Key Takeaway
|
Red Light Therapy คือแสงสีแดงความยาวคลื่นต่ำกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ฟื้นฟูเซลล์ผิว ช่วยลดเลือนริ้วรอย รอยแผลเป็น สิว อีกทางเลือกในการทำให้ผิวกระชับดูอ่อนเยาว์ลง
Red Light Therapy (RLT) คือการบำบัดด้วยแสงสีแดง เป็นเทคนิคการรักษาที่ใช้แสงสีแดงในระดับความยาวคลื่นต่ำส่องลงบนผิวหนัง1 ซึ่ง Red Light Therapy มีคุณสมบัติที่จะช่วยกระตุ้นให้ผิวสร้างคอลลาเจนและอิลาสตินเพิ่มขึ้น ทำให้ริ้วรอยดูจางลง รู้สึกถึงผิวอิ่มฟู เรียบเนียน แถมยังลดการอักเสบของผิวอีกด้วย เหมาะสำหรับคนที่ต้องการฟื้นฟูผิวให้ดูอ่อนเยาว์ สุขภาพดีขึ้น และลดปัญหาสิว2
Red Light Therapy จะไปกระตุ้นไมโทคอนเดรีย (Mitochondria) ซึ่งเป็นส่วนประกอบภายในเซลล์ที่ทำหน้าที่ผลิตพลังงาน เปรียบเสมือน “โรงไฟฟ้า” ของเซลล์ เมื่อไมโทคอนเดรียได้รับพลังงานมากขึ้น เซลล์ต่างๆ ก็จะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การซ่อมแซมตัวเอง การสร้างเซลล์ใหม่ และการฟื้นฟูสภาพ เป็นต้น
โดย Red Light Therapy มีกระบวนการทำงาน ดังนี้
Red Light Therapy เป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องความโดดเด่นและการนำไปใช้งานที่หลากหลาย แต่รู้หรือไม่? ว่าแสง LED ยังมีอีกหลากหลายสีที่ให้ความแตกต่างและมีประโยชน์เฉพาะตัว นอกจากสีแดงแล้ว2 ยังมีสีอื่นๆ ที่นิยมนำมาใช้กันบ่อยๆ ดังนี้
Blue Light Therapy เป็นตัวช่วยลดปัญหาสิวที่น่าสนใจ โดยเฉพาะสิวอักเสบเรื้อรังหรือสิวที่ดื้อยา เพราะแสงสีฟ้าจะเข้าไปกำจัดเชื้อแบคทีเรีย P. Acne ต้นเหตุของสิวโดยตรง ทำให้สิวยุบลงและลดการอักเสบได้อย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสำหรับผู้ที่กังวลเรื่องผลข้างเคียงจากยาและต้องการทางเลือกในการรักษาที่อ่อนโยนต่อผิว
Green Light Therapy เป็นตัวช่วยลดเลือนรอยดำได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการทำงานโดยการยับยั้งการสร้างเม็ดสีเมลานินที่เป็นสาเหตุของรอยดำ จึงช่วยให้ผิวดูสว่างใสขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยลดอาการระคายเคืองและการอักเสบของผิว เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องรอยดำ รอยแดง หรือรอยแผลเป็น
Yellow Light Therapy เป็นตัวช่วยลดเลือนฝ้า กระ และจุดด่างดำได้ มีการทำงานโดยการยับยั้งการสร้างเม็ดสีเมลานินที่เป็นสาเหตุของฝ้า กระ จึงช่วยให้ผิวดูสว่างใสขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยลดปัญหาเส้นเลือดฝอยแตก และกระตุ้นการทำงานของระบบไหลเวียนโลหิต ทำให้ผิวดูสุขภาพดีขึ้น เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาฝ้า กระ และต้องการผิวที่กระจ่างใส
แสงสีแดงช่วยอะไร? Red Light Therapy กำลังได้รับความนิยมอย่างมากในการดูแลผิวและรักษาปัญหาผิวต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านต่อไปนี้1
นอกจากนี้ Red Light Therapy ยังใช้รักษาอาการปวดและอักเสบได้ แต่ยังไม่มีวิจัยที่รับรองการรักษาสำหรับโรคบางชนิด เช่น มะเร็งหรือโรคซึมเศร้า ก่อนใช้จึงควรปรึกษาแพทย์ก่อน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีและปลอดภัยที่สุด เนื่องจากการบำบัดด้วยแสงสีแดงอาจมีผลข้างเคียงที่แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล
ข้อดีที่ทำให้ Red Light Therapy ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว3 มีดังนี้
Red Light Therapy เป็นที่นิยมใช้ในการรักษาและฟื้นฟูร่างกาย แต่ก็มีความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัย โดยทั่วไปแล้ว การบำบัดด้วยแสงสีแดงถือว่าปลอดภัยเมื่อใช้ในปริมาณที่เหมาะสมและถูกวิธี แต่หากใช้แสงในระดับสูง หรือการใช้งานที่ไม่ถูกต้อง อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้ นอกจากนี้ การใช้ Red Light Therapy ในระหว่างตั้งครรภ์ยังคงเป็นเรื่องที่ต้องศึกษาเพิ่มเติม เนื่องจากปัจจุบันยังมีข้อมูลวิจัยในด้านนี้อย่างจำกัด
อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาเบื้องต้นในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์จำนวน 380 รายที่ได้รับการบำบัดด้วยแสงเลเซอร์ พบว่า การบำบัดด้วยแสงสีแดงไม่ได้แสดงให้เห็นถึงผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อทั้งคุณแม่และทารกในครรภ์4
Red Light Therapy เป็นการบำบัดด้วยแสงสีแดงในคลื่นความถี่ต่ำที่ส่องลงบนผิวหนัง โดยแสงจะไปกระตุ้นการทำงานของเซลล์ผิว ทำให้เกิดการสร้างคอลลาเจนและอิลาสตินเพิ่มขึ้น พร้อมทั้งช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดและลดการอักเสบของผิว จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดเลือนริ้วรอยและฟื้นฟูผิวให้ดูอ่อนเยาว์ ข้อดีคือเป็นวิธีที่ไม่เจ็บ ไม่ต้องพักฟื้น และสามารถทำได้เองที่บ้าน
อย่างไรก็ตาม ควรใช้ในปริมาณที่เหมาะสมและถูกวิธี และควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ โดยเฉพาะในผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือกำลังตั้งครรภ์ เนื่องจากยังต้องการการศึกษาเพิ่มเติมถึงผลข้างเคียงในระยะยาว
References
Medically. Red Light Therapy. my.clevelandclinic.org. Published 12 January 2021. Retrieved 9 December 2024.
พญาไท 3. บำบัดผิวด้วยการฉายแสง LED ดีอย่างไร เหมาะกับใคร ทำกี่ครั้งจึงเห็นผล?. phyathai.com. Published 23 May 2022. Retrieved 9 December 2024.
ภูริตา บุญล้อม. Red Light Therapy ทางเลือกใหม่เพื่อผิวสวยสุขภาพดี. thestandard.co. Published 25 June 2024. Retrieved 9 December 2024.
Camille Noe Pagán and Leah Rosenbaum. Red Light Therapy: What Is It?. webmd.com. Published 14 May 2024. Retrieved 9 December 2024.