มูลนิธิแอมเวย์เพื่อสังคมไทยโดยความร่วมมือจากกองบัญชาการตำรวจ ตระเวนชายแดน ร่วมเดินทางขยายพื้นที่ฟาร์มสุขภาพของหนูสู่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีโรงเรียนและศูนย์การเรียนตำรวจ ตระเวนชายแดน 22 แห่ง เข้าร่วมโครงการเพื่อให้นักเรียนกว่า 1,600 คน มีสุขภาพแข็งแรง เติบโตสมวัย และสร้างสังคม ที่เข้มแข็งยั่งยืน
จัดกิจกรรมแบ่งปันความรู้ ให้ครูและผู้นำชุมชน
o การดูแลโภชนาการ
o การส่งเสริมการเรียนรู้
o การทำเกษตรยั่งยืน
จำหน่ายวัตถุดิบที่เหลือ เพื่อเป็นรายได้ หมุนเวียนกลับ สู่โรงเรียน
คุณกิจธวัช ฤทธีราวี |
ตลอดเวลาที่เราได้ดำเนินโครงการฟาร์มสุขภาพของหนูมา 3 ปี เราได้สนับสนุนทั้งในด้านการแบ่งปันความรู้โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญและมอบเงินทุน 100,000 บาทต่อโรงเรียนให้แก่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในพื้นที่ภาคตะวันตก ภาคใต้ และภาคเหนือ รวม 57 แห่ง เพื่อพัฒนาพื้นที่การเกษตรให้เป็นเสมือนคลังอาหารที่มีวัตถุดิบที่หลากหลายสำหรับเปลี่ยนเป็นอาหารที่ครบโภชนาการให้เด็กๆ และปีนี้เรายังคงเดินหน้าขยายพื้นที่อย่างต่อเนื่องไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อให้เด็กๆ ที่นี่ได้มีสุขภาพที่ดีและสนุกกับการเรียนรู้จากการลงมือทำจริงไปพร้อมๆ กัน
พลเรือเอกโสภณ บุญชม |
โครงการฟาร์มสุขภาพของหนูปีนี้ เราได้จัดกิจกรรมแบ่งปันความรู้ให้แก่ครูและผู้นำชุมชน (Farm Guru) ผ่านช่องทางออนไลน์ไปเรียบร้อยแล้ว ซึ่งตัวแทนจากทุกโรงเรียนได้แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจจริงในการนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาพื้นที่เกษตรในโรงเรียน สิ่งที่พวกเราทำเป็นเสมือนการเข้าไปส่งเสริมและต่อยอดแนวทางการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ที่ทางโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนทำอยู่แล้ว เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีปริมาณเพียงพอและครบคุณค่าทางโภชนาการของเด็กๆ ทั้งโรงเรียนมากยิ่งขึ้น
คุณธัณย์จิรา พื้นชมภูจิรโชติ |
สิ่งที่เราได้เห็นจากการดำเนินโครงการตลอดช่วง 3 ปีที่ผ่านมา คือความใส่ใจในการจัดอาหารแต่ละมื้อที่มีส่วนประกอบของคุณค่าอาหาร ที่หลากหลายมากขึ้น และได้มีการนำผลผลิต เช่น ไข่ไก่ ไข่เป็ด พืชผัก รวมทั้งเมล็ดพันธุ์ ส่งต่อให้แก่ผู้ปกครองถึงที่บ้านโดยผ่านน้องนักเรียน เพื่อเพิ่มโอกาสให้เด็กๆ ได้รับโภชนาการที่ครบถ้วนขณะที่อยู่บ้านด้วย ซึ่งในปีนี้แต่ละโรงเรียนก็ได้บอกเล่าแนวทางในการจับมือแบ่งปันความรู้ให้แก่ผู้ปกครองมากขึ้น
คุณถิราภรณ์ เพชราภินันท์ |
นอกจากโภชนาการที่ดีสำหรับเด็กๆ แล้ว ความน่าสนใจอีกอย่างหนึ่งคือ เราได้เห็นการจัดการทรัพยากรหมุนเวียนในพื้นที่เพื่อลดต้นทุน ในการซื้อปุ๋ยและอาหารสัตว์ และการนำผลผลิตที่เหลือจากการบริโภคมาแปรรูปเพื่อยืดอายุของผลผลิต รวมทั้งจำหน่ายให้แก่ชุมชนเพื่อนำมาเป็นรายได้หมุนเวียนของโรงเรียน เช่น ผลผลิตแปรรูปท้องถิ่นอย่างผักกาดดองยูนนาน ปลาแดดเดียว และไข่เค็ม
คุณภารดี ปิยนันทวารินทร์ |
อีกสิ่งสำคัญของโครงการนี้คือ การที่คุณครูจูงมือเด็กๆ มาลงพื้นที่เกษตรด้วยกัน ตั้งแต่เริ่มต้นวางแผนการปลูก มอบหมายให้เด็กได้รับผิดชอบงานเกษตร โดยคุณครูคอยดูแลอย่างใกล้ชิด เด็กๆ จึงได้เรียนรู้จากการลงมือทำจริง (Active Learning) ได้แก้ไขปัญหาจริงซึ่งจะเป็นทักษะการคิด การตัดสินใจ และการทำงานที่จะติดตัวเด็กๆไปใช้ได้ในชีวิตประจำวันต่อไป
ชมวีดีโอโครงการ |
ชมการสร้างฟาร์มสุขภาพของหนู ของแต่ละโรงเรียน |