัน จนกลายเป็นฟันผุ อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกหลากหลายสาเหตุที่ทำให้เกิดฟันผุ ดังนี้
ฟันผุที่เกิดจากกรดของเชื้อแบคทีเรียที่สะสมตกค้างจากการกินอาหาร ทำให้เกิดกระบวนการที่เรียกว่า Demineralize หรือการทำลายแร่ธาตุของโครงสร้างฟัน ทำให้เกิดการเสื่อมสลายของเนื้อฟันจนกลายเป็นฟันผุ
คราบหินปูนเป็นแหล่งสะสมของเชื้อแบคทีเรียจำนวนมาก เมื่อเชื้อแบคทีเรียไม่ถูกทำความสะอาดออกไปเป็นเวลานาน จะเกิดการเปลี่ยนแปลง และออกฤทธิ์เป็นกรด ทำให้เนื้อฟันเกิดความเสียหายจนกลายเป็นฟันผุในที่สุด1
หากปัญหาเดิมที่มีอยู่ คือผิวฟันถูกทำลายไปแล้ว และเกิดปัญหาฟันผุเพิ่มเติม มีความเสี่ยงสูงมากที่อาการฟันผุจะยิ่งลุกลามไปมากกว่าเดิม เมื่อโพรงฟันผุลงลึกไปถึงโซนประสาทที่เป็นแหล่งรวมเส้นประสาท และหลอดเลือด อาจจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเสียวฟันได้ง่าย2 ในบางรายอาจมีปัญหาเรื่องปวดฟันรุนแรงได้ด้วยเช่นเดียวกัน
เมื่อฟันผุแล้ว แพทย์จะใช้การรักษาหลากหลายวิธีร่วมกัน ทั้งการกินยา และการทำหัตถการ เพื่อบรรเทาอาการปวด และหยุดยั้งไม่ให้เนื้อฟันถูกทำลายเพิ่ม ซึ่งอาจลุกลามไปเป็นโรคอื่นๆ ได้ เช่น โรคเหงือกอักเสบ โรคเบาหวาน ไปจนถึงโรคหัวใจ เป็นต้น6
การอุดฟันไม่ได้เป็นเพียงแค่การตกแต่งฟันเพื่อความสวยงามจากฟันกรามที่ผุผิดรูป หรือเพิ่มความสะดวกสบายในการเคี้ยวอาหารแต่เพียงเท่านั้น แต่การอุดฟันยังเป็นการป้องกันเหงือก และรากฟันจากการอักเสบที่เกิดจากการกัดกร่อนของแบคทีเรียได้4
การครอบฟันเป็นการนำโลหะล้วน หรือเซรามิกที่มีสีใกล้เคียงกับสีฟันเดิมนั้นมาครอบ เพื่อความสวยงามของซี่ฟัน และยังเป็นการปกป้องฟันจากความเสียหายที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกรณีฟันหน้าผุ ฟันแตก ฟันหัก หรือฟันบิ่น
การรักษารากฟันมีความใกล้เคียงกับการอุดฟัน เพียงแต่จะเป็นการดูแลลึกลงไปที่ระดับรากฟัน ทันตแพทย์จะกำจัดเนื้อเยื่อที่มีอาการอักเสบในพื้นที่รากฟัน พร้อมกับใส่ยาฆ่าเชื้อ และอุดคลองรากฟัน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการทำลายของเนื้อเยื่อฟันในระดับรากฟัน
การถอนฟัน ถือเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาฟันผุเช่นเดียวกัน แต่การถอนฟันนั้นจะเกิดขึ้นเมื่ออาการฟันผุของคนไข้มีอาการหนักมาก ทันตแพทย์จะทำการถอนฟัน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการผุกร่อนลึกลงไปในชั้นโพรงประสาทฟัน เพราะเมื่อมีฟันผุที่เนื้อเยื่อฟันถูกทำลายลึกไปถึงชั้นประสาท อาจจะทำให้คนไข้รู้สึกปวด ฟันบวม และรู้สึกทรมานจากการเคี้ยวอาหารได้
วิธีการดูแลฟันให้ดีคือการป้องกัน เพื่อลดจำนวนแบคทีเรีย และเชื้อโรค ที่สามารถทำลายเนื้อฟัน เป็นสาเหตุของฟันผุ โดยอาจป้องกันฟันผุได้ง่ายๆ ด้วยวิธีธรรมชาติอย่างการแปรงฟัน การเลือกใช้ยาสีฟันที่ช่วยปรับสมดุลจุลินทรีย์ในช่องปาก และการกินอาหารที่ช่วยเสริมความแข็งแรงของกระดูกและฟัน
ยาสีฟันที่มีโพรไบโอติก มีแบคทีเรียดีที่จะช่วยสร้างสมดุลไมโครไบโอมช่องปาก เนื่องจากหลายครั้งที่พบว่าผู้ป่วยที่มีอาการฟันผุมักมีเชื้อจุลินทรีย์ในช่องปากที่ไม่สมดุล ทำให้จุลินทรีย์ในน้ำลายลดลง จนเกิดเป็นปัญหาน้ำลายบูด ฟันผุ และมีกลิ่นปากหมักหมม
ซึ่งในปัจจุบันนี้ มียาสีฟันไม่กี่แบรนด์เท่านั้นที่มีการนำโพรไบโอติกมาใช้ในยาสีฟัน หนึ่งในนั้นคือ Glister White Tea ผสานพลังจากธรรมชาติ ทำความสะอาดล้ำลึก อ่อนโยน ให้ลมหายใจหอมสดชื่น
การแปรงฟัน เรียกได้ว่าเป็นเรื่องใกล้ตัว ที่หากทำได้ดี และทำได้ถูกต้องก็จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดฟันผุในช่องปากได้อย่างมีประสิทธิภาพเลยทีเดียว โดยการแปรงฟันในแต่ละพื้นที่ในปาก ควรใช้ระยะเวลาอย่างน้อย 2-3 นาที เพื่อให้มั่นใจได้ว่าสิ่งสกปรก และแบคทีเรียที่สะสมอยู่จะได้รับการทำความสะอาด โดยเฉพาะบริเวณฟันหน้า และฟันกรามที่มักจะมีปัญหาเรื่องของฟันผุ
การใช้ยาสีฟัน หรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของฟลูออไรด์ จะช่วยเคลือบฟัน และลดโอกาสในการเกิดฟันผุได้ถึง 28 เปอร์เซ็นต์ในฟันแท้3 เป็นวิธีการป้องกันฟันผุได้ด้วยตัวเองง่ายๆ ทำได้ทุกวัน
หนึ่งในประโยชน์ของการดื่มชาขาวที่หลายคนไม่รู้ก็คือ การลดโอกาสในการเกิดฟันผุได้ เนื่องจากในชาขาวนั้นมีสารสกัดอย่างฟลูออไรด์ (Fluoride) แทนนิน (Tannin) และแคเทซิน (Catechin) ที่จะช่วยลดการสะสมของเชื้อแบคทีเรีย ที่เป็นสาเหตุหลักของการเกิดปัญหาฟันผุ ทั้งยังช่วยทำให้เกิดความสมดุลของไมโครไบโอมที่ดี จัดการกับคราบพลัค และยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่ไม่ดีได้
การกินก็ช่วยในเรื่องฟันผุได้ โดยเฉพาะการเลือกกินอาหารประเภทแคลเซียม และฟอสฟอรัส ที่มักพบได้บ่อยในเต้าหู้ งา อาหารทะเล ไข่ หรือนม ช่วยทำให้ฟันแข็งแรง และห่างไกลจากปัญหาฟันผุได้ดี หรือจะเป็นกลุ่มอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ที่มีในผัก โฮลวีท และธัญพืชไม่ขัดสี ที่จะช่วยลดคราบหินปูน และลดโอกาสในการเกิดฟันผุได้ด้วย
อาการฟันผุ ควรรีบรักษาตั้งแต่มีอาหารแรกเริ่มที่ไม่รุนแรง เพราะถ้าปล่อยไว้นานๆ อาจทำให้เนื้อเยื่อในโพรงฟันอักเสบ อาจลุกลามไปยังปลายรากฟัน จนทำให้รากฟันอักเสบ ส่งผลให้เกิดหนองปลายรากฟัน ทั้งนี้ ยังเสี่ยงที่จะทำให้อวัยวะอื่นๆ เกิดการอักเสบตามมาได้เหมือนกัน เช่น บริเวณโพรงจมูก และตา5 เป็นต้น
ทันทีที่พบว่าตัวเองมีฟันผุนั้น ควรรีบปรึกษาทันตแพทย์เพื่อหาวิธีการรับมือ และดูแลอย่างถูกต้อง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาลุกลามในอนาคต เพราะปัญหา หรืออาการข้างเคียงที่จะตามมาหลังจากมีอาการฟันผุนั้น มีผลร้ายแรงถึงชีวิตได้เลย
วิธีการดูแลฟันให้ไกลจากปัญหาฟันผุสามารถทำได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการแปรงฟันให้สะอาด และถูกต้อง การเลือกกินอาหารที่ช่วยลดการสะสมของเชื้อแบคทีเรีย โดยเฉพาะชาขาว ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุหลักของฟันผุ รวมไปถึงการเลือกใช้ยาสีฟันที่นอกจากมีฟลูออไรด์เคลือบฟันแล้ว ยังจำเป็นต้องมีโพรไบโอติกเพื่อรักษาแบคทีเรียที่ดีให้มีความสมดุลในช่องปาก เพราะหากจุลินทรีย์ในน้ำลายลดลง จะทำให้เกิดน้ำลายบูด ปากเหม็น และฟันผุได้ง่าย
โพรไบโอติกในยาสีฟัน จะช่วยฟื้นฟูจำนวนแบคทีเรียโพรไบโอติกในช่องปาก ทำให้สุขภาพในช่องปากมีความสมดุล และส่งผลต่อสุขภาพฟันโดยตรง เนื่องจากกำจัดเชื้อแบคทีเรียที่ไม่ดี และลดโอกาสในการเกิดปัญหาฟันผุได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Reference
Phyathai. มีหินปูนอย่าปล่อยไว้ ควรให้ทันตแพทย์ดูแล. phyathai.com. Published 25 January 2022. Retrieved 6 July 2024
Yotsubadental. สาระน่ารู้ ฟันผุ. yotsubadental.jp. Published 27 June 2020. Retrieved 6 July 2024
Jdat. แนวทางการใช้ฟลูออไรด์ในทางทันตกรรม. jdat.org. Published 18 May 2024. Retrieved 6 July 2024
Petcharavejhospital. ป้องกันรากฟัน ด้วยการอุดฟัน. petcharavejhospital.com. Published 20 November 2021. Retrieved 6 July 2024
PAOLO. ฟันผุ ปล่อยไว้นาน เสี่ยงทะลุถึงโพรงประสาท. paolohospital.com. Published 19 May 2023. Retrieved 6 July 2024ทพญ. หัทยา ศิริสวย. ฟันผุ เสี่ยงโรคอะไรบ้าง. vichaiyut.com. Retrieved 31 July 2024