สถานการณ์โรคอ้วนของคนไทย
เหตุผลที่คนสนใจลดหรือควบคุมน้ำหนัก
ปัจจุบันสถานการณ์โรคอ้วนน่าเป็นห่วงขึ้นเรื่อยๆ ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขในปี 2566 ประชากร 1 ใน 2 ของคนไทยมีภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วน ซึ่ง 74% ของคนกลุ่มนี้ให้ความสนใจลดหรือควบคุมน้ำหนัก
ภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วนต้องแก้ไขที่สาเหตุที่แท้จริงเพื่อให้ลดหรือควบคุมน้ำหนักได้อย่างยั่งยืน ดังนั้น ทุกท่านควรเข้าใจว่าความอ้วนเกิดจากอะไรบ้าง พร้อมทั้งต้องเข้าใจถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อเพิ่มความสมดุลให้กับร่างกายโดยรวม
สาเหตุของความอ้วน
ปัจจัยหลากหลายอย่างที่ก่อให้เกิดภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วน เช่น พันธุกรรม ความสมดุลของลำไส้ และพฤติกรรมในการดำเนินชีวิต ได้แก่การรับประทานอาหาร กิจกรรม การนอน ความเครียด ทัศนคติและการดื่มน้ำ
ดังนั้น เราจึงควรปรับพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตเพื่อความสมดุลของร่างกาย ซึ่งแบ่งเป็น 6 พฤติกรรมหลัก และ 1 กุญแจสำคัญที่ช่วยในการลดหรือควบคุมน้ำหนักได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
โภชนาการ หัวใจของการลดน้ำหนักหรือลดไขมัน คือการรับประทานอาหาร โดยเราควรจะรับประทานให้น้อยกว่าที่เราใช้ เรียกว่าหลักการ Calorie Deficit แต่หลายคนมีปัญหาในการนับแคลอรี ทำให้รับประทานมากเกินความจำเป็น
วิธีแก้ไข : การนับแคลอรีเพื่อทำ Calorie Deficit เป็นสิ่งจำเป็น แต่หากมีความเข้มงวดเกินไปอาจจะทำให้เกิดความเครียดไม่รู้ตัว ซึ่งคุณสามารถเลือกรับประทานอาหาร โดยใช้หลักการ 2 : 1 : 1 คือในจานอาหารแบ่งเป็น ผัก 2 ส่วน แป้ง 1 ส่วน และโปรตีน 1 ส่วนโดยเน้นอาหารที่ผ่านการปรุงน้อยที่สุดเพื่อควบคุมแคลอรีและสามารถทำได้ในระยะยาว
กิจกรรม การออกกำลังกายเป็นวิธีการเผาผลาญแคลอรีที่มีอยู่ในร่างกาย แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสมรรถภาพทางกายที่แตกต่างกัน ที่จะส่งผลกับระยะเวลาที่ออกกำลังกาย หรือความเข้มข้นในการออกกำลังกาย
วิธีแก้ไข : การออกกำลังกายที่ดีและมีประสิทธิภาพ ควรออกกำลังกาย 150 - 300 นาทีต่อสัปดาห์ ในระดับความเข้มข้นปาน-กลาง โดยเลือกกิจกรรมที่ทำได้เป็นประจำอย่างต่อเนื่อง เช่น การเดินวันละ 8,000 -10,000 ก้าว หรือการยืดเหยียด ในทุกวัน
การนอน การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอส่งผลกระทบต่อร่างกาย ทำให้รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีพลังงาน และยังส่งกระทบต่อฮอร์โมนที่มีผลต่อความอยากอาหาร ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการลดน้ำหนักโดยตรง
วิธีแก้ไข : การนอนหลับที่ดีควรนอนประมาณ 7-9 ชั่วโมงต่อวัน หากนอนไม่พอจะรู้สึกเหนื่อยล้าและอ่อนเพลียระหว่างวัน แต่หากนอนเพียงพอแล้วยังรู้สึกเหนื่อยล้าและอ่อนเพลียต้องปรับปรุงคุณภาพในการนอนให้ดีขึ้น โดยปรับสิ่งแวดล้อมในการนอน อาทิ อุณหภูมิและความมืด
ความเครียด เมื่อเกิดความเครียดร่างกายจะปล่อยฮอร์โมนคอร์ติซอลออกมา ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มีผลกระทบกับการลดน้ำหนัก ในการลดหรือควบคุมน้ำหนัก การควบคุมความเครียดจึงมีความสำคัญ
วิธีแก้ไข : ความเครียดเกิดจากสภาวะกดดัน หรือความเครียดโดยไม่รู้ตัวที่เกิดจากการทำกิจกรรมต่อเนื่องเป็นเวลานาน คุณควรฝึกการหายใจ ลุกเดินออกกำลังกาย หรือยืดเหยียดร่างกาย เพื่อเป็นการผ่อนคลายร่างกายและจิตใจจากความเครียดที่เกิดขึ้น
ทัศนคติ ทัศนคติเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง การมีทัศนคติเชิงลบ หรือ Negative Mindset จะส่งผลให้คุณลดน้ำหนักไม่ถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้
วิธีแก้ไข : ในการลดน้ำหนักหรือลดความอ้วน การมี Growth Mindset หรือการคิดในแง่บวกเชื่อว่าคุณสามารถทำได้ ส่งผลให้คุณลดน้ำหนักได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
การดื่มน้ำ น้ำเป็นสิ่งสำคัญต่อร่างกาย หากดื่มน้ำไม่เพียงพอจะทำให้เกิดโรคต่างๆตามมา เพราะร่างกายต้องดึงน้ำจากส่วนต่างๆ มาใช้เพื่อให้อวัยวะภายในยังทำงานได้อย่างปกติ ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาต่อร่างกายมากมาย เช่น ผิวพรรณหยาบกร้าน เลือดข้น ความดันสูง การเป็นตะคริว ไมโครไบโอมไม่สมดุล อ้วนง่าย และอื่นๆ อีกมากมาย
วิธีแก้ไข : การดื่มน้ำที่มีคุณภาพให้เพียงพอคือปริมาณ 2 ลิตร หรือ 6-8 แก้วต่อวัน จะช่วยลดความข้นหนืดของเลือด ช่วยชะล้างสิ่งตกค้างในลำไส้ ทำให้ผิวพรรณชุ่มชื้น เพิ่มสมดุลของไมครไบโอม ลดความอยากอาหาร และช่วยให้ระบบของร่างกายทำงานได้เป็นไปตามปกติ
กุญแจสำคัญ คือสุขภาพลำไส้
การมีจุลินทรีย์ในลำไส้ไม่สมดุลก่อให้เกิดผลกระทบโดยตรงกับการลด หรือควบคุมน้ำหนัก และยังส่งผลถึงสุขภาพร่างกายด้านอื่นๆ อาทิ อารมณ์แปรปรวนและโรคผิวหนังต่างๆ
วิธีแก้ไข : รับประทานอาหารที่มีกากใยเพื่อเป็นอาหารให้จุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้เจริญเติบโต พร้อมทั้งรับประทานอาหารจำพวกหมักดองที่มีประโยชน์ เช่น นัตโตะ กิมจิ และโยเกิร์ต นอกจากนี้สามารถเสริมด้วยโพรไบโอติก
เมื่อคุณมีภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วน ผลที่ตามมานอกจากน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นคือไขมัน ซึ่งการลดไขมันทำได้ไม่ยากหากคุณเข้าใจวิธีการการลดน้ำหนักแบบสุขภาพดีและยั่งยืน
เป้าหมาย | ลดน้ำหนักตัวได้อย่างรวดเร็ว | ลดไขมันและคงมวลกล้ามเนื้อ |
วิธีการ | การลดแคลอรีลงอย่างมาก | อาหารสมดุลและลดแคลอรีแบบพอเหมาะ |
กล้ามเนื้อกับไขมัน | สูญเสียทั้งกล้ามเนื้อและไขมัน | คงมวลกล้ามเนื้อ เผาผลาญไขมัน |
ความยั่งยืน | ไม่ยั่งยืน เสี่ยงต่อน้ำหนักกลับมาเพิ่ม | ลดแบบค่อยเป็นค่อยไป ส่งผลดีในระยะยาว |
ประโยชน์ต่อสุขภาพ | มีข้อจำกัดด้านสุขภาพ | เพิ่มการเผาผลาญโดยรวม เป็นผลดีต่อสุขภาพโดยรวมและอารมณ์ |
การออกกำลังกาย | ออกกำลังกายน้อยมาก | ออกกำลังกายเพื่อรักษากล้ามเนื้อ และเพิ่มการเผาผลาญ |
ตัวชี้วัดความสำเร็จ | เน้นที่น้ำหนักลด | เน้นการลดน้ำหนักและไขมัน |
คือการลดไขมัน ซึ่งหมายถึงไขมันที่สะสมใต้ผิวหนังและไขมันที่ช่องท้อง
ไขมันในร่างกาย
ไขมันใต้ผิวหนัง (Subcutaneous Fat)
คือไขมันที่สะสมอยู่ใต้ชั้นผิวหนัง สามารถมองเห็นและสัมผัสได้ เช่น บริเวณหน้าท้อง สะโพก ต้นแขน และต้นขา เป็นไขมันที่ร่างกายสะสมไว้เพื่อใช้เป็นพลังงานสำรองและเพื่อช่วยควบคุมอุณหภูมิร่างกาย
อันตรายต่อสุขภาพ
แม้ไขมันใต้ผิวหนังจะไม่ส่งผลต่ออวัยวะภายในโดยตรง แต่หากมีปริมาณมากเกินไปอาจส่งผลต่อรูปร่างและน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาด้านสุขภาพอื่นๆ เช่น ข้อเข่าเสื่อมหรือความเสี่ยงต่อโรคเมตาบอลิก
ไขมันช่องท้อง (Visceral Fat)
คือไขมันที่สะสมรอบอวัยวะภายใน เช่น ตับ ตับอ่อน และลำไส้ ซึ่งไม่สามารถมองเห็นหรือสัมผัสได้จากภายนอก มักเกี่ยวข้องกับลักษณะรูปร่าง "อ้วนลงพุง" ไขมันประเภทนี้ลดได้ยากหากไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเหมาะสม
อันตรายต่อสุขภาพ
ไขมันช่องท้องเป็นไขมันที่อันตรายที่สุด เพราะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการทำงานของอวัยวะภายในและระบบเผาผลาญ เช่น เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด ส่งผลให้เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน และกระตุ้นการอักเสบเรื้อรังในร่างกาย
คุณสามารถลดไขมันตัวร้ายทั้ง 2 ประเภทนี้ด้วยการปรับพฤติกรรมต่างๆ และอีกตัวช่วยสำคัญที่จะเข้ามามีบทบาทในการช่วยลดไขมันต่างๆ คือ สารจากธรรมชาติ เช่น ฟูโคแซนทินจากสาหร่ายสีน้ำตาล, สารสกัด EGCG จากชาเขียว และโพสไบโอติก สายพันธุ์ HT-BPL1 ซึ่งสารเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการลดไขมันและส่งเสริมสุขภาพโดยรวม
โปรแกรมเริ่มด้วย ผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหาร ที่มีโปรตีนสูงถึง 17 กรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค แต่การเสริม โปรตีนพืช เพิ่มอีก 8 กรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภคจะช่วยเพิ่มปริมาณโปรตีนรวมเป็น 25 กรัมต่อมื้ออาหาร ซึ่งช่วยยืดระยะเวลาความอิ่มและลดความหิว รวมถึงช่วยเพิ่มอัตราการเผาผลาญแคลอรีและป้องกันการสูญเสียกล้ามเนื้อระหว่างการจำกัดแคลอรี
ในขณะที่การเติม โพรไบโอติก จุลินทรีย์ที่ดีให้แก่ร่างกาย มีประโยชน์หลากหลาย เช่น ปรับสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้เพื่อรักษาพลังงานและลดการอักเสบในไขมัน, เสริมความแข็งแรงของผนังลำไส้, เพิ่มฮอร์โมนความอิ่ม ช่วยควบคุมความอยากอาหารได้ดีขึ้น การมีไมโครไบโอมที่สมดุลเป็นหัวใจสำคัญในการลดน้ำหนักแบบสุขภาพดี
ระหว่างที่กำลังควบคุมแคลอรีอาจประสบปัญหาด้าน ความอ่อนเพลีย ความเหน็ดเหนื่อย ไม่มีพลังงาน ที่เกิดจากการขาดวิตามินหรือเกลือแร่ต่างๆ ที่ร่างกายต้องการ จึงควรเสริมด้วย วิตามินและแร่ธาตุรวมที่ช่วยเสริมสารอาหารที่จำเป็น สนับสนุนกระบวนการเผาผลาญและเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน
และขาดไม่ได้ตัวช่วยสลายไขมันจาก สารสกัดจากสาหร่ายสีน้ำตาล และ สารสกัดจากชาเขียว (EGCG) ที่จะช่วยกระตุ้นกระบวนการสร้างพลังงานความร้อนในร่างกายและสลายไขมัน เสริมกับ โพสไบโอติก สายพันธุ์ HT-BPL1 ทำหน้าที่ส่งสัญญาณให้ร่างกายลดไขมันช่องท้องและลดรอบเอว เมื่อทำงานร่วมกันช่วยให้คุณลดไขมันพร้อมกับลดน้ำหนักได้แบบสุขภาพดีและยั่งยืน