13 FEB 2025 บทความผลิตภัณฑ์ 4 นาทีในการอ่าน

ผมมันง่ายเกิดจากอะไร? บอกลาปัญหาผมมันด้วยวิธีแก้ฉบับได้ผลจริง

  • ผมมันง่ายเกิดจากต่อมไขมันบนหนังศีรษะผลิตน้ำมัน หรือซีบัม ออกมามากเกินไป ทำให้ผมถูกเคลือบด้วยน้ำมันทั่วบริเวณ
  • ภาวะผมมันง่ายส่งผลให้เกิดปัญหาหนังศีรษะ คือโรคผิวหนังอักเสบเซบเดอร์มาติส (Seborrheic Dermatitis) เป็นภาวะที่หนังศีรษะมีความอักเสบและคันจนทำให้ผิวหนังลอก หรืออาจกลายเป็นรังแคได้
  • วิธีแก้ปัญหาผมมันง่าย เช่น เลือกใช้แชมพูสำหรับผมมัน ใช้ครีมนวดผมอย่างถูกวิธี ใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำมัน และดูแลเส้นผมอย่างอ่อนโยน เป็นต้น
  • สาเหตุที่สระผมแล้วผมยังมันง่าย เช่น ปัญหาความไม่สมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย ที่ส่งผลต่อการผลิตซีบัมออกมา การกินอาหารที่กระตุ้นการผลิตซีบัมอย่างนมและอาหารที่มีน้ำตาลสูง หรือการไม่ได้ทำความสะอาดสิ่งของต่างๆ ที่ใช้กับเส้นผมและหนังศีรษะ อย่างหวี แปรง ผ้าเช็ดผม เป็นต้น

ผมมันง่าย อาการแรกเริ่มของปัญหาผมร่วง! เกิดจากการผลิตไขมันที่เรียกว่าซีบัม (Sebum) ออกมามากเกินไป วิธีแก้ผมมันที่ได้ผลคือการใช้แชมพูที่ช่วยดูแลหนังศีรษะให้สมดุล 

ผมมันง่ายเกิดจากอะไร

หลายๆ คนเผชิญกับปัญหาผมมันง่าย ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพหนังศีรษะอย่างมาก ซึ่งสาเหตุของผมมันนั้น เกิดจากการผลิตไขมันตามธรรมชาติของต่อมไขมันบนหนังศีรษะที่เรียกว่า ‘ซีบัม’ (Sebum) ต่อมไขมันชนิดนี้มีหน้าที่ในการผลิตไขมันออกมาเพื่อให้หนังศีรษะและผมมีความชุ่มชื้น แต่หากผลิตซีบัมออกมามากเกินไปจะทำให้เกิดผมมัน และตามมาด้วยปัญหาอื่นๆ เช่น รังแค รูขุมขนอุดตัน สิว เป็นต้น 

สำหรับสาเหตุที่ทำให้ผลิตซีบัมออกมามากเกินไปนั้น มีปัจจัยที่ส่งผลหลายอย่าง เช่น การมีประจำเดือนของผู้หญิง การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในวัยรุ่น การตั้งครรภ์ การไม่สระผมหรือสระผมบ่อยเกินไป รวมไปถึงลักษณะของเส้นผมที่เส้นตรงและเล็กจะมีโอกาสเกิดผมมันได้ง่ายกว่าคนผมหยิกและหยักศก เป็นต้น1

ผมมัน สาเหตุของรังแคและเชื้อรา

น้ำมันส่วนเกินบนหนังศีรษะและเส้นผมมีส่วนทำให้เกิดโรคผิวหนังอักเสบเซบเดอร์มาติส (Seborrheic Dermatitis) เป็นภาวะที่หนังศีรษะมีการอักเสบและคันจนทำให้ผิวหนังลอก หรืออาจกลายเป็นรังแคได้ ซึ่งรังแคก็ถือเป็นหนึ่งในภาวะโรคผิวหนังอักเสบเซบเดอร์มาติส ที่มีต้นเหตุจากผมมัน เกิดจากเชื้อราลักษณะคล้ายยีสต์ชื่อ Malassezia ที่เติบโตและกินน้ำมันบนหนังศีรษะ ทำให้เกิดการอักเสบ คัน และผิวหนังลอกในที่สุด2

Amway_-_Jan_3_(ผม_มัน_ง่าย)_Content_(1).jpg

7 วิธีแก้ผมมันง่าย

ปัญหาผมมันง่ายเป็นปัญหาที่หลายๆ คนเผชิญในชีวิตประจำวัน เนื่องจากพฤติกรรมและกิจกรรมการใช้ชีวิต รวมถึงการใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมที่มีส่วนผสมของน้ำมันโดยไม่รู้ตัว พฤติกรรมเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุของภาวะผมมันง่าย ซึ่งหากมีความรุนแรงอาจนำไปสู่ปัญหาทางผิวหนังอักเสบได้ 

ในบทความนี้จึงนำเสนอ 7 วิธีการแก้ไขปัญหาผมมันง่ายๆ ทำได้ด้วยตัวเอง ดังนี้

1. เลือกใช้แชมพูสำหรับผมมัน

ผู้ที่มีผมมันง่าย ควรให้ความสำคัญกับการเลือกใช้แชมพู เพราะโดยทั่วไปแล้ว แชมพูอาจมีส่วนผสมของสารช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นของเส้นผมและหนังศีรษะ แต่ในกรณีของผู้ที่มีภาวะผมมันง่ายจะไม่ต้องการแชมพูที่ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น เพราะจะยิ่งทำให้เกิดน้ำมันบนหนังศีรษะและเส้นผมมากขึ้น 

สำหรับส่วนผสมในแชมพูที่เหมาะสมกับคนผมมันง่าย เช่น แคลริฟายอิ้งแชมพู (Clarifying Shampoo) ที่นอกจากจะช่วยกำจัดไขมันส่วนเกินแล้ว ยังช่วยในการกำจัดสารเคมีตกค้างจากแชมพู ครีมนวดผม และผลิตภัณฑ์จัดแต่งทรงผมอื่นๆ อีกด้วย1

แนะนำ ซาทินิค เพียวริฟายอิ้งแชมพูและคอนดิชันเนอร์ แชมพูสำหรับผมมัน ด้วยเทคโนโลยีไฟโตไลโปโซม มีสารแอนติออกซิแดนท์ มาพร้อมคุณสมบัติการทำความสะอาดอย่างล้ำลึก ขจัดรังแคและลดความมันบนหนังศีรษะ สร้างเกราะป้องกัน เพิ่มความชุ่มชื้น เพิ่มสมดุลสุขภาพของหนังศีรษะ รวมถึงช่วยทำความสะอาดฝุ่น PM 2.5 บนหนังศีรษะได้ถึง 96%*

*จากผลการทดสอบทางคลินิก ร่วมกับอาสาสมัครจำนวน 21 คน รายงานผลโดย DERMAPRO Ltd.

2. ใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ

การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของคนผมมันง่าย เพราะผลิตภัณฑ์ธรรมชาติมีคุณสมบัติหลากหลายที่จะช่วยดูแลรักษาเส้นผมและหนังศีรษะของคนผมมันง่ายให้มีสุขภาพแข็งแรง 

เช่น ทีทรีออยล์ (Tea Tress Oil) มีคุณสมบัติช่วยกำจัดรังแค รักษาอาการคันหนังศีรษะ บำรุงเส้นผม ว่านหางจระเข้ สารสกัดจากชาเขียว และน้ำมันมะพร้าว ช่วยกำจัดความมันและทำให้เส้นผมนุ่มลื่น แอปเปิ้ลไซเดอร์ ช่วยปรับสมดุลความกรดด่างของเส้นผม เป็นต้น

และส่วนผสมจากธรรมชาติที่ขาดไม่ได้เลยก็คือโรสแมรี่ ที่มีส่วนช่วยให้เส้นผมมีสุขภาพดีขึ้น เนื่องจากในโรสแมรี่อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่ช่วยในการกำจัดไขมันและลดปัญหารังแค ช่วยลดความมันบนหนังศีรษะ เนื่องจากคุณสมบัติของโรสแมรี่ที่เข้าไปลดการผลิตน้ำมันในเส้นผมนั่นเอง

3. ใช้ครีมนวดผมอย่างถูกวิธี

การใช้ครีมนวดผมช่วยให้เส้นผมมีความชุ่มชื้นขึ้น คนที่ผมมันง่ายจำเป็นต้องใช้ครีมนวดผมอย่างถูกวิธี โดยการชโลมเฉพาะส่วนที่บริเวณเส้นผม หรือส่วนปลายผม ระวังอย่าให้ครีมนวดผมสัมผัสกับหนังศีรษะโดยตรง เพราะอาจทำให้ล้างทำความสะอาดออกได้ยาก หากล้างออกไม่หมดจะเกิดเป็นคราบไขมันสะสมบนหนังศีรษะ ส่งผลให้เกิดปัญหาผมมันตามมาได้1

4. หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำมัน

ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมและจัดแต่งผมมักจะมีส่วนประกอบของน้ำมันเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นของหนังศีรษะและเส้นผม รวมไปถึงสารซิลิโคนที่ช่วยให้เส้นผมนุ่มลื่น มีน้ำหนัก และเงางาม เช่น ไซโคลเมทิโคน (Cyclomethicone) อะโมดิเมทิโคน (Amodimethicone) และเมทิโคน (Methicone) เป็นต้น 

ซึ่งส่วนผสมเหล่านี้จะทำให้เกิดการสะสมไขมันส่วนเกินบนหนังศีรษะและเส้นผมได้ ในกรณีคนที่ผมมันง่ายจึงต้องระมัดระวังและพยายามหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมเหล่านี้1 

5. สระผมอย่างถูกวิธี 

การสระผมอย่างถูกวิธีก็เป็นหนึ่งในการแก้ปัญหาผมมันง่าย โดยให้ใช้แชมพูในปริมาณน้อยต่อครั้ง ขณะสระผมให้เน้นการทำความสะอาดบริเวณรากผมและหนังศีรษะเป็นหลัก ใช้ปลายนิ้วค่อยๆ นวดหนังศีรษะ ไม่ใช้เล็บเกาผิวหนังรุนแรง ในการล้างทำความสะอาดใช้น้ำสะอาดล้างตั้งแต่รากผม ปล่อยให้น้ำไหลผ่านปลายผม โดยไม่ต้องใช้แชมพูลงบริเวณดังกล่าว และต้องล้างน้ำให้สะอาด สิ่งสำคัญที่ไม่ควรทำคือ การเกาหนังศีรษะอย่างรุนแรง เพราะนอกจากจะทำให้เกิดอาการอักเสบแล้ว ยังมีส่วนทำให้ซีบัมผลิตน้ำมันออกมามากขึ้นอีกด้วย1

6. สระผมวันละครั้ง

ผู้ที่มีผมมันง่ายควรให้ความสำคัญในการสระผมเป็นประจำทุกวัน วันละครั้ง เพื่อให้เส้นผมและหนังศีรษะมีความสะอาด ขจัดไขมันสะสมต่างๆ ทั้งนี้การสระผมเป็นประจำทุกวันเป็นสิ่งที่เหมาะสม ไม่ควรสระผมน้อยหรือมากกว่านี้ เพราะจะส่งผลต่อการผลิตไขมันของต่อมไขมันบนหนังศีรษะได้ ทำให้ผมมันง่ายขึ้น1

7. ดูแลเส้นผมอย่างอ่อนโยน

ต่อมไขมันเป็นสิ่งที่ถูกกระตุ้นได้ง่าย เมื่อมีการกระตุ้นหนังศีรษะ ไม่ว่าจะเป็นการเกาศีรษะแรงๆ การหวีผมแรงๆ การลูบผม การเสยผมบ่อยๆ พฤติกรรมเหล่านี้เป็นตัวกระตุ้นการผลิตไขมันออกมา ส่งผลให้เกิดภาวะผมมันง่าย ดังนั้น ผู้ที่มีผมมันง่ายจึงต้องระมัดระวังพฤติกรรมเหล่านี้ และพยายามดูแลเส้นผมและหนังศีรษะด้วยความอ่อนโยน1 

Amway_-_Jan_3_(ผม_มัน_ง่าย)_Content_(2).jpg

สระผมแล้วแต่ทำไมผมถึงยังมัน?

แม้ว่าการสระผมจะเป็นการขจัดคราบมันบนหนังศีรษะและเส้นผมให้มีความสะอาดแล้ว แต่ในบางกรณีพบว่า หลังสระผมก็ยังมีภาวะผมมันอยู่ ซึ่งปัญหาเหล่านี้เกิดได้จากหลายๆ สาเหตุ ดังนี้

  • ต่อมไขมันบนหนังศีรษะผลิตไขมันออกมามากเกินไป อาจเกิดจากปัญหาสุขภาพ เช่น ความไม่สมดุลของฮอร์โมน เป็นต้น3 
  • ลักษณะของเส้นผมก็มีส่วน เช่น ผมเส้นเล็กหรือตรง จะมีความเสี่ยงผมมันง่ายมากกว่า เพราะซีบัมสามารถกระจายไปทั่วศีรษะได้ง่ายกว่าผมเส้นใหญ่หรือหยักศก3
  • ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของน้ำมันและล้างทำความสะอาดไม่เพียงพอ เกิดเป็นคราบมันสะสมบนหนังศีรษะ จึงต้องสังเกตส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม ใช้แชมพูสำหรับผมมันง่าย และพยายามล้างผมให้สะอาดทุกวัน3
  • สิ่งของที่ใช้กับผมและหนังศีรษะมีคราบมันติดค้างอยู่ เช่น หวี แปรง ผ้าเช็ดผม หรือหมวก หากไม่ทำความสะอาดเป็นประจำ จะทำให้คราบมันติดที่เส้นผมจนทำให้ผมมันได้เช่นกัน3 
  • อาหารบางชนิดอย่างผลิตภัณฑ์นมและอาหารที่มีน้ำตาลสูง อาจส่งผลต่อฮอร์โมนเอสโตรเจนที่มีผลต่อการผลิตซีบัม จึงควรระมัดระวังในการกินอาหารที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงผลิตซีบัมที่มากเกินไป3

สรุป

ภาวะผมมันง่ายเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ง่าย สาเหตุของผมมันเกิดจากต่อมไขมันบนหนังศีรษะผลิตซีบัม หรือน้ำมัน ออกมามากเกินไป ส่งผลต่อการอักเสบ อาการคัน รังแค ตลอดจนผมร่วง ซึ่งสาเหตุที่ต่อมไขมันผลิตซีบัมออกมามากนั้นก็มีหลายๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นลักษณะของเส้นผม ความไม่สมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย หรือพฤติกรรมในการชีวิต เช่น การใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของน้ำมัน สระผมบ่อยเกินไปหรือน้อยเกินไป เกาหนังศีรษะรุนแรง เป็นต้น 

ซึ่งภาวะผมมันง่ายอาจนำไปสู่ปัญหาหนังศีรษะที่รุนแรงขึ้นได้ เช่น โรคผิวหนังอักเสบเซบเดอร์มาติส ที่จะก่อให้เกิดอาการอักเสบ คัน ผิวลอก เป็นรังแค และผมร่วงได้ ทั้งนี้ สามารถแก้ไขปัญหาผมมันได้ง่ายๆ ด้วยตัวเอง คือเลือกใช้แชมพูสำหรับผมมัน ใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำมัน และดูแลเส้นผมอย่างอ่อนโยน เป็นต้น

Reference 

  1. POBPAD. ผมมัน สาเหตุ และวิธีดูแลสุขภาพผม. POBPAD.com. Retrieved 23 January 2025.
  2. WebMD. Why Is My Hair So Oily? How to Manage Oily Hair. WebMD.com. Published 27 September 2024. Retrieved 23 January 2025.
  3. Medical News Today. What causes greasy hair after washing it?. medicalnewstoday.com. Published 30 March 2021. Retrieved 23 January 2025.