ไม่ได้สูบบุหรี่ก็ทำให้เป็นมะเร็งปอดได้! เพราะอากาศที่ไม่บริสุทธิ์ เต็มไปด้วยฝุ่นมลภาวะ ที่ทำให้ปอดพังจนกลายเป็นมะเร็งปอด หนึ่งสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของคนไทย
มะเร็งปอด คือ ความผิดปกติของการแบ่งเซลล์ภายในปอดที่ลุกลามอย่างไม่สามารถควบคุมได้ จนกระทั่งกลายเป็นก้อนเนื้อร้าย ซึ่งมะเร็งปอดมักเกิดจากจุดเล็กๆ ที่ไม่แสดงอาการในระยะแรก แต่จะแสดงอาการเมื่อมะเร็งลุกลามสู่ระยะรุนแรงแล้ว ทำให้เนื้อร้ายไปขัดขวางการทำงานของอวัยวะและระบบต่างๆ1
มะเร็งปอดและวัณโรคปอด เป็นโรคที่เกิดขึ้นบริเวณปอดและสร้างความเสียหายต่อปอดทั้งสองโรค อาการโดยทั่วไปมีความคล้ายคลึงกัน เช่น ไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด เบื่ออาหาร เป็นต้น ทั้งนี้แม้จะมีความคล้ายคลึงกันแต่ทั้งสองโรคนี้ มีสาเหตุที่แตกต่างกัน โดยวัณโรคปอดเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย แต่มะเร็งปอดเกิดจากการแบ่งตัวของเซลล์ผิดปกติ หากต้องการความแน่ชัดจะต้องเข้ารับการตรวจเพิ่มเติมจึงจะระบุได้1
มะเร็งปอดมีสาเหตุหลายประการ ส่วนมากจะเป็นการสัมผัสกับปัจจัยเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นฝุ่น PM2.5 มลภาวะ บุหรี่ และสารก่อมะเร็งอื่นๆ หรือปัจจัยเสี่ยงจากพันธุกรรม ซึ่งรายละเอียดเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งปอดมีดังนี้
ฝุ่น PM2.5 (Particulate Matter with diameter of less than 2.5 micron) คือ ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เกิดจากการเผาไหม้ในที่โล่ง ควันจากโรงงานอุตสาหกรรม ไอเสียจากรถยนต์ การผลิตไฟฟ้า และฝุ่นที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวัน เป็นต้น
เนื่องจากฝุ่น PM2.5 มีขนาดเล็กมาก เข้าสู่ร่างกายได้ง่าย จึงเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อระบบอวัยวะภายในร่างกาย โดยเฉพาะระบบทางเดินหายใจ หากสูดดมเป็นประจำ ในขั้นเริ่มต้นจะส่งผลให้มีอาการแสบจมูก ระคายเคืองทางเดินหายใจ และในขั้นร้ายแรง PM2.5 จะไปสะสมในร่างกายจนนำไปสู่ความเสี่ยงของโรคมะเร็งปอดได้10
ดังนั้น ฝุ่นละอองขนาดเล็กจึงเป็นสิ่งอันตรายมาก นอกจากนี้ ยังรวมไปถึงฝุ่นพิษที่เล็กกว่า เช่น PM0.3 และ PM0.0024 ที่สามารถเข้าสู่ปอดได้โดยตรง ล้วนแต่เป็นฝุ่นขนาดเล็กชนิดอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจทั้งสิ้น5
มลภาวะทางอากาศ เป็นสิ่งที่ปะปนอยู่ในอากาศ ไม่ว่าจะเป็นฝุ่นขนาดเล็กจากการเผาไหม้ สารเคมีจากโรงงานอุตสาหกรรม การผลิตพลังงาน การขนส่ง การกำจัดของเสียที่ไม่มีประสิทธิภาพ เป็นต้น มลภาวะทางอากาศเหล่านี้เป็นสิ่งที่สามารถกระจายออกไปในวงกว้าง ซึ่งแน่นอนว่ามลภาวะทางอากาศโดยเฉพาะชนิดที่มีขนาดเล็กจะสะสมอยู่ในร่างกายเป็นเวลานาน ก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพและยังเป็นอีกปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งปอดอีกด้วย6
เป็นที่ทราบกันอย่างแพร่หลายว่าบุหรี่เป็นสาเหตุหลักของโรคมะเร็งปอด ไม่เฉพาะผู้สูบเท่านั้น แต่ผู้ที่สูดดมควันบุหรี่เป็นประจำก็มีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งปอดได้เช่นกัน ควันบุหรี่ถือเป็นสารก่อมะเร็งชนิดหนึ่ง ดังนั้นผู้ที่รับควันบุหรี่เข้าร่างกายเป็นประจำ เซลล์ปอดจะถูกทำลาย เกิดเป็นความผิดปกติของเซลล์ปอด เป็นสาเหตุนำไปสู่มะเร็งปอดได้ในที่สุด7
หากร่างกายสัมผัสสารก่อมะเร็งเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดความเสี่ยงของโรคมะเร็งปอดได้ อาทิ การสัมผัสแร่ใยหินหรือแอสเบสตอส ซึ่งส่วนมากจะเป็นผู้ที่ทำงานในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องอย่าง เหมืองแร่ การก่อสร้าง อุตสาหกรรมสิ่งทอ การทำงานที่เกี่ยวกับฉนวนกันความร้อน ผ้าเบรก คลัตช์ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มของก๊าซเรดอน ที่เป็นก๊าซกัมมันตรังสีจากการสลายตัวของแร่ยูเรเนียมในหินและดิน ก๊าซเรดอนจะปะปนอยู่ในน้ำ อากาศ เหมืองใต้ดิน หรือวัสดุก่อสร้างต่างๆ การสัมผัสสารก่อมะเร็งเหล่านี้เป็นเวลานาน จึงอาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งปอดได้8
โรคมะเร็งปอด ไม่ได้เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมโดยตรง แต่ผู้ที่มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นมะเร็งปอดตั้งแต่อายุยังน้อย ก็เป็นอีกหนึ่งความเสี่ยงมะเร็งปอดของสมาชิกในครอบครัวได้เช่นกัน9
อาการมะเร็งปอดแม้ว่าจะแสดงชัดเมื่อมีอาการรุนแรงแล้ว แต่ก็สามารถสังเกตอาการเบื้องต้นได้ ดังนี้2
มะเร็งปอดมี 2 ชนิด คือชนิดเซลล์เล็ก และชนิดเซลล์ไม่เล็ก ซึ่งอาการ ระยะของโรค รวมไปถึงการรักษา มีความแตกต่างกัน โดยรายละเอียดดังนี้
มะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก พบได้ประมาณร้อยละ 10-25 ของมะเร็งปอดทั้งหมด มักพบที่ขั้วปอด เป็นมะเร็งปอดที่แพร่กระจายได้เร็ว และเนื่องมาจากการสร้างสารเคมีบางอย่างจึงอาจจะสร้างความผิดปกติที่ต่อมไร้ท่อในร่างกายได้ โดยส่วนมากมะเร็งปอดชนิดนี้จะใช้วิธีรักษาด้วยยาเคมีบำบัดและรังสีรักษาได้ดี ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นแต่อาจจะหายขาดได้น้อย ทั้งนี้ระยะของมะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็กแบ่งเป็น 2 ระยะ ดังนี้2
ระยะที่มะเร็งปอดพบในบริเวณปอดข้างใดข้างหนึ่งและต่อมน้ำเหลืองข้างเคียงเท่านั้น วิธีการรักษามะเร็งปอดระยะนี้จะใช้การรักษาโดยเคมีบำบัด เพื่อทำลายเซลล์มะเร็งเริ่มต้นไม่ให้แพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ และอาจร่วมกับการรักษาโดยรังสีรักษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการคุมโรคเฉพาะที่3
ระยะที่มะเร็งปอดลุกลามออกจากช่องทรวงอกข้างนั้นๆ หรือลุกลามแพร่กระจายจากปอดไปยังอวัยวะส่วนอื่นๆ วิธีการรักษามะเร็งปอดระยะนี้อาจจะขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์ร่วมกับระยะของโรคและเงื่อนไขทางร่างกายของคนไข้2
มะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็กเป็นมะเร็งชนิดที่พบมากถึงร้อยละ 75-90 ของมะเร็งปอด มีการดำเนินโรคช้า สามารถตรวจพบได้ตั้งระยะเริ่มต้น หากได้รับการรักษาอย่างตรงจุดก็มีโอกาสหายขาดได้ ซึ่งมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็กแบ่งเป็น 4 ระยะ ดังนี้2
ระยะที่ก้อนมะเร็งยังมีขนาดเล็ก ≤ 5 เซนติเมตร และยังไม่กระจายตัวไปยังท่อน้ำเหลือง การรักษาจะใช้วิธีการผ่าตัดเป็นหลัก
ระยะที่ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่กว่า 5 เซนติเมตร เชื้อมะเร็งลุกลามไปยังเยื่อหุ้มปอดชั้นนอก ผนังหน้าอก และแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองใกล้ๆ วิธีการรักษามะเร็งปอดระยะนี้ยังคงมุ่งการผ่าตัดเป็นหลักเช่นกัน
ระยะที่ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่ขึ้น ลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียง แพร่กระจายไปยังปอดกลีบอื่นๆ ในข้างเดียวกัน หรือต่อมน้ำเหลืองที่ช่องกลางอกหรือบริเวณไกลกว่านั้น การรักษาจะใช้เคมีบำบัดพร้อมกับรังสีรักษาตามที่แพทย์พิจารณา และตามสภาพร่างกายของผู้ป่วย3
ระยะที่มะเร็งแพร่กระจายออกไปนอกช่องอก กระจายออกไปไกลกว่าจุดเริ่มต้น เช่น เยื่อหุ้มปอด ต่อมน้ำเหลืองที่คอ ตับ กระดูก ต่อมหมวกไตและสมอง เป็นต้น การรักษาอาจใช้เคมีบำบัด รังสีรักษา หรือใช้การรักษาเสริม ได้แก่ Targeted Therapy และหรือ Immunotherapy ตามที่แพทย์พิจารณา โดยประเมินจากสภาพร่างกายของผู้ป่วยด้วย3
มะเร็งปอดสามารถป้องกันได้หลายวิธีทั้งจากการดูแลสุขภาพร่างกายตนเองให้ดีอยู่เสมอ หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง และการใช้ตัวช่วยเพื่ออากาศสะอาด ดังนี้
เนื่องจากการหายใจสามารถรับเอาสารก่อมะเร็ง และฝุ่นควันขนาดเล็กต่างๆ เข้าสู่ปอดได้โดยตรง ดังนั้น การใช้เครื่องกรองอากาศ จึงเป็นวิธีการป้องกันการเกิดมะเร็งที่มีประสิทธิภาพ เพราะเครื่องกรองอากาศหรือเครื่องฟอกอากาศจะช่วยให้อากาศในบริเวณนั้นๆ สะอาดปลอดภัย
โดยเฉพาะการเลือกใช้ เครื่องกรองอากาศทั้ง เครื่องกรองอากาศ แอทโมสเฟียร์ สกาย และ เครื่องกรองอากาศ แอทโมสเฟียร์ มินิ ที่สามารถกรองสิ่งปนเปื้อนในอากาศที่มีขนาดเล็กได้ถึง 0.0024 ไมครอน จะยิ่งช่วยป้องกันการสะสมของสารก่อมะเร็งที่จะนำไปสู่โรคมะเร็งปอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงมะเร็งปอดจากฝุ่นละออง รวมถึงมลพิษทางอากาศได้
หากหยุดสูบบุหรี่ เนื้อเยื่อปอดที่เคยเสียหายจะเริ่มซ่อมแซมตัวเอง ถือเป็นการเพิ่มโอกาสที่จะห่างไกลโรคร้าย มีชีวิตต่อไปยืนยาวขึ้น นอกจากนี้ ในกลุ่มผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ก็ควรหลีกเลี่ยงการรับควันบุหรี่มือสองจากผู้สูบด้วย เพราะควันบุหรี่มือสองก็ส่งผลต่อการเกิดมะเร็งปอดเช่นกัน4
การเลือกกินอาหารที่มีสารอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุต่างๆ ที่จำเป็นต่อร่างกาย จะช่วยเสริมสร้างการทำงานของอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย โดยเฉพาะระบบภูมิคุ้มกัน และการต้านอนุมูลอิสระ หากหลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นโทษต่อร่างกาย ก็จะช่วยลดโอกาสการเกิดโรคมะเร็งปอดรวมไปถึงโรคอื่นๆ ด้วย
การออกกำลังกายจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของร่างกาย บำบัดอาการเจ็บป่วยเรื้อรัง และเสริมสร้างมวลกระดูก ช่วยให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง
โรคมะเร็งปอด เป็นโรคที่เกิดจากการแบ่งตัวของเซลล์ที่ผิดปกติในปอด อาจจะมีแนวโน้มลุกลามไปยังส่วนอื่นๆ ได้ ถือเป็นโรคที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตเป็นอันดับต้นๆ สาเหตุของมะเร็งปอดส่วนใหญ่เกิดจากมลพิษทางอากาศ เช่น ฝุ่น PM2.5 ควันจากโรงงานอุตสาหกรรม ควันบุหรี่ เป็นต้น อาการที่สามารถสังเกตได้ เช่น ไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด ปวดกระดูก เบื่ออาหาร น้ำหนักลด เป็นต้น โดยทั่วไปวิธีการรักษาโรคมะเร็งปอดจะขึ้นอยู่กับชนิดของโรค ระยะของโรคและสภาพร่างกายผู้ป่วย การรักษาจะใช้ทั้งการผ่าตัด เคมีบำบัด และรังสีรักษา
แนวทางการป้องกันโรคและลดโอกาสการเป็นโรคมะเร็งปอดที่สำคัญคือ การทำให้อากาศสะอาด ซึ่งอาจมีตัวช่วยที่สำคัญอย่างเครื่องกรองอากาศที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถกรองสารปนเปื้อนขนาดเล็กมากๆ ได้ อีกทั้งควรเริ่มที่ตนเองไม่ว่าจะเป็นการไม่สูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงควันบุหรี่ การออกกำลังกายและการกินอาหารที่มีประโยชน์ร่วมด้วย
Reference
โรงพยาบาลไทยนครินทร์. อาการมะเร็งปอด รู้ก่อนตั้งแต่ระยะแรก รักษาทัน. thainakarin.co.th. Published 17 November 2023. Retrieved 2 June 2024.
โรงพยาบาลปิยมหาราชการุณย์. มะเร็งปอด ทุกระยะดูแลได้. siphhospital.com. Published 3 May 2024. Retrieved 2 June 2024.
โรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ. มะเร็งปอด เรื่องไม่เล็กควรใส่ใจ. wattanosothcancerhospital.com. Retrieved 2 June 2024.
Med Park Hospital. มะเร็งปอด. medparkhospital.com. Retrieved 2 June 2024.
Smart Air Thailand. PM 0.3 คืออะไรและสำคัญอย่างไร. smartairfilters.com. Published 13 July 2021. Retrieved 2 June 2024.
Vejthani Hospital. The Connection between PM 2.5 Dust and Lung Cancer. vejthani.com. Retrieved 2 June 2024.
Bumrungrad International Hospital. มะเร็งปอด. bumrungrad.com. Retrieved 2 June 2024.
Medthai. มะเร็งปอด (Lung cancer) อาการ สาเหตุ การรักษาโรคมะเร็งปอด 12 วิธี. medthai.com. Published 1 April 202. Retrieved 2 June 2024.
โรงพยาบาลศิครินทร์. มะเร็งปอด ภัยเงียบคร่าชีวิต – สาเหตุอาการ และการตรวจวินิจฉัยมะเร็ง. sikarin.com. Retrieved 2 June 2024.
Ruyi Li, Rui Zhou and Jiange Zhang. Function of PM2.5 in the pathogenesis of lung cancer and chronic airway inflammatory diseases. ncbi.nlm.nih.gov. Published 26 March 2018. Retrieved 2 June 2024.