30 JAN 2023 บทความผลิตภัณฑ์ 4 นาทีในการอ่าน 1645 VIEWS 11 แชร์

ดูแลสุขภาพผู้หญิงเริ่มต้นง่ายๆ | นิตยสารอะชีฟ ฉบับกุมภาพันธ์ 2566

ดูแลสุขภาพผู้หญิงเริ่มต้นง่ายๆ

อาการผิดปกติก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual Syndrome: PMS)

feb23-health3-03.png

อาการป่วยทางร่างกาย
เช่น ปวดหรือเจ็บทรวงอก ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ บวม ท้องอืด วิงเวียนศีรษะ เป็นสิว อ่อนเพลีย




feb23-health3-04.png

อาการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ
เช่น หน้าท้องขยาย ร่างกายสะสมน้ำเพิ่มขึ้นทำให้น้ำหนักเพิ่ม อาจเพิ่ม ได้ถึง 1 - 2 กิโลกรัม




feb23-health3-05.png

อาการป่วยทางอารมณ์
ได้แก่ หงุดหงิด ขี้โมโห เครียด คิดมาก กังวล ท้อแท้ หลงลืม ซึมเศร้า เพ้อ คลุ้มคลั่ง



ตัวช่วยในการบรรเทาอาการผิดปกติก่อนมีประจำเดือน
feb23-health3-06.png น้ำมันอีฟนิงพริมโรส
(Evening Primrose Oil หรือ EPO)
สารสำคัญในน้ำมันอีฟนิงพริมโรสคือ แกมมาไลโนเลนิก แอซิด (Gamma-Linolenic Acid) หรือ GLA ซึ่งเป็นกรดไขมันจำเป็นในกลุ่มโอเมก้า-6 ที่ร่างกายสร้างเองไม่ได้ สารนี้จะช่วยลดการอักเสบ ช่วยให้หลอดเลือดคลายตัว ทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ลดอาการปวด บวม แดง ที่เกิดจากการอักเสบ ลดอาการผิดปกติก่อนมีประจำเดือนได้ถึง 90%
ขนาดรับประทานของน้ำมันอีฟนิงพริมโรสที่งานวิจัยแนะนำคือ
• ครั้งละ 250 - 500 มิลลิกรัม
• วันละ 4 ครั้ง
• หลังอาหารและก่อนนอน หรือประมาณวันละ 1,000 - 2,000 มิลลิกรัม
• รับประทานล่วงหน้า 3 วัน ก่อนมีอาการ PMS หรือ 1 สัปดาห์ก่อนมีประจำเดือน
• อาจใช้ร่วมกับสารอาหารบางชนิด เช่น วิตามินบี 6 (50 มิลลิกรัมต่อวัน) ธาตุสังกะสี (10 มิลลิกรัมต่อวัน) วิตามินซี (500 - 3,000 มิลลิกรัมต่อวัน)
feb23-health3-07.png น้ำมันโบราจ
(Borage oil)
เป็นสมุนไพรที่มีถิ่นกำเนิดในแถบเมดิเตอร์เรเนียน เมล็ดของโบราจให้กรดไขมัน GLA ในปริมาณที่สูงกว่าน้ำมันอีฟนิงพริมโรส และยังอุดมไปด้วยกรดไขมันชนิดอื่นๆ เช่น กรดไลโนเลอิก กรดปาล์มิติก กรดสเตียริก ดังนั้น นอกจากช่วยบรรเทากลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือนได้แล้ว น้ำมันโบราจยังมีสรรพคุณช่วยทำให้ผิวนุ่มชุ่มชื้น ช่วยรักษาสมดุลของน้ำในชั้นผิว ป้องกันการสูญเสียน้ำของเซลล์ผิว ช่วยลดอาการผิวแห้ง หยาบกร้านและอักเสบของผิวจากโรคต่างๆ เช่น โรคสะเก็ดเงินหรือผิวหนังอักเสบ
feb23-health3-08.png ขิง
(Ginger)
ขิงประกอบด้วยสารสำคัญหลัก คือจินเจอรอล (Gingerol) และโชกาออล (Shogaol) ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มของสารโอลีโอเรซิน (Oleoresin) มีคุณสมบัติช่วยยับยั้งผลของซีโรโทนินซึ่งเป็นฮอร์โมนหลักที่กระตุ้นการบีบตัวของกล้ามเนื้อเรียบ จึงทำให้กล้ามเนื้อเรียบคลายตัวลดอาการปวดประจำเดือนได้ และยังมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน อาหารไม่ย่อยปวดศีรษะ เมารถ เมาเรือ
feb23-health3-09.png ตังกุย
(Dong Quai)
ตังกุยจัดเป็นสมุนไพรที่นิยมแพร่หลายมากที่สุดในประเทศจีน รากของตังกุยมีประโยชน์ต่อระบบเลือดและช่วยปรับสมดุลพลังงานของชีวิต ใช้เป็นยาบำรุงเลือดและรักษาสมดุลพลังงานในร่างกาย ลดอาการผิดปกติก่อนมีประจำเดือน ประจำเดือนผิดปกติ และอาการในวัยหมดประจำเดือน

รากของตังกุยให้สารที่มีประโยชน์คือ กรดเฟอรูลิก (Ferulic Acid) ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และสารไลกัสติไลด์ (Ligustilide) ที่ออกฤทธิ์ช่วยลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อมดลูกและบรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือนได้

feb23-health3-10.png
โพรไบโอติก
ตัวช่วยสำหรับผู้หญิงในทุกวันของคุณ
feb23-health3-17.png
feb23-health3-11.png มีโพรไบโอติกจำนวนกว่า 10.4 พันล้านซีเอฟยูต่อซอง จาก 3 สายพันธุ์ ที่มีงานวิจัยรองรับถึงคุณประโยชน์ต่อสุขภาพช่องคลอด (HN001, NCFM, a-14)
feb23-health3-12.png ช่วยรักษาสมดุลความเป็นกรดด่างในช่องคลอดให้เหมาะสม ป้องกันอาการคันหรืออักเสบที่เกิดขึ้นในผู้หญิงได้ง่าย

feb23-health3-16.png
feb23-health3-13.png เสริมสร้างสมดุลตามธรรมชาติของจุลินทรีย์ที่ดีในระบบทางเดินปัสสาวะและมีแครนเบอร์รี่เข้มข้นช่วยลดปัญหาทางเดินปัสสาวะอักเสบในผู้หญิง
feb23-health3-14.png มีพรีไบโอติกที่เป็นอาหารของจุลินทรีย์ที่ดีในร่างกายเพื่อปรับสุขภาพลำไส้และการย่อยอาหารให้เป็นปกติ
feb23-health3-15.png สนับสนุนการตอบสนองของภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติของร่างกายให้มีความแข็งแรง เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นภูมิแพ้บ่อยๆ

ข้อมูลอ้างอิง
• ข้อมูลจากสถาบันสุขภาพนิวทริไลท์ สหรัฐอเมริกา
• วินัย ดะห์ลัน. น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส. สาส์นยา 2534; 7: 113-120.
• วินัย ดะห์ลัน. น้ำมันและลิพิดที่ใช้ลดไขมันในเลือด. ใน: สารอาหารที่นิยมใช้เสริมสุขภาพและต้านโรค. ธิดา นิงสานนท์ และ อรวรรณ เรืองสมบูรณ์ (บรรณาธิการ). กรุงเทพฯ: คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 2535: 267-291 (53 ref.).
• Benedetto C, McDonald-Gibson RG, Nigam S, Slater TF (eds). Prostaglandins and Related Substances: A Practical Approach. Oxford UK: IRL Press, 1987.
• Burton JL. Dietary fatty acids in inflammatory skin diseases. Lancet 1989; 7: 27-30.
• Dahlan W. Intravenous infusion of triacylglycerol-phospholipid complexes in man: effects on fatty acid pattern of plasma and on erythrocyte membrane lipid composition. Ph.D. dissetation. Belgium: Universite Libre de Bruxelles, 1989.
• Foster S. 1992. “Dang-gui” from Herbal Emissaries. Rochester: Healing Arts Press.
• Foster S. 1992. “Ginger” from Herbal Emissaries. Rochester: Healing arts Press, pp. 92-102.
• Li Wan Po A. Evening primrose oil. Pharm J 1991; 246: 676-678.
• Miller CC, Tang W, Ziboh VA, Fletcher MP. Dietary supplementation with etyl ester concentrates of fish oil (n-3) and borage oil (n-6) polyunsaturated fatty acids induces epidermal generation of local putative anti-inflammatory metabolites. J Invest Dermatol 1991; 96: 98-103.
• Nakata, et al. 1978. The Journal of the Society for Oriental Medicine in Japan, 2(3); References on Medicine Abroad - traditional Chinese Medicine and Material Medica Series 1979, 8(1):64.
• The British Nutrition Foundation’s Task Force (BNFTF). Unsaturated Fatty Acids, Nutritional and Physiological Significance. The Report of the BNF’s Task Force. London: Chapman and Hall, 221 pages (774 ref.).
• Yamahara J, et al. 1989. “Active Compounds of Ginger Exhibiting Anti-serotonergic Action”. Phytotherapy Research, 3(2): 70-71.