02 NOV 2021 คอร์ปอเรตและกิจกรรมเพื่อสังคม 2 นาทีในการอ่าน 3026 VIEWS

รู้เท่าทันภัยเงียบที่ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้แบบไม่รู้ตัว

อยู่บ้านต้องปลอดฝุ่น เพราะไม่เห็นไม่ได้แปลว่าไม่มี! 

รู้เท่าทันภัยเงียบที่ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้แบบไม่รู้ตัว

0.0.jpg

บทความประชาสัมพันธ์: 16/06/2564

 

จากในสถานการณ์ตอนนี้ ทุกคนใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในบ้านและออกนอกบ้านเพื่อทำกิจกรรมที่จำเป็นเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน การกินข้าว การออกกำลังกาย การใช้เวลากับครอบครัว รวมไปถึงการนอนหลับก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายในบ้านทั้งนั้น ดังนั้นเราจึงควรทำให้ในบ้านเป็นสถานที่ที่ปลอดภัยจากอันตรายต่างๆ ที่สุด โดยภัยอันตรายจากสิ่งที่มองเห็นนั้นอาจจะป้องกันและหาวิธีรับมือได้ไม่ยาก แต่สำหรับภัยที่มองไม่เห็นอย่างฝุ่นละอองและสารปนเปื้อนล่ะ จะทำอย่างไร?

1.4.jpg

ฝุ่นละอองเป็นสิ่งที่ลอยฟุ้งอยู่ทั่วไปในอากาศรอบๆ ตัวเราอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากเป็นสิ่งที่เล็กมากจนมองไม่เห็นทำให้หลายๆ คนเผลอละเลยไป แต่รู้ไหมว่าเจ้าสิ่งเล็กจิ๋วนี้เป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญของโรคภูมิแพ้ ที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายอย่างคาดไม่ถึง ในเมื่อไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แพทย์หญิงอัญชลี เสนะวงษ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารเวชศาสตร์ ภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันวิทยา สถาบันภูมิแพ้ Samitivej Allergy Institute (SAI) โรงพยาบาล BNH, สมิติเวชธนบุรีและสมิติเวชศรีราชา มีข้อมูลมาแนะนำให้เราทำความรู้จักกับฝุ่นละออง โรคภูมิแพ้ และวิธีรับมือ เพื่อปกป้องทั้งตัวเราและคนที่รักได้ในทุกๆ วัน

 

รู้จักกับโรคภูมิแพ้

โรคภูมิแพ้เป็นโรคที่เกิดขึ้นกับคนจำนวนมาก ในกลุ่มเพื่อนของเรากลุ่มหนึ่งจะต้องมีสักคนที่เป็นโรคนี้ โดยจำนวนผู้ป่วยของโรคภูมิแพ้ทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้นในทุกปี จากการสำรวจในประเทศไทยพบว่า อุบัติการณ์โรคภูมิแพ้เพิ่มขึ้น 3-4 เท่า ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก จากการสำรวจพบว่าในเด็กอายุ 6-7 ปี มีอาการภูมิแพ้ทางจมูกถึง 47.3% และในเด็กอายุ 13-14 ปี มีถึง 54.9%

 

โรคภูมิแพ้เกิดจากอะไร
0.2.jpg

โรคภูมิแพ้เกิดได้จาก 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่ พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งสิ่งแวดล้อมประกอบไปด้วยหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นสารก่อภูมิแพ้และสารระคายเคืองทางเดินหายใจ ทั้งจากในบ้าน เช่น ไรฝุ่น แมลงสาบ เชื้อรา เชื้อไวรัส และจากนอกบ้าน เช่น มลภาวะ PM2.5, แก๊ส, สารประกอบอินทรีย์ระเหยง่ายหรือเชื้อโรคต่างๆ ซึ่งถ้าหากเราสัมผัสสารกระตุ้นภูมิแพ้เหล่านี้เป็นระยะเวลานานก็จะทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ เช่น

  • ภูมิแพ้ระบบทางเดินหายใจ เยื่อบุตาและผิวหนัง โดยเฉพาะเชื้อไวรัส ยังก่อให้เกิดการติดเชื้อทางเดินหายใจแบบฉับพลันได้ เช่น อะดีโนไวรัส ไข้หวัดใหญ่ โคโรน่าไวรัส เป็นต้น
  • อาการหลอดลมไวในระยะยาว โดยเฉพาะในเด็กเล็กทำให้เป็นโรคหอบเมื่อโตขึ้น เช่น ฮิวแมนไรโนไวรัส, RSV ซึ่งอนุภาคของไวรัสเหล่านี้นั้นขนาดเล็กได้ถึงระดับ 0.1 ไมครอน ถ่ายทอดผ่านการสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย เสมหะ ไอ จาม ละอองฝอยที่ลอยในอากาศทำให้ติดต่อกัน และสารคัดหลั่งเหล่านี้อาจค้างบนเสื้อผ้า ฝ่ามือหรือผิวหนัง ได้นานเป็นชั่วโมงหรือนานเป็นวัน

 

ภูมิแพ้อากาศมีอาการอย่างไร

คนที่เป็นโรคภูมิแพ้อากาศจะมีอาการคัน จาม น้ำมูกไหล คัดจมูก ตาแดงคัน ไอหรือกระแอมเรื้อรัง น้ำมูกลงคอ คันในคอ กรนหายใจดัง บางรายอาจมีไซนัสหรือหูชั้นกลางอักเสบได้ หากมีภาวะหลอดลมไวด้วย จะมีอาการแน่นหน้าอก หายใจลำบาก มีเสียงคล้ายนกหวีดเมื่อหอบเหนื่อย โดยเฉพาะเมื่อถูกกระตุ้นโดยฝุ่นควัน อากาศแห้งเย็น การออกกำลังกายหรือหัวเราะวิ่งเล่นอย่างหนักในเด็กเล็ก

2.2.jpg

ฝุ่นละอองและสารปนเปื้อนจากสิ่งแวดล้อมต่างๆ นอกจากจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้แล้วยังทำให้เกิดมลภาวะทางอากาศอีกด้วย เพราะในอากาศมีทั้งอนุภาค โลหะหนัก และแก๊ส ที่สามารถแทรกซึมเข้ามาภายในบ้านแม้ปิดประตูหน้าต่าง หรือมลพิษที่เกิดจากกิจกรรมต่างๆ ภายในบ้านก็มีด้วยเช่นกัน เช่น การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า ควันธูป การทำอาหาร บุหรี่ โดยการที่ร่างกายต้องพบเจอกับมลภาวะทางอากาศนานๆ ก็ทำให้เกิดผลกระทบต่างๆ ตามมา เช่น

  • เกิดการระคายเคืองเยื่อบุผิว ตา ทางเดินหายใจ และกระตุ้นอาการภูมิแพ้
  • เกิดการอักเสบในร่างกาย ส่งผลระยะยาว โดยจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง หลอดเลือดหัวใจ โรคปอดเรื้อรัง โรคมะเร็งปอด มะเร็งทางเดินอาหาร ทำให้การพัฒนาของถุงลมปอดในเด็กลดลง มีรายงานพบระดับ IQ ของบุตรลดลงหากมารดาสัมผัส PM2.5 ตั้งแต่ตอนตั้งครรภ์ รวมทั้งยังพบว่าลดอายุขัยด้วย โดย PM2.5 ที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 10 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร จะทำให้อายุขัยสั้นลงได้ 0.98 ปี

 

3.2.jpg

ไม่เพียงแค่มนุษย์เท่านั้นที่ได้รับผลกระทบจากมลภาวะทางอากาศ สัตว์เลี้ยงที่รักของทุกคนก็ได้รับด้วยเช่นกัน โดยอาการของสัตว์ที่เกิดขึ้นคือ ไอ หายใจลำบาก อ้าปากหายใจ หายใจเสียงดังกว่าปกติ หายใจถี่ เหงือกซีด ซึม อ่อนแรง ระคายเคืองตา มีน้ำตาไหล น้ำมูกมาก กินอาหารลดลง และหิวน้ำบ่อย

 

การลดความเสี่ยงของสารก่อภูมิแพ้ภายในบ้าน

ทุกคนควรขจัดสารก่อภูมิแพ้ให้ออกไปมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ สามารถทำได้หลายวิธี เช่น ใช้ผ้าคลุมที่นอนกันไรฝุ่น ใช้เจลกำจัดแมลงสาบ อาบน้ำสัตว์เลี้ยงทุกอาทิตย์ ทำความสะอาดบ้านเป็นประจำ โดยการขจัดสารเหล่านี้ต้องอาศัยความสม่ำเสมอและอาจทำได้ยาก เพราะอนุภาคสารก่อภูมิแพ้บางชนิดอาจลอยในอากาศและมีขนาดเล็กมากจนมองไม่เห็น แต่สามารถใช้ตัวช่วยในการกำจัดสิ่งเหล่านี้ได้ด้วยการเลือกใช้เครื่องกรองอากาศชนิดเส้นใยคุณภาพสูงหรือ HEPA filter ซึ่งสามารถกรองอนุภาคได้อย่างละเอียด สามารถกรองอนุภาคมลภาวะและยังสามารถลดปริมาณสารก่อภูมิแพ้และเชื้อโรคในบ้านอีกด้วย

 

4.jpg

 

โดยล่าสุด บริษัท แอมเวย์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ออกผลิตภัณฑ์ “แอทโมสเฟียร์ มินิ” เครื่องกรองอากาศขนาดไซส์มินิ เคลื่อนย้ายสะดวก เต็มเปี่ยมไปด้วยประสิทธิภาพการกรองอากาศภายในบ้านและรองรับเทคโนโลยีที่ทันสมัย สามารถกรองสารก่อภูมิแพ้จำนวนมาก โดยสามารถกรองสิ่งปนเปื้อนในอากาศได้กว่า 300 ชนิด* ได้ถึง 99.99%** และกรองอนุภาคขนาดเล็กถึง 0.0024 ไมครอน** นอกจากนี้ยังสามารถลดสารเคมีปนเปื้อนในอากาศ 13 ชนิด*** และลดกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆ มอบอากาศที่สะอาดด้วยประสิทธิภาพการกรอง 3 ขั้นตอน คือกรองหยาบ กรองกลิ่น และกรองฝุ่น ด้วยแผ่นกรอง 3 in 1 ควบคุมการทำงานจากทุกหนแห่งสะดวกง่ายดายผ่านแอพพลิเคชั่น Atmosphere Connect ติดตั้งระบบ RFID เพื่อบันทึกการทำงานและเตือนการเปลี่ยนแผ่นกรองได้อย่างแม่นยำ มาพร้อมกับโหมดการทำงานกลางคืน (Night Mode) เพื่อการนอนหลับสนิทของผู้ใช้งานแม้เปิดใช้ในยามค่ำคืน การันตีคุณภาพด้วยมาตรฐานรับรองระดับโลกจาก Allergy UK หรือสถาบันโรคภูมิแพ้ และจากสมาคมผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน หรือ AHAM

 

Atmosphere_mini_(5).jpg

 

เพราะมนุษย์เราขาดอากาศไม่ได้ ทุกคนจึงควรใส่ใจกับอากาศเป็นอย่างยิ่ง อย่าให้ความไม่แน่นอนของสิ่งที่มองไม่เห็นที่นำมาซึ่งโรคภัยต่างๆ ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของเราไม่ดีได้ ทุกคนควรทำความเข้าใจและหาวิธีป้องกันอย่างถูกวิธีและสม่ำเสมอ เพราะอากาศสะอาดจะช่วยดูแลสุขภาพที่ดีให้คุณและคนที่คุณรักในทุกๆ วัน

 


 

ที่มาข้อมูลโรคภูมิแพ้

  • Boonyarittipong P. et al. Prevalence of allergic diseases in Thai children. J Pediatr Soc Thailand 1990; 29 : 24-32.
  • Vichyanond P. et al. Prevalence of asthma, allergic rthinitis and eczema among university students in Bangkok. Respir Med 2002; 96; 34-8.
  • Trakultivakorn M. et al. Time Trends of the Prevalence of Asthma, Asthma, Rhinits and Eczema in Thai Children-ISAAC (International Study of Asthma and Allergies in Childhood) Phase Three. Journal of Asthma, 44:8, 609-611
  • Chinratanapisit et al. Prevalence and risk factors of allergic rhinitis 2019;37:232-239

 

ข้อมูลผลิตภัณฑ์

* ทดสอบโดยห้องทดลองอิสระด้วยวิธีการประเมินด้วยแบบจำลองคอมพิวเตอร์
** ทดสอบโดยห้องทดลองอิสระตามมาตรฐาน EN1822 European HEPA ผลทดสอบแบบ Single Pass Efficiency
*** ทดสอบโดยปล่อยสิ่งปนเปื้อนที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเข้าสู่เครื่องกรองอากาศในสภาพแวดล้อมที่มีการควบคุม