01 MAR 2022 บทความผลิตภัณฑ์ 3 นาทีในการอ่าน 4541 VIEWS 39 แชร์

เคล็ดลับควบคุมน้ำหนักฉบับ Block & Burn | นิตยสารอะชีฟ ฉบับมีนาคม 2565

mar22-health1-03.png


อะชีฟฉบับนี้ได้รวบรวมสาระความรู้ในการดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี โดย นพ.ไพศิษฐ์ ตระกูลก้องสมุท หรือคุณหมอหนุ่ม ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย กับ “เคล็ดลับการลดและควบคุมน้ำหนักฉบับ Block & Burn” ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการทำธุรกิจของคุณ

mar22-health1-06.png


mar22-health1-04.png

1 ไขมันในร่างกายอยู่ที่ไหนบ้าง

ไขมันใต้ชั้นผิวหนัง (Subcutaneous Fat)
เกิดจากการสะสมของน้ำตาลที่แปรสภาพเป็นไขมัน แล้วไปเกาะอยู่ตามส่วนต่างๆ ในร่างกาย เห็นเป็นชั้นหนาๆ ของไขมัน ใช้มือหยิบจับได้ ไขมันชั้นนี้ไม่ส่งผลให้เกิดอันตรายร้ายแรง

ไขมันในช่องท้อง (Visceral Fat)
เกิดจากอาหารที่ร่างกายเผาผลาญเป็นพลังงานไม่หมด ทำให้ไปเกาะอยู่ตามบริเวณระหว่างกล้ามเนื้อท้องกับอวัยวะภายในช่องท้องในลักษณะแทรกตัวอยู่ตามอวัยวะภายใน เช่น กระเพาะอาหาร ตับ ลำไส้เล็ก มองจากภายนอกแล้วเห็นเป็นหน้าท้องยื่นออกมา ทำให้เส้นรอบเอวของเราขนาดใหญ่ขึ้นหรือที่เรียกว่า อ้วนลงพุง


mar22-health1-05.png


ไขมันในช่องท้องเป็นไขมันที่อันตราย!

เพราะสามารถสลายตัวเป็นกรดไขมันอิสระ (Non-esterified free fatty acids; NEFAs) เข้าสู่กระแสเลือดไปสะสมตามที่ต่างๆ เช่น ไปสะสมที่ตับจนเกิดภาวะไขมันพอกตับ ไปสะสมในหลอดเลือดสมองจนเกิดหลอดเลือดสมองตีบ ไปสะสมในหลอดเลือดหัวใจจนเกิดหลอดเลือดหัวใจตีบ

ไขมันในช่องท้องสามารถสร้างสารอะดิโพไคน์ที่กระตุ้นการอักเสบและเพิ่มจำนวนของเม็ดเลือดขาวใหญ่ (แมคโครเฟจ) ที่สร้างสารการอักเสบ เช่น IL-6, TNF-alpha จึงทำให้ผู้ที่เป็นโรคอ้วนลงพุงมีการอักเสบในระดับต่ำๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา

เมื่อสารก่อการอักเสบเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้เกิดการอักเสบที่ผนังหลอดเลือด เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองความดันโลหิตสูง

สารการอักเสบที่เกิดขึ้นยังมีฤทธิ์ต้านฮอร์โมนอินซูลิน ทำให้เกิดภาวะดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin Resistance) ยับยั้งกระบวนการเผาผลาญของกลูโคสที่กล้ามเนื้อ ซึ่งในระยะยาวทำให้เกิดเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2

สำหรับไขมันที่มีการสะสมในตับก็มีกระบวนการอักเสบเกิดขึ้นด้วย ทำให้เกิดโรคตับอักเสบจากภาวะไขมันพอกตับ (Non-alcoholic steatohepatitis; NASH) และโรคตับแข็งตามมา

การออกกำลังกายประเภทแอโรบิก เช่น เดินเร็ว วิ่ง ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ จะช่วยลดไขมันช่องท้องอย่างได้ผล

mar22-health1-07.png


mar22-health1-08.png

2 ทำไมการกินแป้งและน้ำตาลทำให้อ้วนได้

แป้งและน้ำตาลทุกชนิด ไม่ว่าจะมาในรูปน้ำตาลทราย น้ำหวาน น้ำผลไม้ น้ำผึ้ง เมื่อเข้าสู่ร่างกายก็จะเข้าไปสู่กระบวนการย่อยเป็นน้ำตาลกลูโคส ซึ่งร่างกายจะหลั่งฮอร์โมน “อินซูลิน” มาช่วยพาน้ำตาลไปให้เซลล์ใช้เป็นพลังงาน หากเรากินแป้ง และน้ำตาลมากเกินไป อินซูลินที่ถูกส่งมาก็จะมากตาม แต่เซลล์ต้องการน้ำตาลปริมาณเท่าเดิม เมื่อถึงเวลาที่เซลล์อิ่ม ปากเซลล์ปิด แต่กลูโคสปริมาณมากยังคงเหลืออยู่ เกิดกลูโคสส่วนเกิน อินซูลินเรียกร้องหาน้ำตาลอยู่จึงพากลูโคสที่เหลือไปเก็บในรูปของไขมันสะสมตามร่างกาย ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง จากนั้นอินซูลินก็จะค่อยๆ ลดปริมาณลงตาม

mar22-health1-09.png

1 สารสกัดจากถั่วขาวและถั่วเหลืองหมัก ช่วยลดการย่อยแป้งและน้ำตาลลดการรับพลังงานจากการกินแป้งและน้ำตาล

mar22-health1-12.png

สารสกัดจากถั่วขาว

มีสารออกฤทธิ์เฟซิโอลามิน (Phaseolamin) ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อัลฟา-อะไมเลสจากตับอ่อน ที่ทำหน้าที่ย่อยแป้งให้เป็นน้ำตาลก่อนที่จะถูกดูดซึม ลดการย่อยแป้งให้เป็นหน่วยที่เล็กลง ทำให้ร่างกายได้รับพลังงานลดลง เกิดการดึงไขมันที่สะสมมาเผาผลาญ ทำให้น้ำหนักลดลง การศึกษาทางคลินิกพบว่า การรับประทานขนาด 500 - 3,000 มิลลิกรัมต่อวัน ติดต่อกันเป็นเวลา 3 เดือน ช่วยลดน้ำหนัก ดัชนีมวลกาย ไขมันสะสม รอบเอวรอบสะโพก และต้นขาได้*

สารสกัดจากถั่วขาวมีสารออกฤทธิ์ไฟโตฮีโมแอกกลูตินิน (Phytohaemagglutinin) ช่วยกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนแห่งความอิ่ม (Cholecystokinin, GLP-1) จากระบบทางเดินอาหารส่งสัญญาณผ่านระบบประสาทไปสู่ศูนย์ความอิ่มในสมอง ทำให้ไม่ค่อยหิว การศึกษาทางคลินิกอย่างเป็นระบบพบว่า สารสกัดจากถั่วขาวช่วยลดไขมันสะสมได้


สารสกัดจากถั่วเหลืองหมัก (สารสกัดโทอูชิ)

การศึกษาทางคลินิกพบว่า สารสกัดโทอูชิยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อัลฟา-กลูโคซิเดส ลดการย่อยน้ำตาลโมเลกุลคู่ จึงช่วยลดการดูดซึมน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวเข้าสู่ร่างกาย โดยทำให้ร่างกายได้รับพลังงานน้อยลง และยังช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้ขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว

* ที่มา : Nutrition Journal 2011; 10:24. A proprietary alpha-amylase inhibitor from white bean (phaseolus vulgaris): A review of clinical studies on weight loss and glycemic control

mar22-health1-16.png


2 สารสกัดจากชาเขียวและสาหร่ายสีน้ำตาล ช่วยเพิ่มการเผาผลาญไขมัน

mar22-health1-11.png

สารสกัดจากชาเขียว

มีสารอีจีซีจี (EGCG, Epigallocathechin-3-gallate) ยับยั้งเอนไซม์ COMT ส่งผลให้ฮอร์โมนแคททิโคลามีนเพิ่มขึ้น กระตุ้นปฏิกิริยาออกซิเดชันของไขมัน เพิ่มกระบวนการเผาผลาญพลังงานของเนื้อเยื่อไขมัน จากงานวิจัยสารอีจีซีจีในชาเขียวร่วมกับการรับประทานอาหารที่มีแคลอรีต่ำและออกกำลังกาย พบว่าช่วยควบคุมน้ำหนักและควบคุมขนาดของรอบเอวได้


สารสกัดจากสาหร่ายสีน้ำตาล

งานวิจัยพบว่าสามารถช่วยควบคุมการสะสมไขมันได้ ชะลอกระบวนการสะสมไขมันในเซลล์ ดึงไขมันมาเป็นพลังงานมากขึ้น โดยสารสกัดจากสาหร่ายสีน้ำตาลมีฟูโคแซนทีนกระตุ้นโปรตีน UCP-1 ในไมโตคอนเดรียของไขมันสีขาวที่หน้าท้อง ทำให้เกิดการสลายกรดไขมันและสร้างพลังงานความร้อน ฟูโคแซนทีนยังช่วยเพิ่มตัวรับกลูโคสที่เซลล์กล้ามเนื้อ (GLUT4) ในการขนส่งน้ำตาลกลูโคสไปใช้ในเซลล์กล้ามเนื้อ


3 ซีแอลเอจากน้ำมันดอกคำฝอย ช่วยเพิ่มการเผาผลาญไขมันและคงมวลกล้ามเนื้อ

mar22-health1-13.png

ซีแอลเอจากน้ำมันดอกคำฝอยช่วยเพิ่มการเผาผลาญไขมันผ่านทางเพิ่มการทำงานเอนไซม์ CAT-1 ที่ช่วยพากรดไขมันเข้าไปในไมโตคอนเดรียของกล้ามเนื้อ เพื่อเผาผลาญเป็นพลังงานและลดการทำงาน Lipoprotein Lipase (LPL) ในเลือด จึงช่วยลดการสะสมไขมันในเซลล์ไขมัน จากการศึกษาวิจัยใน 6 เดือนพบว่า การรับประทานซีแอลเอเฉลี่ย 3.2 กรัมต่อวัน ช่วยลดไขมันสะสมได้ โดยไม่มีรายงานการเพิ่มการอักเสบและการเกิดอนุมูลอิสระ รวมทั้งไม่ก่อให้เกิดภาวะดื้ออินซูลิน**


mar22-health1-14.png mar22-health1-17.png

** ที่มา :
• Am J Clini Nutr. 2007 May; 85(5):1203-11. Efficacy of conjugated linoleic acid for reducing fat mass: a meta-analysis in humans.
• Eur J Nutr. 2012 Mar;51(2):127-34. The efficacy of long-term conjugated linoleic acid (CLA) supplementation on body composition in overweight and obese individuals: a systematic review & meta-analysis of randomized clinical trials.

mar22-health1-10.png


mar22-health1-15.png

ClickICON.png