โค้ช เทรนเนอร์ และผู้ก่อตั้ง FIT JUNCTIONS
เครื่องดื่มให้พลังงาน (เอเนอร์จี้ ดริ๊งค์) ช่วยอะไร ช่วยยังไง ทุกสิ่งที่เราต้องรู้! ปัจจุบันมีเอเนอร์จี้ ดริ๊งค์ หรือเครื่องดื่มให้พลังงานให้เลือกมากมายและตามมาพร้อมกับคำถามต่างๆ ซึ่งในบทความนี้จะนำข้อมูลงานวิจัยมาตอบเพื่อให้เข้าใจถึงบทบาทของเอเนอร์จี้ ดริ๊งค์
เครื่องดื่มเอเนอร์จี้ ดริ๊งค์ ได้รับความนิยมสูงเพราะดื่มแล้วมีแรง ไม่ง่วง ทำให้ทำงานระหว่างวันได้อึดขึ้น รวมถึงออกกำลังกายได้เข้มข้นขึ้นด้วย ดังนั้นจึงเหมาะกับผู้ที่ต้องการ “BOOST” ระดับพลังงานระหว่างวันหรือก่อนออกกำลังกาย
โดยทั่วไปแล้ว ส่วนผสมที่ให้พลังงานจริงๆ คือ น้ำตาล ซึ่งแน่นอนว่า นี่คือสิ่งที่เราต้องคำนึง เพราะถ้าดื่มมากเกินไปก็สะสมเป็นพลังงานส่วนเกิน ทำให้อ้วนได้ ดังนั้น ถ้าชอบดื่มเอเนอร์จี้ ดริ๊งค์ แนะนำให้เลือกสูตรไม่มีน้ำตาลจะดีมาก!
มี! เยอะมาก! นอกจากการวิจัยเกี่ยวกับเอเนอร์จี้ ดริ๊งค์ แล้ว ยังมีการวิจัยเกี่ยวกับส่วนผสมแต่ละชนิดแยกต่างหากอีกด้วย! ถ้าสรุปให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ เราสามารถอ้างอิงจาก “จุดยืน” ของสถาบันระดับโลกได้ เพราะสถาบันเหล่านี้จะอ้างอิงจากงานวิจัยที่น่าเชื่อถือ และสรุปออกมาเป็นคำแนะนำให้เราทำตามได้ง่าย
ในปี 2013 ทางสมาคมโภชนาการการกีฬาระหว่างประเทศ (International Society of Sports Nutrition หรือ ISSN) ได้ประกาศจุดยืนอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับเอเนอร์จี้ ดริ๊งค์ ซึ่งพบว่าส่วนผสมหลักๆ ของเอเนอร์จี้ ดริ๊งค์ คือคาเฟอีน (Caffeine) และการดื่มเอเนอร์จี้ ดริ๊งค์ ก่อนออกกำลังกาย 10 - 60 นาที ช่วยเพิ่มสมรรถภาพต่างๆ เช่น สมาธิ (Mental Focus) ความตื่นตัว (Alertness) และสมรรถภาพในการออกกำลังกาย (Capacity) ทั้งการออกกำลังกายแบบแอนแอโรบิค (Anaerobic) และการออกกำลังกายแบบแอนดูแรนซ์ (Endurance) ซึ่งปริมาณที่แนะนำคือ 1 เสิร์ฟต่อวัน
ทั้งนี้ ISSN ได้แจ้งเตือนว่าในเอเนอร์จี้ ดริ๊งค์ ที่มีน้ำตาลสูง อาจจะให้พลังงานมากเกินไป ทำให้อ้วนได้ รวมถึงผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเกี่ยวกับตับหรือระบบประสาท หรือกินยาตามแพทย์สั่ง ควรระวัง
ปัจจุบันคาเฟอีนถูกจัดอยู่ในหมวดหมู่ของสารเออร์โกเจนิก (Ergogenic Aids) คือส่วนผสม ที่ช่วยให้เรามีแรง อึด เพิ่มสมรรถภาพ หรือเพิ่มความสามารถในการฟื้นตัวได้ คาเฟอีนจึง เป็นที่นิยมที่สุดและมีงานวิจัยรองรับจำนวนมาก เรียกได้ว่าเป็นที่ยอมรับกันในสถาบันระดับสากล จึงไม่น่าแปลกใจที่ในปี 2021 ทาง ISSN ได้ประกาศจุดยืนอีกครั้งเกี่ยวกับคาเฟอีน ซึ่งคำแนะนำก็คล้ายๆ กับในหัวข้อ “มาดูจุดยืนของสถาบันระดับโลกกัน”
ISSN ยังอ้างอิงงานวิจัยอีกหลายงานที่พบว่าในเอเนอร์จี้ ดริ๊งค์ ที่มีคาเฟอีน (Caffeine) + ทอรีน (Taurine) + วิตามินบี (Vitamin B) หรือแม้แต่แอล-คาร์นิทีน (L-Carnitine) ช่วยเพิ่มความอึดและพละกำลังได้ซึ่งก็มีการศึกษาแยกย่อยกันไป ในปัจจุบันเราพบว่า ทอรีนช่วยในการทำงานของหัวใจ สมอง และระบบไหลเวียน ทั้งยังช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ส่วนวิตามินบี 1 วิตามินบี 6 และ วิตามินบี 12 ช่วยเรื่องการทำงานของระบบประสาท ทำให้เราตื่นตัวและสดชื่น
เอเนอร์จี้ ดริ๊งค์ รูปแบบใหม่ที่ให้พลังงาน 0 แคลอรี เพราะไม่ใส่น้ำตาล จึงดื่มได้โดยไม่ต้องกังวลถึงพลังงานส่วนเกิน (ดื่มก่อนออกกำลังกาย) หรือผู้ที่ทำงานและต้องการพลังงาน (ดื่มระหว่างวัน)
ข้อมูลอ้างอิง
• Campbell, B., Wilborn, C., La Bounty, P., Taylor, L., Nelson, M. T., Greenwood, M., Ziegenfuss, T. N., Lopez, H. L., Hoffman, J. R., Stout, J. R., Schmitz, S., Collins, R., Kalman, D. S., Antonio, J., & Kreider, R. B. (2013). International Society of Sports Nutrition position stand: energy drinks. Journal of the International Society of Sports Nutrition, 10(1). https://doi.org/10.1186/1550-2783-10-1
• Grgic, J., Trexler, E. T., Lazinica, B., & Pedisic, Z. (2018). Effects of caffeine intake on muscle strength and power: a systematic review and meta-analysis. Journal of the International Society of Sports Nutrition, 15(1). https://doi.org/10.1186/s12970-018-0216-0
• Guest, N. S., VanDusseldorp, T. A., Nelson, M. T., Grgic, J., Schoenfeld, B. J., Jenkins, N. D. M., Arent, S. M., Antonio, J., Stout, J. R., Trexler, E. T., Smith-Ryan, A. E., Goldstein, E. R., Kalman, D. S., & Campbell, B. I. (2021). International society of sports nutrition position stand: caffeine and exercise performance. Journal of the International Society of Sports Nutrition, 18(1). https://doi.org/10.1186/s12970-020-00383-4
• Souza, D. B., del Coso, J., Casonatto, J., & Polito, M. D. (2016). Acute effects of caffeine-containing energy drinks on physical performance: a systematic review and meta-analysis. European Journal of Nutrition, 56(1), 13–27. https://doi.org/10.1007/s00394-016-1331-9