ร่างกายคนเราจะเกิดการเปลี่ยนแปลงไปตามวัย เมื่อวัยสูงขึ้นความเสื่อมของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายก็เพิ่มขึ้น ซึ่งก่อให้เป็นโรคเรื้อรังต่างๆ ตามมา เช่น ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคข้อเสื่อม
รู้หรือไม่? ตอนนี้ประเทศไทยมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นอันดับ 3 ของโลก และเป็นอันดับ 2 ในอาเซียนรองจากสิงคโปร์ |
![]() |
สาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้สูงอายุต้องประสบปัญหาในการเคลื่อนไหว เนื่องมาจากความเสื่อมของสภาพของร่างกายตามอายุ ผู้สูงอายุจะมีมวลกระดูกน้อย มีโอกาสแตกหักได้ง่าย และมีมวลกล้ามเนื้อน้อยลง สูญเสียความแข็งแรงและความยืดหยุ่น จนนำไปสู่โรคข้อเสื่อมในท้ายที่สุด
ความสำคัญของ "ข้อ"“ข้อ” มีหน้าที่ในการยึดกระดูกและทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวได้อย่างราบรื่นในทิศทางและรูปแบบต่างๆ นอกจากนี้ ข้อยังต้องรับน้ำหนักตัวเกือบตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการเดิน ยืน นั่ง หรือทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น การนั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ นั่งยองเป็นประจำ การออกกำลังกาย การเล่นกีฬา หรือการลื่นหกล้ม ทั้งหมดนี้ต่างส่งผลกระทบทำให้เกิดข้อและนำไปสู่ภาวะข้อเข่าเสื่อมได้![]() |
เส้นเอ็น (Ligaments) ทำหน้าที่ยึดกระดูกให้เชื่อมต่อกัน
กระดูกอ่อนผิวข้อ (Articular Cartilage) จะมีความลื่นและความยืดหยุ่น เพื่อให้ทนต่อการรับแรงกดที่ลงมาที่ข้อได้
หมอนรองกระดูก (Articular Disc หรือ Meniscus) ทำหน้าที่เหมือนเบาะรับแรงกระแทกบริเวณข้อ เพิ่มความมั่นคงให้ข้อและช่วยให้ข้อเคลื่อนไหวได้ราบรื่นขึ้น
น้ำไขข้อ (Synovial Fluid) ช่วยให้ข้อเคลื่อนที่ได้ไหลลื่นและป้องกันไม่ให้กระดูกเสียดสีกัน
เป็นส่วนสำคัญในการพยุงข้อและเพิ่มความยืดหยุ่นในการเคลื่อนไหว
ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของข้อ
ปกป้องข้อจากการเคลื่อนไหวที่รุนแรง เช่น การออกกำลังกายอย่างหนัก
ปัญหาสำคัญของ โรคข้อเข่าเสื่อม |
|
![]() |
โรคข้อเข่าเสื่อม พบมากในวัยกลางคนและผู้สูงอายุ ทั้งยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมมาก ถ้าไม่ได้รับการรักษาหรือปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสมอาจทำให้มีความเจ็บปวด ข้อเข่าผิดรูป เดินได้ไม่ปกติ ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันต่างๆ ไม่สะดวก มีความทุกข์ทรมาน ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ |
กระดูกอ่อนผิวข้อเสื่อมสภาพ (Degenerated Cartilage หรือ Cartilage Loss) เกิดการสึกกร่อนและบางลง จึงเกิดการเสียดสีภายในข้อทำให้เกิดความเจ็บปวด นอกจากนี้เศษกระดูกอ่อนอาจหลุดออกมาในน้ำในข้อทำให้เกิดการอักเสบ
หมอนรองกระดูกสึกกร่อน (Degenerated Meniscus) เกิดจากความเสื่อมของร่างกายตามวัย ทำให้ข้อไม่สามารถรับน้ำหนักได้ตามปกติและรู้สึกปวดเมื่อมีการเคลื่อนไหว
กระดูกงอก (Osteophytes หรือ Bone Spurs) ใต้บริเวณกระดูกอ่อนผิวข้อ เกิดจากการที่ร่างกายซ่อมแซมกระดูกจนผิดรูปร่าง กระดูกที่งอกขึ้นมาใหม่อาจเสียดสีกับกระดูกส่วนอื่นทำให้รู้สึก เจ็บปวดได้
![]() |
อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป |
![]() |
เพศหญิง เป็นโรคเข่าเสื่อมมากกว่าผู้ชาย 2 เท่า |
![]() |
น้ำหนักเกิน ยิ่งน้ำหนักตัวมาก ข้อเข่าจะเสื่อมเร็ว |
![]() |
การใช้ข้อเข่า ผู้ที่นั่งยองๆ นั่งขัดสมาธิหรือนั่งพับเพียบนานๆ |
![]() |
การได้รับบาดเจ็บบริเวณข้อเข่า ผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุที่ข้อเข่า ไม่ว่าจะกระดูกข้อเข่าแตกหรือเอ็นฉีก |
![]() |
ดูแลสุขภาพพื้นฐานและเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ส่วนผสมโปรตีนจากพืช 3 ชนิด ให้กรดอะมิโนจำเป็นครบถ้วน 9 ชนิด![]() |
![]() |
เสริมสร้างสุขภาพด้านการเคลื่อนไหวและความคล่องตัว |
![]() |
ดูอัลเปปไทด์ ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบข้อ |
![]() |
สารสกัดจากอโลเวรา ช่วยต้านการอักเสบและบำรุงข้อ |
![]() |
เลือกรับประทานอาหาร ได้แก่ • ครบ 5 หมู่และหลากหลาย • เน้นพืชผักผลไม้ให้มากพอและเป็นประจำ • เลือกรับประทานปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ เต้าหู้ และถั่วเมล็ดแห้งเป็นประจำ • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสหวานจัดและเค็มจัด |
![]() |
ดื่มน้ำมากๆ ประมาณ 8 แก้วต่อวัน เนื่องจากกระดูกอ่อนตามข้อต่างๆ มีน้ำเป็นส่วนประกอบมากถึงร้อยละ 70 และมีหน้าที่สำคัญในการหล่อลื่นและรับแรงกระแทกกับข้อ |
![]() |
งดหรือลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ |
![]() |
บริหารกล้ามเนื้อและออกกำลังเพื่อสุขภาพ เช่น บริหารกล้ามเนื้อต้นขาซึ่งเป็นกล้ามเนื้อมัดใหญ่ให้มีความแข็งแรง ก็มีส่วนช่วยเสริมความมั่นคงให้กับข้อเข่าและช่วยชะลอข้อเข่าเสื่อมได้ |