เริ่มต้นสุขภาพดี...
เริ่มด้วยสมดุล 'ไมโครไบโอม'
ปัจจุบันคนหันมาใส่ใจการดูแลสุขภาพในเชิงป้องกันมากขึ้นโดยเฉพาะการเริ่มต้นดูแลสุขภาพให้ดีจากการมีสุขภาพทางเดินอาหารที่ดีหรือการมี ‘ไมโครไบโอม’ (Microbiome) หรือ ‘ชีวนิเวศจุลชีพ’ ที่ดีนั่นเอง
‘ไมโครไบโอม’ คืออะไร
ไมโครไบโอมเป็นชุมชนที่ประกอบด้วยสิ่งมีชีวิต เช่น แบคทีเรีย และจุลินทรีย์อื่นๆ ภายในร่างกายของเราประกอบด้วยจุลินทรีย์หลายล้านล้านชนิดจากหลายสายพันธุ์ ประกอบไปด้วยชนิดที่มีประโยชน์และชนิดที่อาจก่อโรค แต่ในร่างกายที่แข็งแรง จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และทำให้เกิดโรคอยู่ร่วมกันได้โดยไม่มีปัญหา แต่หากมีการรบกวนสมดุลนั้น เช่น จากอาหารบางอย่าง หรือการใช้ยาปฏิชีวนะเป็นเวลานาน ก็อาจรบกวนสมดุลนี้ได้ ทำให้เกิดภาวะการเสียสมดุลของจุลินทรีย์ (Microbiome Dysbiosis) ส่งผลให้ร่างกายเสี่ยงต่อโรคภัยไข้เจ็บได้
ไมโครไบโอมช่วยเสริมสร้างสุขภาพที่ดี คลิกเลย
‘ไมโครไบโอม’ ส่งผลต่อร่างกายอย่างไรบ้าง
ไมโครไบโอมพบได้ในทุกส่วนของร่างกายมนุษย์ ตั้งแต่ผิวหนัง ลำไส้ ปาก จมูก และตา มีบทบาทสำคัญในการกำหนดสุขภาพของเรา โดยมีอิทธิพลต่อทั้งร่างกายโดยรวม ตั้งแต่ระบบภูมิคุ้มกันไปจนถึงสุขภาพจิตและความเครียดถึงแม้ว่าไมโครไบโอมจะสามารถพบได้ทั่วร่างกาย แต่ไมโครไบโอมพบได้มากที่สุดในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งเป็นแหล่งที่มีจำนวนชนิดและปริมาณเชื้อจุลินทรีย์เยอะที่สุด โดยจะร่วมมือกันช่วยย่อยอาหาร และผลิตสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย ซึ่งก็คือกรดไขมันสายสั้น (Short Chain Fatty Acid)
ประโยชน์ต่อร่างกายของกรดไขมันสายสั้น
(Short Chain Fatty Acid)
ไมโครไบโอมช่วยเสริมสร้างสุขภาพที่ดี
คลิกเลย
การจะมีสุขภาพทางเดินอาหารและ ‘ไมโครไบโอม’ ที่สมดุลทำได้อย่างไร
เลือกรับประทานอาหารที่มีผลโดยตรงต่อสมดุลไมโครไบโอมของเรา อาทิ
- รับประทานอาหารที่สมดุลครบ 5 หมู่
- เน้นผลไม้ ผัก ธัญพืชเต็มเมล็ด และอาหารหมักดองหลายชนิด เช่นกิมจิ โยเกิร์ต มีส่วนช่วยให้ชุมชนจุลินทรีย์มีความเป็นอยู่ที่ดีได้
- หลีกเลี่ยงอาหารที่ส่งผลเสียต่อ
ไมโครไบโอม เช่น อาหารแปรรูป อาหารที่มีปริมาณน้ำตาลสูง เป็นต้น
ปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์
- ความเครียดเรื้อรัง การนอนหลับไม่เพียงพอ และการขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอส่งผลต่อสมดุลของจุลินทรีย์
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโพรไบโอติก
- รับประทานอาหารเสริมหรืออาหารหมักดองได้ เพื่อให้ได้รับโพรไบโอติกหรือแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์โดยตรง
- อาจจะเสริมด้วยใยอาหารให้เพียงพอ เพื่อสนับสนุนสภาพแวดล้อมที่ดีให้กับจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์
การให้ความสำคัญของไมโครไบโอมที่ดีต่อสุขภาพจะเป็นการปูทางไปสู่การมีสุขภาพที่ดี ยกระดับความเป็นอยู่ ส่งเสริมการมีอายุยืนยาว มีสุขภาพและมีความเป็นอยู่ที่ดีได้
ไมโครไบโอมช่วยเสริมสร้างสุขภาพที่ดี
คลิกเลย
เอกสารอ้างอิง:
- Hsieh, M. H., & Versalovic, J. (2008). The Human Microbiome and Probiotics: Implications for Pediatrics. Current Problems in Pediatric and Adolescent Health Care, 38(10), 309–327. https://doi.org/10.1016/j.cppeds.2008.09.001
- Wen, L., & Duffy, A. (2017). Factors Influencing the Gut Microbiota, Inflammation, and Type 2 Diabetes. The Journal of Nutrition, 147(7), 1468S1475S. https://doi.org/10.3945/jn.116.240754
- Xiong, R.-G., Zhou, D.-D., Wu, S.-X., Huang, S.-Y., Saimaiti, A., Yang, Z.-J., Shang, A., Zhao, C.-N., Gan, R.-Y., & Li, H.-B. (2022). Health Benefits and Side Effects of Short-Chain Fatty Acids. Foods, 11(18), 2863. https://doi.org/10.3390/foods11182863
- Kho, Z. Y., & Lal, S. K. (2018). The Human Gut Microbiome – A Potential Controller of Wellness and Disease. Frontiers in Microbiology, 9. https://doi.org/10.3389/fmicb.2018.01835
- Services, D. of H. & H. (2023, March 23). Gut health. www.betterhealth.vic.gov.au. https://www.betterhealth.vic.g...
gut-health
- Sophie-Allan. (2022, August 4). 10 Ways to Strengthen Your Microbiome. Canadian Digestive Health Foundation. https://cdhf.ca/en/10-ways-to-strengthen-your-microbiome/
- ไมโครไบโอม : เสริมสร้างความงามด้วย “จุลชีพ” เทรนด์ใหม่ที่กำลังมาแรง. (n.d.). Plus.thairath.co.th. Retrieved January 14, 2024, from https://plus.thairath.co.th/topic/everydaylife/100811
- เผยผลสำรวจใหม่ “คนไทย” ใส่ใจสุขภาพเชิงป้องกันมากขึ้น. (2022, November 23). Posttoday. https://www.posttoday.com/lifestyle/687851