19 AUG 2024 บทความผลิตภัณฑ์ 3 นาทีในการอ่าน 1365 VIEWS 73 แชร์

สมดุลลำไส้มีผลต่อน้ำหนักตัวจริงหรือ? | นิตยสารอะชีฟ ฉบับกันยายน 2567

สมดุลลำไส้

มีผลต่อน้ำหนักตัวจริงหรือ?

บทความโดยพญ. ภัทรลดา ฤทธิวงศ์ (หมอไอซ์)
แพทย์เวชศาสตร์ป้องกันและชะลอวัย

ผลลัพธ์ของสมดุลลำไส้ต่อน้ำหนักตัว จากงานวิจัยในหนูทดลองแฝดอ้วนและแฝดผอม

Health_2024_sep_p29_p1.png

Gut Health หรือ สุขภาพลำไส้ ไม่เพียงแต่ส่งผลต่อเรื่องของการย่อยอาหาร การขับถ่าย แต่ปัจจุบันมีงานวิจัยและการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมถึงความเกี่ยวข้องของสุขภาพลำไส้ที่ดีส่งผลต่อการลดน้ำหนักอย่างมีประสิทธิภาพ หลายคนอาจจะเคยประสบปัญหาในการลดน้ำหนัก อาจมีปัจจัยหนึ่งที่อาจจะลืมแต่มีความสำคัญไม่น้อยกว่าการปรับพฤติกรรม ปัจจัยดังกล่าวคือ สมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้

Health_2024_sep_p29_body1.png

จากการศึกษาเรื่องสมดุลจุลินทรีย์ส่งผลต่อการควบคุมน้ำหนักในปี 2013 ได้ทำการศึกษาในหนูทดลอง 2 กลุ่ม โดยมีการเก็บตัวอย่างอุจจาระจากฝาแฝด 4 คู่ ซึ่งมีน้ำหนักตัวแตกต่างกัน คือตัวหนึ่งอ้วนอีกตัวหนึ่งผอม

นักวิทยาศาสตร์ทำการปลูกถ่ายจุลินทรีย์จากอุจจาระของอาสาสมัครฝาแฝดให้กับหนูทดลอง จากนั้นให้อาหารที่มีไขมันสูง ไฟเบอร์ต่ำในระยะเวลาหนึ่ง ผลคือหนูทดลองที่ได้รับจุลินทรีย์จากแฝดที่อ้วนมีแนวโน้มที่จะน้ำหนักเพิ่มขึ้นและมีการเผาผลาญคล้ายกับคนอ้วน ในขณะที่หนูที่ได้รับจุลินทรีย์จากแฝดที่ผอมมีน้ำหนักคงที่และมีการเผาผลาญที่ดี


3 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการลดน้ำหนัก

Health_2024_sep_p29_no1.png 1.สุขภาพลำไส้ (Gut Health)

ลำไส้เป็นที่อยู่ของจุลินทรีย์จำนวนมาก ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการย่อยอาหาร ดูดซึมและผลิตสารสำคัญที่มีผลต่อการสร้างพลังงานระดับเซลล์รวมถึงการเผาผลาญ สมดุลฮอร์โมน การจัดการสารอักเสบในร่างกาย โดยปกติบริเวณผนังลำไส้ (Gut Barrier) ทำหน้าที่ในการดูดซึมสารอาหารที่เป็นประโยชน์ พร้อมขับของเสียและสารพิษ

ซึ่งหากลำไส้เสียสมดุลทำให้เกิดภาวะ Leaky Gut (ภาวะลำไส้รั่ว) ซึ่งเกิดจากการมีช่องว่างเล็กๆ ระหว่างเซลล์เยี่อบุลำไส้มากขึ้น ช่องว่างที่เกิดขึ้นจะทำให้สารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแบคทีเรีย สารพิษ หรือแม้กระทั่งโมเลกุลของอาหารที่ย่อยไม่สมบูรณ์จะผ่านเข้ากระแสเลือดได้ ผลที่ตามมามักสัมพันธ์กับปัญหาสุขภาพต่างๆ เช่น การอักเสบเรื้อรัง ปัญหาโรคผิวหนังเรื้อรัง เบาหวานชนิดที่ 2 รวมถึงการลดน้ำหนักได้ยาก

Health_2024_sep_p29_2p1.png

สาเหตุของลำไส้รั่วมักเกิดจากการอักเสบเรื้อรัง, อาหารที่รับประทาน, สารเคมี, สารพิษ, ความเครียด, ยา และการเสียสมดุลจุลินทรีย์ ดังนั้นเมื่อต้องการลดน้ำหนักจึงต้องจัดการการอักเสบเรื้อรัง สร้างสมดุลจุลินทรีย์ และลดภาวะลำไส้รั่ว ซึ่งจะส่งผลให้สุขภาพด้านอื่นๆ ดีขึ้นด้วย

นอกจากนี้จุลินทรีย์ในลำไส้จะสร้างสารจากการหมักกากใยอาหารที่เรารับประทานเข้าไป เรียกว่า Short Chain Fatty Acid (SCFA) หรือ โพสไบโอติก ซึ่งเป็นสารกลุ่มบิวเทรต(Butyrate), เปปไทด์, อะซีเตต ซึ่งมีประโยชน์ต่อการสร้างสมดุลลำไส้ และการลดน้ำหนัก

Health_2024_sep_p29_2p2.png

Health_2024_sep_p29_no2.png 2.ไขมันในช่องท้อง (Visceral Fat)

Health_2024_sep_p29_3p1.png

ไขมันที่สะสมภายในช่องท้องจะปล่อยกรดไขมันอิสระและสารแห่งการอักเสบเข้าสู่ร่างกาย ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคเมตาบอลิก เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และยังเป็นตัวบ่งชี้ว่าร่างกายมีการอักเสบเรื้อรัง ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ส่งผลต่อการลดน้ำหนักโดยเฉพาะในการจัดการกับไขมันในช่องท้อง

จุลินทรีย์ในลำไส้มีบทบาทสำคัญในการทำงานและเผาผลาญไขมันในช่องท้อง


Health_2024_sep_p29_no3.png 3.สมอง

Health_2024_sep_p29_3p2.png

สมองมีการสื่อสารกับลำไส้ทั้งทางตรงและทางอ้อม นอกจากเรื่องทัศนคติเชิงบวกที่ช่วยในการลดน้ำหนักแล้ว ความเครียดก็ส่งผลต่อฮอร์โมน การควบคุมน้ำตาลในเลือด ทำให้เกิดการสะสมไขมัน และรบกวนการนอน

Health_2024_sep_p29_3p3.png

สรุปได้ว่า นอกจากการปรับพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่นการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การควบคุมความเครียด การใช้ยาหรือสารเคมี หรือการรับสารพิษรอบๆ ตัว สิ่งแวดล้อม สภาพอากาศ รวมไปถึงสมดุลฮอร์โมนของร่างกายนั้น มีผลต่อสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ทั้งสิ้น ควรปรับพฤติกรรมพร้อมกับการดูแลสุขภาพลำไส้ จะช่วยส่งเสริมจุลินทรีย์ให้สมดุลและทำให้สุขภาพแข็งแรงอย่างยั่งยืน

ประโยชน์ที่เกี่ยวข้องในบทความ   คลิกเลย

ไขมันช่องท้อง (Visceral Fat)

ความอันตรายที่คุณมองไม่เห็น

ไม่ว่าจะมีรูปร่างอ้วนหรือผอม ก็มีโอกาสที่จะมีไขมันช่องท้องสะสมอยู่ได้และมีอันตรายมากกว่าที่คุณคิด เพราะไขมันช่องท้อง หรือ (Visceral Fat) จะถูกสะสมในช่องท้องรอบๆ อวัยวะภายในที่สำคัญ เช่น ตับ ลำไส้ ตับอ่อน ซึ่งไม่เหมือนไขมันใต้ชั้นผิว(Subcutaneous Fat) ที่อยู่ตามต้นแขน ต้นขา ที่เราสามารถเห็นได้จากภายนอก

ไขมันช่องท้อง เป็นปัจจัยหลักของหลายโรคเรื้อรัง อาทิ

Health_2024_sep_p32_p1.png

เพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด

Health_2024_sep_p32_p2.png

เพิ่มอัตราการดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน ทำให้เสี่ยงต่อโรคเบาหวานชนิดที่ 2

Health_2024_sep_p32_p3.png

ลดน้ำหนักได้ยากขึ้น

Health_2024_sep_p32_p4.png

เกิดการอักเสบเรื้อรัง ซึ่งส่งผลให้เกิดโรคเมตาบอลิกและเกิดการสะสมของไขมันช่องท้องเพิ่มขึ้น

ไขมันช่องท้อง ส่งผลอย่างไรต่อร่างกาย

  • เพิ่มการอักเสบเรื้อรัง เนื่องจากไขมันสะสมช่องท้องนี้จะสะสมและกักเก็บสารพิษจากสิ่งแวดล้อม ต่อจากนั้นจะไปรบกวนกระบวนการสะสมสารพิษและการขับสารพิษจากร่างกาย ทำให้ร่างกายเราสะสมสารพิษมากขึ้นนำไปสู่ การอักเสบเรื้อรังและการทำงานของร่างกายโดยรวม ซึ่งส่งผลต่อความเสื่อมและโรคอื่นๆ ตามมา เช่น เบาหวานชนิดที่ 2 โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคมะเร็ง
  • ไขมันสะสมในช่องท้องจะไปรบกวนสมดุลของฮอร์โมน โดยเฉพาะฮอร์โมนอินซูลินซึ่งมีหน้าที่หลักในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด การสะสมไขมัน และการเผาผลาญไขมัน ก่อให้เกิดภาวะการดื้อต่ออินซูลิน ส่งผลให้ เกิดโรคเมตาบอลิกตามมา
  • จุลินทรีย์ในลำไส้เสียสมดุล (Dysbiosis) ซึ่งส่งผลให้เกิดการอักเสบเรื้อรังและเพิ่มการสะสมไขมันในช่องท้อง ดังนั้น การดูแลสุขภาพลำไส้จึงเป็นการดูแลไขมันช่องท้องแบบครอบคลุม

รู้หรือไม่: พฤติกรรมสุขภาพบางอย่าง เช่น สูบบุหรี่ ไม่ออกกำลังกาย ความเครียดสะสม นอนหลับไม่มีประสิทธิภาพ การรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม หรือขาดสารอาหารบางอย่าง จะเพิ่มการอักเสบภายใน


ดูแลตัวเองอย่างไร?

เพื่อป้องกันการเกิดไขมันช่องท้อง

พฤติกรรมของคนไทยมีโอกาสที่จะเกิดไขมันในช่องท้องมาก เนื่องจากอาหารมักมีส่วนผสมของน้ำตาล รับประทานอาหารแปรรูปมากขึ้น มีความเร่งรีบ ความเครียด ขาดการออกกำลังกาย ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ส่งผลอย่างมากในการเพิ่มการอักเสบ เสียสมดุลจุลินทรีย์ และ นำมาสู่การเกิดไขมันช่องท้อง ในปัจจุบันยังไม่มียารักษาเฉพาะสำหรับการลดไขมันช่องท้อง การดูแลและป้องกันแบบองค์รวมคือ การปรับพฤติกรรมในการใช้ชีวิต ได้รับสารอาหารที่เหมาะสม และดูแลสุขภาพลำไส้ จะช่วยป้องกันสาเหตุของการเกิดและ เป็นดูแลแบบยั่งยืนที่สุด

Health_2024_sep_p32_s1.png

1. ปรับสมดุลจุลินทรีย์ โดยเพิ่มอาหารที่หลากหลาย ผักและ ผลไม้หลากสีจะช่วยเพิ่มความหลากหลายของจุลินทรีย์ เพราะว่าการเพิ่มจุลินทรีย์ดี (Probiotic) และอาหารของจุลินทรีย์ ดี (Prebiotic) จะช่วยให้จุลินทรีย์ที่ดีเติบโต ส่งผลต่อการ ลดไขมันช่องท้อง นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ในการช่วยลด กระบวนการสร้างการอักเสบในร่างกาย

Health_2024_sep_p32_s2.png

2. ปรับอาหาร ควรเลี่ยงน้ำตาล สารให้ความหวาน และ ไขมันที่ทำให้เกิดการอักเสบ ควรเพิ่มไขมันชนิดดี เช่น อะโวคาโด หรือน้ำมันมะกอก เสริมด้วยอาหารที่ช่วยเสริมจุลินทรีย์ดีในลำไส้ เช่น กระเทียม หัวหอม หน่อไม้ฝรั่ง

Health_2024_sep_p32_s3.png

3 เสริมด้วยโพสไบโอติก เนื่องจากปัจจุบันมีการศึกษาเรื่องของโพสไบโอติกสายพันธุ์ต่างๆ ที่ช่วยให้ลดไขมันช่องท้องได้ และพบว่าจุลินทรีย์โพสไบโอติก (จุลินทรีย์ไม่มีชีวิต) HTBPL-1 ช่วยลดไขมันสะสมช่องท้องและรอบเอวได้อย่างมีนัยสำคัญ