บทความโดย: ศ.ดร.สิริชัย อดิศักดิ์วัฒนา
อาจารย์ประจําภาควิชาโภชนาการและการกําหนดอาหาร คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ไฟโตนิวเทรียนท์ในผักและผลไม้ กับจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร
การรักษาสุขภาพทางเดินอาหาร หรือ Gut Health ของเราทำได้ไม่ยาก หากเราปฎิบัติตามหลักการพื้นฐานโภชนาการโดยการรับประทานผักและผลไม้ให้มีความหลากหลายสี หลีกเลี่ยงการบริโภคผลไม้ที่มีน้ำตาลสูง และควรบริโภคผักและผลไม้ปริมาณ 400 กรัม หรือ 5 ส่วนต่อวัน เนื่องจากผักและผลไม้เหล่านี้อุดมไปด้วยใยอาหาร (Dietary Fibers) และไฟโตนิวเทรียนท์ (Phytonutrients)
ซึ่งไฟโตนิวเทรียนท์ทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ลดระดับอนุมูลอิสระที่ส่งผลต่อการทำงานผิดปกติ ช่วยเสริมการดำรงชีวิตของจุลินทรีย์ดีที่มีประโยชน์ในลำไส้ รวมถึงช่วยรักษาและปรับสมดุลของระบบนิเวศจุลินทรีย์ภายในทางเดินอาหารให้เหมาะสมและทำงานได้ปกติ
ดังนั้นการบริโภคผักและผลไม้ถือเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญสำหรับการสร้างและรักษาสุขภาพทางเดินอาหารของร่างกาย เพื่อให้ร่างกายโดยรวมมีสุขภาวะที่ดี
ความสำคัญของผักและผลไม้ต่อจุลินทรีย์ในลำไส้
การบริโภคผักและผลไม้หลากหลายสี สามารถเสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการเจริญของจุลินทรีย์ที่ดีและมีประโยชน์ต่อร่างกายของเราได้ มีงานวิจัย ที่ยืนยันว่าการบริโภคกล้วย ซึ่งมีคุณสมบัติ ในการเป็นพรีไบโอติก (Prebiotics) สามารถส่งเสริมกระบวนการหมักและเพิ่มการเจริญของโพรไบโอติก (Probiotics) ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่ดีมีประโยชน์ต่อร่างกาย | |
ใยอาหารที่ได้จากการบริโภคผลไม้ อาทิ กีวีและกล้วยยังช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของโพรไบโอติก และช่วยลดจำนวนจุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อโรค และยังมีบทบาทในการปรับสมดุลของจุลินทรีย์ชนิดดีภายในลำไส้ใหญ่ นอกจากนี้ใยอาหารจากกีวียังช่วยสังเคราะห์กรดไขมันสายสั้นที่มีประโยชน์ต่อกระบวนการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเซลล์เยื่อบุลำไส | |
การบริโภคผักต่างๆ เช่น เซเลอรี่ เคล แคร์รอต และฟักทอง ก็มีบทบาทสำคัญในการเพิ่มความหลากหลาย และสนับสนุนการเจริญของจุลินทรีย์ชนิดดี การบริโภคผักเหล่านี้ช่วยกระตุ้นการผลิตชั้นเยื่อเมือก (Mucus - layer) ซึ่งเป็นกำแพงป้องกันเชื้อก่อโรค ที่เกาะกับผนังเซลล์ของลำไส้ใหญ่ นอกจากนี้การบริโภคผักยังช่วยลดความเสี่ยงการเกิดการอักเสบในลำไส้ใหญ่ที่อาจนำไปสู่การเกิดโรคในระบบทางเดินอาหาร |
ประโยชน์ที่เกี่ยวข้องในบทความ คลิกเลย
บทความโดย: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐธิดา โชติช่วง
อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีทางอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ในปัจจุบันงานวิจัยต่างๆ พบว่า ผักและผลไม้บางอย่างเมื่อรับประทานคู่กัน จะช่วยส่งเสริมการทำงานซึ่งกันและกัน ส่งผลให้ร่างกายสามารถนำสารอาหารต่างๆ ไปช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบทางเดินอาหาร และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ดียิ่งขึ้น เรียกว่า “Food Synergy”
ขมิ้น และ พริกไทยดำ
ขมิ้นมีสารเคอร์คูมิน มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และลดการอักเสบของระบบทางเดินอาหาร แต่ร่างกายสามารถดูดซึมเคอร์คูมินได้น้อย จากงานวิจัยพบว่าสารพิเพอรีนในพริกไทยดำช่วยในการดูดซึมและยับยั้งการสลายของเคอร์คูมิน และยังช่วยส่งเสริมฤทธิ์การทำงานได้ถึง 1,000 เท่า
มะเขือเทศ แคร์รอต และไขมัน
มะเขือเทศมีสารไลโคปีน และแคร์รอต มีสารเบต้าแคโรทีน ซึ่งมีคุณสมบัติในการต้านอมุมูลอิสระ และเมื่อใช้ทั้งสองตัวร่วมกันจะช่วยส่งเสริมฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระมากยิ่งขึ้น ซึ่งสารทั้งสองตัวนี้ละลายได้ดีในไขมัน ดังนั้นควรรับประทานร่วมกับน้ำมันหรือไขมันเพื่อช่วยในการดูดซึมสารทั้งสองตัวนี้เข้าสู่ร่างกายได้ดียิ่งขึ้น
บลูเบอร์รี กล้วยและโยเกิร์ต
บลูเบอร์รีมีสารแอนโทไซยานิน และกล้วยมีใยอาหารที่มีคุณสมบัติเป็นพรีไบโอติกซึ่งสารอาหารทั้งสองชนิดสามารถช่วยเพิ่มจำนวนและส่งเสริมการทำงานของจุลินทรีย์ชนิดดีที่ได้จากโยเกิร์ต ได้แก่ กลุ่ม Bifidobacterium และ Lactobacillus
ขึ้นฉ่ายฝรั่ง และคะน้า
จากงานวิจัยพบว่า การรับประทานขึ้นฉ่ายฝรั่งและคะน้าร่วมกัน สามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไลเปสจากตับอ่อน (Pancreatine Lipase) ซึ่งอาจส่งผลให้ร่างกายดูดซึมไขมันได้ลดลงเหมาะกับผู้ที่ต้องการควบคุมไขมันหรือควบคุมน้ำหนัก
เคล และ มะนาว
เคล เป็นผักที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์หลายชนิด โดยเฉพาะธาตุเหล็ก โดยร่างกายดูดซึมได้ค่อนข้างยาก ซึ่งวิตามินซีที่พบได้ใน มะนาว สามารถช่วยเพิ่มการดูดซึมธาตุเหล็กเหล่านี้ได้ ดังนั้นการรับประทานเคลควรรับประทานควบคู่กับมะนาวเพื่อให้ร่างกายได้รับประโยชน์จากสารอาหารได้อย่างเต็มที่
จะเห็นได้ว่าการผสมผสานของผักผลไม้ โดยใช้หลักการของ Food Synergy จะช่วย ส่งเสริมการเจริญต่อจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้ และส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมให้ดีขึ้น แอมเวย์จึงขอนำเสนอ Happy Gut by Amway Cafe เครื่องดื่มเมนูใหม่ที่นำผักผลไม้หลากสี (ไฟโตนิวเทรียนท์) มาผสมผสานโดยยึดหลักการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดต่อลำไส้ของคุณ |
คลิกเพื่อดูข้อมูลอ้างอิงเพิ่มเติม |