08 AUG 2024 บทความผลิตภัณฑ์ 4 นาทีในการอ่าน 997 VIEWS

ยาสีฟันโพรไบโอติก ตัวช่วยลดแบคทีเรียร้ายในช่องปาก

โพรไบโอติกไม่ได้มีดีแค่กับลำไส้เท่านั้น! แต่โพรไบโอติก คือแบคทีเรียดี ที่ดีต่อระบบนิเวศไมโครไบโอมในช่องปาก ช่วยสร้างสมดุล ลดจำนวนจุลินทรีย์ตัวร้ายที่เป็นสาเหตุของปัญหาช่องปาก ดังนั้น ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของโพรไบโอติก จึงช่วยลดแบคทีเรียที่ไม่ดีในช่องปากได้

ฟันผุอันตรายกว่าที่คิด

ฟันผุเกิดจากการสะสมของแบคทีเรียในช่องปากที่ผลิตกรดกัดกร่อนฟัน อาการทั่วไปของฟันผุ ได้แก่ การเสียวฟันเมื่อสัมผัสกับอาหาร หรือเครื่องดื่มที่มีรสหวาน ร้อน หรือเย็น ฟันอาจแตกเป็นรู หรือมีจุดสีดำ และในบางครั้งอาจจะมีอาการปวดฟันร่วมด้วย ทั้งนี้ อาจจะทำให้ฟันเป็นหนอง หรือต้องถอนฟันในที่สุด 1,2

อย่างไรก็ตาม อาการฟันผุ สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อในปอด เกิดโรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองตีบ โรคมะเร็งช่องปากได้ 1 ดังนั้น จึงไม่ควรมองข้ามเมื่อมีอาการฟันผุ ต้องรีบแก้ไข และต้องหาวิธีป้องกันฟันผุนั่นเอง

แบคทีเรียในช่องปาก สาเหตุหลักของการเกิดฟันผุ

แบคทีเรียในช่องปากสามารถย่อยสลายคาร์โบไฮเดรตในอาหารที่เรากินได้ จากนั้นจะผลิตกรดอินทรีย์ อย่าง กรดแลคติกออกมา ซึ่งจะทำให้สภาวะในช่องปากเป็นกรด สามารถละลายแร่ธาตุบนผิวเคลือบฟันได้ เมื่อแร่ธาตุถูกละลายออกจากเคลือบฟัน ฟันจะเริ่มผุ และเสียหาย ทำให้เกิดรูฟันที่ลึกขึ้นจนกลายเป็นฟันผุ

เมื่อแบคทีเรียในช่องปากเยอะขึ้น แบคทีเรียที่พบในคราบพลัค (Plaque) ซึ่งเกาะอยู่บนผิวฟัน จะทำให้กระบวนการนี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากไม่ได้รับการทำความสะอาดอย่างเหมาะสม ดังนั้น จึงต้องเลือกใช้ยาสีฟันที่มีโพรไบโอติก เพราะสามารถลดแบคทีเรียในช่องปาก ที่เป็นสาเหตุของฟันผุได้3

ยาสีฟันที่มีโพรไบโอติก ตัวช่วยลดแบคทีเรียร้ายในช่องปาก

ยาสีฟันที่มีโพรไบโอติก ตัวช่วยลดแบคทีเรียร้ายในช่องปาก

โพรไบโอติก คือ จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และดีต่อสุขภาพช่องปากหลายประการ เนื่องจากเป็นการนำแบคทีเรียดีมาช่วยควบคุม และยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียไม่ดีในช่องปาก ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของปัญหาสุขภาพช่องปาก อย่างฟันผุ และโรคเหงือกอักเสบ4 

ซึ่งในปัจจุบัน ก็มียาสีฟันโพรไบโอติก (Probiotic Toothpaste) ที่มีการใส่แบคทีเรียโพรไบโอติก ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ดีที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพช่องปาก เพื่อรักษาสมดุลของแบคทีเรียในช่องปาก และฟัน โดยประสิทธิภาพของโพรไบโอติกในยาสีฟันนั้น สามารถช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่ไม่ดี ที่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพในช่องปากได้ 

ซึ่งการใช้ยาสีฟันโพรไบโอติกเป็นประจำช่วยลดคราบหินปูน ลดเลือดออกตามไรฟัน ลดการอักเสบของเหงือก ยับยั้งการสร้างกรดที่ทำให้เกิดฟันผุ และลดกลิ่นปากได้ ซึ่งแบคทีเรียโพรไบโอติกที่ใส่ในยาสีฟัน ได้แก่ แลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) และบิฟิโดแบคทีเรีย (Bifidobacteria) ซึ่งเป็นแบคทีเรียดีชนิดเดียวกับในโยเกิร์ต และอาหารหมัก 

อย่างไรก็ตาม ยาสีฟันโพรไบโอติกเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ และมีไม่กี่แบรนด์ยาสีฟัน ที่จะมีส่วนผสมของโพรไบโอติก ทั้งนี้ นอกจากการใช้ยาสีฟันโพรไบโอติก จะช่วยลดแบคทีเรียในช่องปากแล้ว ยังส่งผลดีต่อสุขภาพช่องปาก ดังนี้

ป้องกันฟันผุ

ป้องกันฟันผุ

โพรไบโอติกในยาสีฟัน ช่วยเพิ่มแบคทีเรียดีในช่องปาก และสร้างสารยับยั้ง เพื่อกำจัดแบคทีเรียที่ไม่ดี อย่าง สารแบคเทริโอซิน (Bacteriocin) ซึ่งช่วยในการควบคุมลดแบคทีเรียในช่องปาก ที่สามารถก่อให้เกิดโรค เช่น สเตร็พโตคอคคัส มิวแทน (Streptococcus Mutans) ที่เป็นตัวกระตุ้นการเกิดฟันผุได้ ทั้งยังช่วยปรับสมดุลกรด-เบส เพื่อลดความเสี่ยงของฟันผุจากกรดที่เกิดจากแบคทีเรียไม่ดี4

ลดความเสี่ยงการเกิดโรคเหงือก

โพรไบโอติกสามารถผลิตสารที่มีฤทธิ์ยับยั้ง หรือฆ่าเชื้อแบคทีเรียก่อโรค เช่น กรดแลคติก ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ และแบคทีริโอซิน สารเหล่านี้สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในช่องปาก ช่วยรักษาสมดุลของจุลินทรีย์ในช่องปาก ทำให้สภาพแวดล้อมไม่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่ก่อโรค ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคเหงือกได้5

ลดการก่อตัวของคราบพลัค

โพรไบโอติกช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดปัญหาในช่องปาก เช่น สารยับยั้งกรดแลคติก โพรไบโอติกบางสายพันธุ์จะช่วยลดความเป็นกรดในช่องปาก ทำให้แบคทีเรียที่ก่อให้เกิดคราบพลัคไม่สามารถเจริญเติบโตได้6

ช่วยลดกลิ่นปาก

โพรไบโอติกช่วยลดกลิ่นปากอันไม่พึงประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในผู้ป่วยโรคปริทันต์ (โรคเหงือกอักเสบ) รุนแรง ที่ใช้โพรไบโอติกชนิดแลคโตบาซิลลัสเป็นเวลา 90 วัน การศึกษาพบว่า ช่วยลดกลิ่นปากได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ โพรไบโอติกยังมีประโยชน์ในการขจัดคราบแบคทีเรียบนฟัน และบรรเทาอาการเหงือกอักเสบ ลดแบคทีเรียในช่องปากอันเป็นสาเหตุของการเกิดกลิ่นปากด้วย4

ส่วนผสมอื่นๆ ที่ช่วยป้องกันฟันผุ

ส่วนผสมอื่นๆ ที่ช่วยป้องกันฟันผุ

นอกจากยาสีฟันโพรไบโอติกจะมีโพรไบโอติกจุลินทรีย์ดี ที่ช่วยลดแบคทีเรียในช่องปาก อันเป็นสาเหตุของการเกิดปัญหาในช่องปากแล้ว ยาสีฟันโพรไบโอติกยังมีส่วนผสมอื่นๆ ที่ช่วยป้องกันฟันผุได้ด้วย ดังนี้

ชาขาว

ยาสีฟันโพรไบโอติกที่มีส่วนผสมของชาขาว ที่เป็นแหล่งรวมของสารที่มีประโยชน์หลายประเภท เช่น ฟลูออไรด์ (Fluoride) แคเทชิน (Catechin) และแทนนิน (Tannin) เมื่อสารเหล่านี้ที่มีอยู่ในยาสีฟันทำงานร่วมกัน จะช่วยยับยั้ง และลดการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในช่องปากที่ก่อให้เกิดฟันผุ นอกจากนี้ ยังเสริมความแข็งแรงของผิวฟัน ช่วยป้องกันไม่ให้อาหารที่มีความเป็นกรดเข้ามากัดกร่อน และทำลายชั้นฟันภายใน7

กานพลู

ยาสีฟันโพรไบโอติกที่มีส่วนผสมของกานพลู จะช่วยทำให้ฟันแข็งแรงขึ้น เคลือบผิวฟันให้แข็งแรง ทำให้ลดการเกิดฟันผุได้ ช่วยลดการสะสมของคราบแบคทีเรียบนฟัน ลดอาการเหงือกอักเสบ และช่วยลดแบคทีเรียในช่องปาก จึงนำมาใช้เสริมการป้องกัน และรักษาโรคปริทันต์ในอนาคตได้ 8

มินต์

ยาสีฟันโพรไบโอติกที่มีส่วนผสมของมินต์ จะมีคุณสมบัติหลักในการต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านการอักเสบ ช่วยกระตุ้นน้ำลาย ช่วยกำจัดแบคทีเรียในช่องปากที่อาจทำให้ฟันผุได้ นอกจากนี้ ยังช่วยลดอาการเลือดออก และบรรเทาอาการเหงือกบวมหลังการผ่าตัดในช่องปากได้ เช่น การถอนฟัน ช่วยปรับระดับ pH ในปาก ลดแบคทีเรียในช่องปาก ยับยั้งการพัฒนาของเชื้อโรคที่ทำให้ฟันผุ โรคเหงือก และความผิดปกติในช่องปากที่สำคัญอื่นๆ9

ยูคาลิปตัส

ยาสีฟันโพรไบโอติกที่มีส่วนผสมของยูคาลิปตัส ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในช่องปากที่เป็นอันตราย ช่วยป้องกันการก่อตัวของคราบพลัค ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดฟันผุ นอกจากนี้ น้ำมันหอมระเหยในยูคาลิปตัสยังช่วยลดกลิ่นปาก มอบลมหายใจที่สดชื่น ช่วยบรรเทาอาการปวดฟัน ช่วยลดอาการเหงือกอักเสบได้10

สรุป

ยาสีฟันโพรไบโอติกช่วยลดแบคทีเรียในช่องปากโดยการใช้จุลินทรีย์ดีที่ช่วยควบคุม และยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในช่องปากที่ไม่ดี ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของฟันผุ และโรคเหงือก โพรไบโอติกในยาสีฟันช่วยเพิ่มแบคทีเรียดีในช่องปาก สร้างสารยับยั้ง เช่น แบคเทริโอซิน ลดการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดฟันผุ ช่วยรักษาสมดุลจุลินทรีย์ในช่องปาก ลดการก่อตัวของคราบพลัค และช่วยลดกลิ่นปาก เป็นต้น นอกจากนี้ ยาสีฟันโพรไบโอติกยังมีส่วนผสมอื่นๆ เช่น ชาขาว กานพลู มินต์ และยูคาลิปตัส ที่ช่วยเสริมความแข็งแรงของผิวฟัน และป้องกันฟันผุได้อย่างมีประสิทธิภาพ

*ที่มา GlobalData http://gdretail.net/amway-claims

Referent

  1. หัทยา ศิริสวย. ฟันผุ เสี่ยงโรคอะไรบ้าง. vichaiyut.com. Published 23 May 2024. Retrieved 3 July 2024.  

  2. บางปะกอก3. ฟันผุ เสี่ยงโรค. bangpakok3.com. Published 12 December 2022. Retrieved 3 July 2024.  

  3. นราวัลลภ์ เชี่ยววิทย์. โรคในช่องปาก. si.mahidol.ac. Published 1 November 2010. Retrieved 3 July 2024.  

  4. pobpad. โพรไบโอติกกับประโยชน์ต่อสุขภาพช่องปากและฟัน. pobpad.com. Retrieved 3 July 2024.  

  5. มนัสนันท์ชูสิริ ชูสิริ. โพรไบโอติกส์เพื่อการรักษาโรคปริทันต์. he01.tci-thaijo.org. Published January 2022. Retrieved 4 July 2024.  

  6. Hambire. Evaluation of effect of consumption of probiotics on the gingival and periodontal health status in children undergoing chemotherapy. journals.lww.com. Published September 2023. Retrieved 4 July 2024.  

  7. ผู้จัดการออนไลน์. 5 ประโยชน์ของ "ชาขาว" ชาจากธรรมชาติ บำรุงสุขภาพ. mgronline.com. Published January 2014. Retrieved 4 July 2024.  

  8. pobpad. กานพลู สมุนไพรต้านโรค มีประโยชน์ต่อช่องปาก. pobpad.com. Retrieved 4 July 2024.  

  9. Varun Verma. Here's How Mint Benefits Your Oral Health. onlymyhealth.com. Published 9 March 2023. Retrieved 4 July 2024.  

  10.  Debra Rose Wilson. The health benefits of eucalyptus. medicalnewstoday.com. Published 13 November 2023. Retrieved 4 July 2024.