โครงการฟาร์มสุขภาพของหนู ปี 3 โดยกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนและมูลนิธิแอมเวย์เพื่อสังคมไทย จับมือกูรูผู้เชี่ยวชาญ บอกเล่าเคล็ดลับการดูแลสุขภาพและการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กๆ เพื่อให้มีพัฒนาการสมวัย ซึ่งไม่ได้เป็นเพียงเคล็ดลับสำหรับดูแลเด็กๆ ในพื้นที่ห่างไกลในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน 22 แห่งในจังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน และตาก เท่านั้น แต่ยังสามารถนำมาปรับใช้ในการดูแลเด็กน้อยที่บ้านของเราได้ด้วย
รศ.ดร.สุวิมล ทรัพย์วโรบลประธานหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาโภชนาการและการกำหนดอาหาร คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
เมื่อร่างกายพร้อม สมองก็พร้อมเรียนรู้ และสนุกกับกิจกรรมต่างๆ
เนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่วเมล็ดแห้ง | |
ให้โปรตีน วิตามิน แร่ธาตุ ทำให้ร่างกายเติบโต ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ | |
ข้าว แป้ง เผือก มัน และน้ำตาล | |
ให้คาร์โบไฮเดรต ให้พลังงานเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน | |
ผัก | |
ให้วิตามิน แร่ธาตุ ทำให้ระบบต่างๆ
ในร่างกายทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ใยอาหารช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลและไขมันเข้าสู่ร่างกาย | |
ผลไม้ | |
ให้วิตามิน แร่ธาตุ ช่วยให้ระบบต่างๆ
ของร่างกายทำงานได้ตามปกติ | |
ไขมันจากสัตว์และจากพืช | |
ไขมันให้พลังงานเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน ช่วยในการดูดซึมวิตามินที่ละลายในไขมัน |
ซึ่งมีผลต่อประสิทธิภาพการเรียนรู้ของเด็กๆ สารอาหารที่ช่วยพัฒนาสมองเด็กพบได้ที่ไหนบ้าง
ด้วยการจัดเมนูอาหารเป็นแบบชุดล่วงหน้าสำหรับ 10 - 15 วันไม่ซ้ำกัน เมื่อเด็กๆ ได้กินครบทุกเมนูแล้วค่อยวนกลับไปเมนูแรกใหม่เพียงเท่านี้ เด็กๆ ก็จะคาดเดาเมนูแต่ละวันไม่ได้แล้ว
ด้วยนมรสจืดหรือน้ำผลไม้ตามธรรมชาติ หรือผลไม้สดไม่ปรุงแต่งรส ไม่หมักดอง รวมทั้งขนมไทยที่รสไม่หวานจัด
ดร.วรนาท รักสกุลไทยนักการศึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาปฐมวัยและการพัฒนาเด็ก |
ส่งเสริมให้สมองของเด็กพัฒนาอย่างมีคุณภาพ และได้เรียนรู้ว่าการมีสุขภาพดีเริ่มต้นได้ที่ตัวเอง
เพื่อป้องกันเซลล์สมองถูกทำลายจากความเครียดและความวิตกกังวลต่างๆ
สมองจะจดจำได้ดีเมื่อเด็กๆ ได้เรียนรู้ผ่านการลงมือทำ (Active Learning) |
ชวนเด็กๆ มีส่วนร่วมตั้งแต่แรก โดยกระตุ้นให้เด็กๆ ตั้งคำถามและเป็นผู้ริเริ่มทำสิ่งต่างๆ ซึ่งจะทำให้เด็กๆ มีแรงผลักดันจากภายใน จากนั้นเปิดโอกาสให้เขาคิดอย่างยืดหยุ่น วางแผน ฝึกแก้ปัญหา และฝึกการตัดสินใจอยู่เรื่อยๆ เช่น ครูจากโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนที่ชวนนักเรียนให้มาร่วมกันคิดวางแผนการปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ และรับผิดชอบการดูแลพื้นที่การเกษตรจนถึงขั้นตอนเก็บเกี่ยวผลผลิต เพื่อนำมาทำเป็นอาหารกลางวันสำหรับนักเรียนทุกคน โดยมีครูคอยสนับสนุนอยู่ใกล้ๆ สิ่งเหล่านี้จะทำให้เด็กๆ ได้เรียนรู้จากการลงมือทำจริง และยังภูมิใจกับผลงาน ซึ่งจะเสริมความมั่นใจและยังเป็นทักษะชีวิตติดตัวเขาไปตลอดชีวิต
นาวาโทอัทธา พงศ์สุวรรณศูนย์การเรียนรู้เกษตรอินทรีย์แบบผสมผสาน บ้านทุ่งลุงโก้ |
จุดเริ่มต้นของมื้ออาหารคุณภาพ สำหรับเด็กๆ คือการวางแผนการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์อย่างเหมาะสม
และรู้จักใช้ทรัพยากรที่มีอยู่มาหมุนเวียนเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น การนำวัชพืชและมูลสัตว์มาเป็นส่วนผสมในการทำปุ๋ยธรรมชาติเพื่อบำรุงพืชผัก
และเลี้ยงสัตว์ด้วยวัตถุดิบธรรมชาติ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ปลอดภัยและยังมีรสชาติอร่อยอีกด้วย
สำหรับบ้านของเราเอง ลองจัดพื้นที่เล็กๆ แล้ววางแผนและลงมือปลูกพืชผัก
สวนครัวง่ายๆ ร่วมกับเด็กๆ และเมื่อมีผลผลิตออกมาแล้วก็ให้พวกเขาได้มี
ส่วนร่วมในการเก็บพืชผักไปปรุงอาหารรับประทานกัน
การสร้างฟาร์มสุขภาพของแต่ละโรงเรียน