ด้วยโปรตีน
รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน - ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการ
ร่างกายคนเราประกอบขึ้นจากโมเลกุลต่างๆ โดยมีโมเลกุลพื้นฐาน คือ “กรดอะมิโน” (Amino Acids) ซึ่งเป็นหน่วยย่อยของโปรตีน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
กรดอะมิโนจำเป็น
(Indispensable Amino Acid)
ที่ร่างกายสังเคราะห์ไม่ได้
8 - 9 ชนิด
กรดอะมิโนไม่จำเป็น
(Dispensable Amino Acid)
ที่ร่างกายสังเคราะห์ได้
11 - 12 ชนิด
กรดอะมิโนทำหน้าที่เป็นทั้งโมเลกุลโครงสร้างและทำงานในร่างกาย ซึ่งพบได้ทั่วไปในกล้ามเนื้อ กระดูก ผิวหนัง ผม และอวัยวะต่างๆรวมถึงการขนส่งสารอาหารและออกซิเจนในเลือด และเอนไซม์ที่ทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาต่างๆ ในร่างกาย
รู้หรือไม่? ร่างกายสลายและขับโปรตีนในรูปแบบต่างๆ ทุกวัน เช่น
การหลุดร่วงของเส้นผม |
การสลายเม็ดเลือดแดง |
การหลุดลอกของเซลล์ |
รวมถึงเอนไซม์ ฮอร์โมน |
เซลล์ผิวหนังที่ตายลง |
ร่างกายจึงต้องได้รับกรดอะมิโนจำเป็นครบถ้วนจากอาหารทุกวันเพื่อรักษาสมดุลโปรตีน หากได้รับโปรตีนไม่เพียงพอ รางกายจำเป็นต้องเสาะหากรดอะมิโนจำเป็นทดแทนจากภายใน เช่น จากการสลายกล้ามเนื้อ ซึ่งอาจส่งผลร้ายต่างๆ ตามมาได้
Protein B.E.S.T. ดูแลครบ จบเรื่องโปรตีน +
คลิกเลย
โปรตีน B E S T ต่อสุขภาพ
อาหารเช้าคือมื้อสำคัญที่สุดของวัน เนื่องจากเป็นมื้อแรกหลังจากที่ร่างกายอยู่ในสภาวะขาดอาหารเป็นเวลา 10 - 12 ชั่วโมง ในทางโภชนาการยุคใหม่ การเริ่มต้นวันด้วยคาร์โบไฮเดรตปริมาณมากจะกระตุ้นการหลั่งสารเซโรโทนิน (Serotonin) ที่ทำให้รู้สึกสงบ ขณะที่โปรตีนจะไปกระตุ้นให้เกิดการหลั่งสารโดปามีน (Dopamine) ที่ช่วยให้ร่างกายเกิดความกระฉับกระเฉงพร้อมที่จะเริ่มงาน
โปรตีนช่วยกระตุ้นร่างกายขณะเกิดอาการอ่อนเพลียจากการทำงานหนัก ภาวะเครียด การออกกำลังกาย หรือการใช้แรงงานได้ จึงมีนักโภชนาการการกีฬาบางกลุ่มแนะนำให้เสริมโปรตีนเพื่อเร่งการฟื้นตัวของนักกีฬาจากการออกกำลังกายเป็นเวลานานหรือจากสภาวะเหนื่อยล้า โดยโปรตีนจะเป็นแหล่งของกรดอะมิโนในการซ่อมแซมกล้ามเนื้อที่เสียหายให้กลับมาทำงานอย่างมีคุณภาพ และใช้ในการสร้างน้ำตาลเพื่อนำไปสร้างพลังงานในการทำงานของกล้ามเนื้อ
ผู้ที่มีภาวะขาดโปรตีนจะมีอาการที่เห็นเด่นชัดคือ
ผมร่วง ผมขาด เส้นผมเล็กลง และสีผมอ่อนจางจากการสร้างเม็ดสีผิดปกติ ผิวแห้ง และลอกง่าย เป็นขุย
เล็บนูนเป็นเส้น
การสร้างผิวหนัง เส้นผม เล็บ มีความสมบูรณ์ขึ้น
สร้างคอลลาเจนใต้ผิวหนัง ช่วยให้ผิวพรรณดูมีน้ำมีนวล สดชื่น เปล่งปลั่ง
โปรตีนมีความสำคัญต่อการซ่อมแซมและเสริมสร้างเซลล์ทุกเซลล์ในร่างกาย ทุกวันร่างกายจะมีเซลล์หมดอายุหรือถูกทำลายเป็นจำนวนมาก ร่างกายจึงต้องการโปรตีนเพื่อนำกรดอะมิโนมาใช้เป็นวัตถุดิบในการซ่อมแซมหรือสร้างเซลล์ขึ้นใหม่เพื่อทดแทนเซลล์เก่า
แหล่งโปรตีนมีอยู่มากมายและมีคุณภาพแตกต่างกัน โปรตีนจากสัตว์ เช่น ไข่ นม จัดเป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพดีเนื่องจากมีกรดอะมิโนจำเป็นครบถ้วน ในขณะที่แหล่งโปรตีนบางชนิดพบว่ามีกรดอะมิโนจำเป็นบางตัวพร่องไปจึงไม่สามารถนำไปใช้สร้างสายโปรตีนในปริมาณที่ต้องการได้ กรดอะมิโนชนิดนั้นจึงเป็นเสมือนกรดอะมิโนที่กำหนดปริมาณโปรตีนที่สร้างขึ้น ทำให้ถูกเรียกว่า “กรดอะมิโนจำกัด” (Limiting Amino Acid) โดยมักจะพบในพืช ซึ่งพืชแต่ละชนิดอาจมีกรดอะมิโนจำกัดแตกต่างกัน เช่น ถั่ว มีกรดอะมิโนเมไธโอนีนต่ำและเป็นกรดอะมิโนจำกัดของถั่ว ขณะที่ข้าวและงามีไลซีนต่ำ จึงจัดเป็นกรดอะมิโนจำกัดของข้าวและงา
วิธีหนึ่งเพื่อแก้ปัญหากรดอะมิโนจำกัดในโปรตีนพืชคือ การเสริมด้วยโปรตีนพืชชนิดอื่นๆ เช่น การผสมโปรตีนจากถั่วเหลือง ข้าวสาลี และถั่ว ซึ่งให้ประโยชน์มากกว่าการใช้โปรตีนสัตว์ เช่น ปราศจากแลคโตส ไขมัน โคเลสเตอรอล และมีสารไฟโตนิวเทรียนท์ที่พบในถั่วเหลืองซึ่งมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และมีคุณสมบัติในการลดภาวะติดเชื้อในบางอวัยวะ เช่น ลำไส้เล็ก ส่งผลให้การทำลายและการหลุดลอกของเซลล์ลำไส้เล็กลดลง จึงช่วยลดการใช้โปรตีนเพื่อซ่อมแซมเซลล์ส่วนนี้ และนำไปใช้ซ่อมแซมเซลล์ส่วนอื่นที่จำเป็นได้
โปรตีนพืชคุณภาพ
ปราศจากแลคโตส
ปราศจากไขมัน
ปราศจากโคเลสเตอรอล
มีสารไฟโตนิวเทรียนท์