09 JUL 2021 บทความผลิตภัณฑ์ 6 นาทีในการอ่าน 7595 VIEWS 14 แชร์

Memory Builder สุขภาพสมองที่คุณกำหนดได้

1548918093042.jpg


โดย นายแพทย์สมบูรณ์ รุ่งพรชัย

• สมองแค่ทำงานได้ เพียงพอแล้วหรือ?
• หลักการทำงานของสมอง
• หน้าที่ของเซลล์สมอง เซลล์โครงสร้าง และระบบไหลเวียน
• กลไกการจัดเก็บความทรงจำ
• การทำงานสมองส่วนความทรงจำที่มีประสิทธิภาพ
• การฝึกการทำงานสมอง (เพิ่ม Memory-Focus-Recall)
• สารอาหารดูแลสมอง
• สถานการณ์ภาวะสมองเสื่อมในประชากรไทย
• สาเหตุของ “ภาวะสมองเสื่อม”
• ความจำระยะสั้น vs ความจำระยะยาว
• 6 วิธีดูแลสุขภาพสมอง
• แบบประเมินการทำงานของสมรรถภาพทางสมองเบื้องต้น
• ข้อมูลอ้างอิง




ไม่ว่าคุณจะตั้งใจเรียน ตั้งใจทำงาน ตั้งใจสร้างครอบครัว เพื่อหวังใช้ชีวิตที่ประสบความสำเร็จอย่างมีความสุขมากแค่ไหน แต่จะเป็นอย่างไรถ้าเมื่อความสำเร็จนั้นมาถึง แล้วคุณจำอะไรไม่ได้!


▫▪ สมองแค่ทำงานได้ เพียงพอแล้วหรือ? ▪▫

สมองที่ใช้งานสม่ำเสมอ จะสะสมประสบการณ์ ความคิด ความจำมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เราใช้ชีวิตอย่างฉลาดขึ้น สามารถหลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นอันตราย และสร้างสรรค์งานใหม่ๆ ได้ หากระบบสมองทำงานได้ไม่สมบูรณ์ หลงลืม ย่อมส่งผลต่อการดำรงชีวิตของคุณโดยตรง ความสุข ความปลอดภัย และสติปัญญาย่อมลดลง ทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลงทั้งตัวคุณเองและครอบครัวรวมทั้งคนใกล้ตัวก็จะได้รับผลกระทบไปด้วย


▫▪ หลักการทำงานของสมอง ▪▫

สมองเป็นอวัยวะสำคัญ มีน้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 1.5 กิโลกรัม ประกอบด้วยเซลล์สมองประมาณ 86,000 ล้านเซลล์ แต่ละเซลล์จะทำงานประสานกันอย่างเป็นระบบ เซลล์สมอง 1 เซลล์ สามารถเชื่อมต่อกับเซลล์อื่นได้ถึง 10,000 เซลล์ โดยเซลล์สมองจะยื่นระยางเซลล์ออกเพื่อติดต่อกับเซลล์ที่อยู่ใกล้และไกล ซึ่งทำงานด้วยกระแสประจุไฟฟ้าเพื่อใช้เวลาน้อยที่สุด และปลายเซลล์จะติดต่อกันด้วยสารสื่อประสาท ซึ่งเป็นการหลั่งสารสื่อประสาทเพื่อส่งต่อให้เซลล์ถัดไปทำงานต่อเนื่อง

เซลล์สมองนับแสนทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ โดยจะมีเนื้อเยื่อโครงสร้างเพื่อให้เซลล์สมองอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมและต่อเนื่องถึงกัน กับระบบเส้นเลือดที่ส่งกระแสโลหิตเพื่อหล่อเลี้ยงสารอาหารและออกซิเจนสู่เซลล์สมอง



1548918417052.jpg


▫▪ หน้าที่ของเซลล์สมอง เซลล์โครงสร้าง และระบบไหลเวียน ▪▫

  1. ทำหน้าที่ประสาทรับความรู้สึก
  2. ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ
  3. การมองเห็น
  4. การได้ยิน
  5. สมองกับความฉลาด และความคิด
  6. ความทรงจำ
  7. การเรียนรู้ภาษา
  8. สร้างบุคลิกภาพ
  9. ระบบประสาทอัตโนมัติ ควบคุมการทำงานอวัยวะในร่างกาย ที่อยู่ใต้จิตสำนึก


▫▪ กลไกการจัดเก็บความทรงจำ ▪▫


1548918549430.jpg

1548918551213.jpg


เซลล์สมองที่ทำงานประสานกัน ก่อให้เกิดกลไกการเก็บความทรงจำ โดยระบบสมองส่วนที่รับรู้ความรู้สึกจะเริ่มเก็บข้อมูลที่ร่างกายรับรู้ก่อน ข้อมูลทั้งหมดจะส่งต่อไปสู่สมองส่วนที่สองซึ่งจะประมวลความรู้สึกที่ได้รับเก็บเป็นความจำ (Memory) จากนั้นถูกส่งต่อไปสู่สมองเก็บความทรงจำระยะสั้นก่อน (Short memory) ซึ่งอาจมีความทรงจำบางส่วนสูญหายไปได้ในระหว่างการส่งต่อข้อมูล

ข้อมูลจากความทรงจำระยะสั้น ส่วนที่ได้รับการโฟกัส (Focus) โดยการย้ำคิดและทบทวนด้วยสมาธิ จะถูกคัดส่งต่อสู่สมองเก็บความทรงจำระยะยาว (Long memory) และเช่นเดียวกัน ข้อมูลจากสมองเก็บความทรงจำระยะสั้น ส่วนที่ไม่มีโฟกัสจะสูญหายไปได้ในระหว่างการส่งต่อข้อมูล จะเห็นได้ว่าเมื่อข้อมูลมากเกิน สมองจะเลือกข้อมูลที่จะเก็บไว้เป็นความทรงจำ ข้อมูลที่เก็บสู่สมองความทรงจำระยะยาว จะถูกเก็บไว้ในสมองส่วนต่างๆ แบ่งแยกตามชนิดความจำในสมองแต่ละส่วนอย่างเป็นระเบียบแบบแผน

ข้อมูลจากสมองส่วนความทรงจำระยะยาวจะเก็บบันทึกไว้ พร้อมใช้เมื่อต้องการ ร่างกายจะมีระบบเรียกความทรงจำ (Recall) เพื่อดึงข้อมูลจากสมองมาใช้งาน ข้อมูลที่ดึงมาใช้จะเข้าสู่การทบทวน และบันทึกเข้าสมองอย่างแม่นยำอยู่เสมอ แต่ข้อมูลที่ไม่มี Recall บางส่วนก็จะมีการลืมหรือลดรายละเอียดลงไป ดังนั้น เมื่อสมองเริ่มมีความเสื่อม จะเริ่มมีอาการจากความจำระยะสั้นก่อน เมื่อเสื่อมมากขึ้น ก็จะเริ่มเสียการโฟกัส ค่อยๆ เสียความทรงจำระยะยาว และลุกลามสู่การเสียการ Recall ซึ่งทำให้อาการเสียความทรงจำทั้งระยะสั้นและระยะยาว ส่งผลต่อกระทบกระบวนการคิด วิเคราะห์ อารมณ์อย่างต่อเนื่อง


▫▪ การทำงานสมองส่วนความทรงจำที่มีประสิทธิภาพ ▪▫

  • Memory: การทำงานสมองส่วนเก็บความทรงจำ ระยะสั้น ระยะยาว ทำงานตามปกติ
  • Focus: การทำงานสมองที่คัดเลือกส่วนความจำเพื่อเก็บเข้าสมองส่วนความจำระยะยาวอย่างเป็นระบบ
  • Recall: การทำงานสมองที่เรียกความทรงจำจากส่วนที่บันทึกเก็บไว้มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพการทำงานที่สมบูรณ์ทั้ง 3 ส่วน จะทำให้เรานำประสบการณ์ต่างๆ มาใช้งานได้ ทำให้เราไม่ทำผิดซ้ำๆ ควบคุมความคิดและอารมณ์ตอบสนองอย่างเหมาะสมได้


▫▪ การฝึกการทำงานสมอง (เพิ่ม Memory-Focus-Recall) ▪▫

เนื่องจากสมองทำงานด้วยการประสานงานระหว่าง Memory-Focus-Recall การป้องกันสมองเสื่อมจึงต้องประกอบด้วยการฝึกความจำ การฝึกสมองให้โฟกัสและการฝึกทักษะการเรียกความจำมาใช้อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง

  1. ฝึกเขียนบันทึก (Memory & Focus) การเขียนบันทึกเพื่อการฝึกความจำ เริ่มต้นโดยใช้สมุดจดบันทึกและบันทึกเรื่องราวในแต่ละวันก่อนนอน หรือเขียนสรุปเรื่องราวในแต่ละวันลงไปในสมุดเป็นประจำ
  2. ฝึกคิดด้วยตนเอง (Focus & Recall) พยายามคิดเลขโดยไม่ใช้เครื่องคิดเลข หรือพยายามคิดถึงเรื่องต่างๆ ที่กำลังนึกอยู่ให้ได้ด้วยตนเองก่อนถามจากผู้อื่น การฝึกคิดด้วยตนเองคือการใช้ความคิดอย่างต่อเนื่องมากที่สุด
  3. ฝึกเกมพัฒนาสมอง (Memory & Focus & Recall) ฝึกเกมต่างๆ เช่น เกมคอมพิวเตอร์ เกมในหนังสือ เกมทายคำ หรือเกมกระดานต่างๆ ก็ช่วยพัฒนาสมองและความจำได้เป็นอย่างดี ทำอย่างน้อยวันละ 10-15 นาที

เพื่อป้องกันภาวะสมองเสื่อม แนะนำให้ทำกิจกรรมฝึกสมองทั้งสามชนิดอย่างสม่ำเสมอทุกวันจนเป็นนิสัยเพื่อกระตุ้นให้เซลล์สมองทำงานอยู่ตลอดและชะลอความเสื่อมสมอง


▫▪ สารอาหารดูแลสมอง ▪▫

ภาวะสมองเสื่อมสามารถป้องกันได้ด้วยตัวเองและการได้รับสารอาหารที่มีคุณสมบัติเสริมการทำงานสมองก็เป็นอีกหนึ่งตัวช่วย โดยเฉพาะในภาวะที่สมองเผชิญกับความเครียด และภาวะร่างกายเจ็บป่วย สารอาหารสำคัญที่ช่วยเสริมการทำงานของสมอง ได้แก่

1. สารสกัดจากโสมทะเลทราย หรือซิสแทนเช (Cistanche) มีไฟโตนิวเทรียนท์ที่ช่วยเสริมการทำงานสมอง โดย Glycosides (ได้แก่ Acteoside, Echinacoside และ Isoacteosides) มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระและลดการอักเสบที่เนื้อสมองอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังช่วยเพิ่มสารสื่อประสาทซึ่งช่วยให้เซลล์สมองติดต่อสื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

งานวิจัยทางการแพทย์พบว่า สารสกัดซิสแทนเชช่วยกระตุ้นสารบีดีเอ็นเอฟ (BDNF: Brain Derived Neurotropic Factor) ซึ่งทำหน้าที่ฟื้นฟูการทำงานเซลล์สมองและอาจชะลอภาวะสมองเสื่อม จากการทดสอบในอาสาสมัครพบว่า สารสกัดซิสแทนเช 300 มก. มีผลช่วยเพิ่มประสิทธิภาพความจำได้ใน 6 สัปดาห์

1548918810295.png


2. สารสกัดจากแป๊ะก๊วย (Gingko biloba) มีสาร Ginkgolide ป้องกันหลอดเลือดสมองตีบ กระตุ้นการไหลเวียนเลือดในสมอง ช่วยฟื้นฟูเซลล์สมองที่บกพร่องจากการใช้สมองหนักและเสริมความจำระยะสั้น

1548918840610.png


3. สารสกัดจากใบบัวบก (Centella Asiatica) พบว่าอาจช่วยเสริมความจำ โดยเฉพาะเมื่อใช้ร่วมกับสารอาหารบำรุงสมองอื่นๆ

1548918863367.png


4. น้ำมันปลา (Fish oil) มีกรดไขมันโอเมก้า-3 ซึ่งช่วยชะลอการอักเสบที่เป็นตัวเร่งการเกิดความเสื่อมในเนื้อสมอง ช่วยเสริมความจำ ทั้งยังให้สารอาหารสำคัญต่อเซลล์สมองโดยตรง

1548918895023.png


▫▪ สถานการณ์ภาวะสมองเสื่อมในประชากรไทย ▪▫

“ภาวะสมองเสื่อม” คือกลุ่มอาการที่เกิดจากความผิดปกติต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อสมอง ทำให้ส่งผลกระทบต่อความคิด พฤติกรรม และการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น หลงลืม สูญเสียความทรงจำ จนไม่สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งปัญหานี้พบได้บ่อย และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในผู้สูงวัย โดยเพิ่มขึ้นสองเท่าในทุกๆ 5 ปี หลังอายุ 65 ปี ซึ่งจะเพิ่มไปเรื่อยๆ จนถึงอายุ 90 ปี


1548918965387.jpg


นักวิชาการจึงคาดการณ์ว่า ในประชากรที่อายุมากกว่า 60 ปีทั่วโลก จะพบภาวะสมองเสื่อมจำนวน 35.6 ล้านคน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในปี พ.ศ.2573 และ พ.ศ. 2593 เป็น 65.7 และ 115.4 ล้านคน ตามลำดับ


1548918984169.jpg


ภาวะสมองเสื่อมของประชากรผู้สูงวัยในประเทศไทย

  • ประชากรที่อายุมากกว่า 55 ปี ร้อยละ 1.8-2.0
  • ประชากรที่อายุมากกว่า 60 ปี ร้อยละ 11.4-12.3
  • ประชากรที่อายุ 80 ปีขึ้นไป ร้อยละ 32.5


1548919017991.jpg


▫▪ สาเหตุของ “ภาวะสมองเสื่อม” ▪▫

เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น เซลล์สมองบางเซลล์หยุดทำงาน มีการสูญเสียการเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ หลอดเลือดในสมองอุดตัดหรือแตก รวมไปถึงการขาดสารอาหารที่ส่งผลต่อสารสื่อประสาท การป้องกันสมองเสื่อมจึงต้องดูแลทุกปัจจัยที่อาจเป็นต้นเหตุ

กระบวนการเกิดภาวะสมองเสื่อม จะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ โดยที่เราไม่รู้สึกตัว ซึ่งแบ่งอาการได้ 4 ระยะ

  • ระยะที่ 1 ความทรงจำระยะสั้นเสื่อม (Short memory lost) ระยะก่อนสมองเสื่อม เริ่มมีอาการสูญเสียความจำ โดยเฉพาะความจำระยะสั้น และไม่สามารถรับข้อมูลใหม่ๆ ได้ ทำอะไรช้าลง ไม่ว่าจะเป็นการสนทนา การเลือกใช้คำ หรือการตัดสินใจ เช่น ลืมว่าวางกุญแจไว้ที่ไหน ลืมเบอร์โทรศัพท์ที่เพิ่งรับมา ไม่สามารถท่องจำเรื่องใดๆ ได้
  • ระยะที่ 2 สูญเสียการโฟกัส (focus lost) ระยะเริ่มต้น มีอาการชัดเจน คนใกล้ตัวสังเกตได้ หลงลืมชัดเจน สูญเสียจินตนาการและทักษะที่ซับซ้อน หงุดหงิด เริ่มแยกตัวจากสังคม ประสิทธิภาพการทบทวนเพื่อบันทึกความจำระยะยาวลดลง และอาจประมวลความสำคัญในเรื่องต่างๆ ไม่ได้
  • ระยะที่ 3 สูญเสียความทรงจำระยะยาว (Long memory lost) ระยะปานกลาง ไม่สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ด้วยตนเอง สูญเสียความจำและความคิด เคลื่อนไหวช้าลง เช่น ไม่สามารถจำเรื่องราวที่ผ่านมาได้ จำทางไม่ได้ นึกคำพูดหรือเขียนหนังสือไม่ออก
  • ระยะที่ 4 สูญเสียการเรียกข้อมูลความทรงจำ (Recall dysfunction) ระยะรุนแรง สูญเสียความจำมากขึ้น มีอาการก้าวร้าว พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง สับสนหรือเห็นภาพหลอน หงุดหงิดโมโหง่าย และอารมณ์แปรปรวน จนกระทั่งไม่สามารถตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม เช่น จำไม่ได้ว่าอยู่ที่ไหน ไปตลาดแล้วกลับบ้านไม่ถูก เป็นต้น


1548919170308.jpg


เซลล์สมองส่วนเก็บความทรงจำ จะแบ่งความจำเป็นสองส่วน

  • ความจำระยะสั้น (Short-term Memory) เป็นความจำที่ช่วยให้ระลึกข้อมูลได้ 30 วินาที โดยไม่ต้องท่องซ้ำ เป็นกระบวนการทำงานของเซลล์สมองรับความรู้สึกและเชื่อมต่อกับเซลล์สมองส่วนความจำระยะสั้น ทำงานโดยอัตโนมัดิ แต่ความจำนี้มีขนาดจำกัด หากรับข้อมูลมากๆ สมองจะเก็บความจำได้บางส่วนเท่านั้น
  • ความจำระยะยาว (Long-term Memory) เป็นการเก็บความทรงจำขนาดใหญ่ เพื่อบรรจุข้อมูลที่ไม่จำกัดเวลา (เช่น รักษาไว้ได้จนตลอดชีวิต) ความจำนี้มีขนาดใหญ่มาก มีการเคลื่อนย้ายความทรงจำโดยสมองจะคัดเลือกความทรงจำจากสมองส่วนความจำระยะสั้น และนำมาจัดเก็บในสมองส่วนความจำระยะยาว ซึ่งเราสามารถกำหนดการเคลื่อนย้ายได้ โดยการฝึกทบทวนความจำระยะสั้น แต่อาจมีความทรงจำระยะสั้นบางส่วนหายไประหว่างการส่งต่อ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นความจำที่ไม่ค่อยนึกถึงหรือทบทวน และการขาดสมาธิ


▫▪ 6 วิธีดูแลสุขภาพสมอง ▪▫

กลไกสำคัญที่ช่วยป้องการเซลล์สมองจากภาวะสมองเสื่อมคือ กระบวนการฟื้นฟูเซลล์สมองอย่างมีประสิทธิภาพ (Neuroplasticity) ซึ่งจะทดแทนเซลล์สมองที่ทำงานบกพร่องด้วยเซลล์ใหม่ๆ รักษาการเชื่อมต่อของเซลล์สมอง และซ่อมแซมส่วนต่อเซลล์สมองที่เสียหายตลอดเวลา

นักวิจัยด้านสมองพบว่าสารบีดีเอ็นเอฟ ช่วยควบคุมการซ่อมแซมในสมอง หากสมองเราขาดสารนี้ จะทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อม ดังนั้น ควรต้องดูแลสมองและหลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระทบต่อสารบีดีเอ็นเอฟ ดังนี้

  1. จัดการกับความเครียดและอารมณ์ซึมเศร้า เนื่องจากภาวะดังกล่าวจะกระตุ้นสารอะดรีนาลีน ซึ่งจะไปยับยั้งการทำงานของสารบีดีเอ็นเอฟ และเพิ่มการอักเสบสะสมในสมอง ความเครียดจึงเป็นสาเหตุสำคัญที่เป็นตัวเร่งภาวะสมองเสื่อม
  2. นอนหลับอย่างถูกต้อง ช่วยเพิ่มสารบีดีเอ็นเอฟในสมอง เซลล์สมองจะกำหนดให้เกิดการซ่อมแซมเซลล์ขณะนอนหลับในเวลากลางคืน ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงการนอนดึก ต้องนอนหลับสนิท และนอนเพียงพอ ไม่น้อยกว่า 7 ชั่วโมงต่อวัน
  3. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หรือเพิ่มกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น การเดินขึ้นบันไดแทนการใช้ลิฟต์
  4. ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ด้วยการรับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูงและน้ำตาลน้อย ซึ่งจะช่วยเพิ่มสารบีดีเอ็นเอฟในสมอง
  5. เลือกรับประทานอาหาร เน้นสารอาหารครบถ้วนและกรดไขมันโอเมก้า-3 ควรหลีกเลี่ยง อาหารเคมีและเครื่องปรุงรส
  6. หลีกเลี่ยงการดื่มสุราหรือสูบบุหรี่ รวมไปถึงสารกระตุ้นประสาท


▫▪ แบบประเมินการทำงานของสมรรถภาพทางสมองเบื้องต้น ▪▫


0001_(2).jpg

0002_(1).jpg

ดาวน์โหลดไฟล์ PDF



ข้อมูลอ้างอิง

1. ข้อมูลจาก กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ประเทศไทย
2. อาทิตยา สุวรรณ์ สุทธิศรี ตระกูลสิทธิโชค, ความชุกของภาวะสมองเสื่อมและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ ตำบลหลักหก อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี, สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 เดือน กรกฎาคม-ธันวาคม 2559.
3. What is dementia. www.dementia.org.au
4. Zhiming Li, et al. Herba Cistanche (Rou Cong-Rong): One of the Best Pharmaceutical Gifts of Traditional Chinese Medicine. Front Pharmacol. 2016; 7: 41.
5. Qian Xu, et al. Cistanche tubulosa Protects Dopaminergic Neurons through Regulation of Apoptosis and Glial Cell-Derived Neurotrophic Factor: in vivo and in vitro. Front Aging Neurosci. 2016; 8: 295.
6. Ginkgo Biloba Monograph, Alternative Medicine Review, Volume 3, Number 1, 1998.
7. Kaschel R. Specific memory effects of Ginkgo biloba extract EGb 761 in middle-aged healthy volunteers. Phytomedicine. 2011 Nov 15; 18(14):1202-7.
8. Panupong P, et al. Effects of Centella asiatica (L.) Urb. on cognitive function and mood related outcomes: A Systematic Review and Meta-analysis. Sci Rep. 2017; 7: 10646.
9. Külzow N, et al. Impact of Omega-3 Fatty Acid Supplementation on Memory Functions in Healthy Older Adults. J Alzheimers Dis. 2016;51(3):713-25.
10. The end of alzheimer’s: the first program to prevent and reverse cognitive decline. Dale E Bredeson. Bredeson Publishing LLC, 2017.
11. Alzheimer’s: what you must know to protect your brain. Sandra Cabot. WHAS Pty Ltd,2005.
12. The better brain book: the best tools for improving memory and sharpness and for preventing aging of the brain. David Perlmutter and Carol Colman. Riverhead Books, 2004.
13. Jiang P, Tu P-F. (2009) Analysis of chemical constituents in Cistanche species. Journal of Chromatography A. 1216:1970.
14. Zhao Q, Gao J, Li W. (2010) Neurotrophic and neurorescue effects of Echinacoside in the subacute MPTP mouse model of Parkinson’s disease. Brain Research.1346:224.
15. Choi JG, Moon M, Jeong HU, et. al. (2011) Cistanches Herba enhances learning and memory by inducing nerve growth factor. Behavioral Brain Res 216:652.
16. Weo-Yong L, Yao C, et. al. Molecular pathways related to the longevity promotion and cognitive improved of cistanche tubulosa in Drosophila. Phytomedicine 26 (2017) 37.
17. Wang D, Wang H, Gu L. The antidepressant and cognitive improvement activities of the traditional Chinese herb cistanche. Evidence-Based Comp Altern Med (2017) Article ID 3925903
18. Shia J-Y, Su M-H, et. al. Acteoside and Isoacteoside protect Amyloid B peptide induced cytotoxicity, cognitive deficit, and neurochemical disturbances in vitro and in vivo. Int Journ Mol Sci. 18 (2017) 895.