เหงือกอักเสบ เกิดจากการทำความสะอาดช่องปากไม่ดีพอ ควรรีบป้องกันเหงือกอักเสบด้วยการบำรุงสุขภาพช่องปากให้ดี และเลือกใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของสมุนไพรบำรุงเหงือก
เหงือกที่สุขภาพดีจะมีสีชมพูอ่อนหรือชมพูอมแสด เรียบเนียน แนบแน่นกับฟัน ไม่มีอาการบวมหรืออักเสบ ไม่มีรอยแตกหรือแหว่ง และจะไม่มีเลือดออกเมื่อแปรงฟันหรือใช้ไหมขัดฟัน7
เหงือกอักเสบ (Gingivitis) คือ ภาวะที่เหงือกเกิดการอักเสบ โดยอาจเกิดจากการสะสมของคราบพลัค (Plaque) ซึ่งเป็นคราบจุลินทรีย์ที่เกาะติดอยู่ที่ผิวฟันและซอกฟัน หากไม่ทำความสะอาดอย่างถูกวิธี คราบพลัคจะสะสมมากขึ้นและแข็งตัวกลายเป็นหินปูน (Tartar) ซึ่งจะยิ่งทำให้อาการเหงือกอักเสบรุนแรงขึ้นได้16 โดยเหงือกอักเสบสามารถสังเกตได้จากอาการ ดังนี้
อาการของโรคเหงือกอักเสบแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะโรคเหงือกอักเสบ และระยะโรคเยื่อหุ้มฟันอักเสบ ซึ่งจะมีอาการและความรุนแรงที่แตกต่างกัน ดังนี้5
เป็นอาการในระยะแรกที่จะเกิดขึ้นบริเวณรอยต่อของฟันและเหงือก โดยจะมีอาการเลือดออกในขณะที่แปรงฟันหรือการใช้ไหมขัดฟัน เหงือกบวมแดง หรือมีอาการปวดที่เหงือก ซึ่งในระยะนี้สามารถหายเองได้ด้วยการแปรงฟันอย่างถูกวิธี ด้วยใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของสมุนไพรที่ช่วยกำจัดคราบพลัค และแบคทีเรียสะสมในช่องปาก เพื่อให้ช่องปากสะอาด ทำอย่างสม่ำเสมอ เท่านี้ก็จะช่วยบรรเทาอาการโรคเหงือกอักเสบแล้ว แต่หากอาการไม่ดีขึ้นก็ควรจะไปพบทันตแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษา
โรคเยื่อหุ้มฟันอักเสบเป็นอาการที่อาจเกิดตามมาเมื่ออาการโรคเหงือกอักเสบถูกปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานาน จนอาจทำให้เกิดร่องลึกในฟันหรือเหงือกจากการย่นหดของเนื้อเยื่อ อาจทำให้เนื้อเยื่อที่ช่วยยึดเหงือกและฟันได้รับความเสียหายจนอาจทำให้ต้องเสียฟันไปในท้ายที่สุด เมื่อเป็นโรคเยื่อหุ้มฟันอักเสบจึงควรรีบเข้าพบทันตแพทย์เพื่อรักษาทันที
จากการศึกษาพบว่า ปัญหาเหงือกอักเสบหรือเหงือกบวมสามารถเกิดขึ้นได้จากปัจจัยหลากหลายอย่าง ดังนี้
โดยในทุกปัจจัยการสะสมของแบคทีเรียและคราบพลัคจะเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดปัญหาเหงือกได้ ดังนั้นการใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมในการต้านแบคทีเรีย และสร้างสมดุลของจุลินทรีย์ที่ดีหรือไมโครไบโอมในช่องปากอย่าง มะนาว สะเดา ขิง ทีทรี ยูคาลิปตัส การบูร และใบโหระพาจึงสำคัญมากต่อการต้านปัญหาเหงือกอักเสบ1,5,6,7
ปัญหาเหงือกอักเสบสามารถรักษาได้ ทั้งวิธีการป้องกันเหงือกอักเสบด้วยตัวเอง และการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากโดยทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ดังนี้
วิธีการป้องกันปัญหาเหงือกอักเสบที่ดีและง่ายที่สุดนอกจากจะเป็นการแปรงฟันอย่างสม่ำเสมอแล้ว การเลือกยาสีฟันที่มีคุณภาพ มีส่วนช่วยต้านแบคทีเรียและคราบพลัค สร้างสมดุลของจุลินทรีย์ที่ดีหรือไมโครไบโอมในช่องปาก โดยไม่ทำลายผิวเคลือบฟันยังเป็นสิ่งที่สำคัญมากด้วย โดยยาสีฟันสมุนไพรที่ดี ควรมีส่วนผสมของสมุนไพร 11 ชนิดที่จะมีส่วนช่วย ดังนี้1,2,3,6
การดูแลรักษาช่องปากโดยทันตแพทย์ เป็นอีกวิธีในการรักษาเหงือกบวมให้แข็งแรงไม่อักเสบ โดยวิธีการดูแลรักษาช่องปากโดยทันตแพทย์จะมีดังนี้1,3,6
ปัญหาเหงือกอักเสบสามารถเกิดขึ้นได้กับคนหลายกลุ่ม ดังนี้5
ปัญหาเหงือกอักเสบสามารถป้องกันได้ ดังนี้1,3,6
เหงือกอักเสบ คือภาวะที่เหงือกเกิดการอักเสบ บวม มักเกิดจากการสะสมของคราบพลัค ซึ่งเป็นคราบจุลินทรีย์ที่เกาะติดอยู่ที่ผิวฟันและซอกฟัน โดยจะมีอาการ เหงือกบวมแดง เหงือกมีเลือดออกง่าย เหงือกร่น พร้อมกับกลิ่นปากที่ไม่พึงประสงค์ หากปล่อยไว้นาน เหงือกอักเสบอาจลุกลามเป็นโรคปริทันต์อักเสบ ซึ่งอาจทำให้สูญเสียฟันได้ ดังนั้นจึงควรป้องกันเหงือกอักเสบด้วยตนเองโดยการแปรงฟันอย่างถูกวิธี สม่ำเสมอ และเลือกใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของสมุนไพรที่ช่วยลดคราบพลัคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Reference
Newman, T. Causes and Treatment of Gingivitis. medicalnewstoday.com. Publish 30 November 2023. Retrieved 17 january 2024.
Plus Dental Clinic. เหงือกบวมทำไงดี? รวมวิธีรักษาอาการโรคเหงือกอักเสบด้วยตัวเอง. Plusdentalclinic.com. Publish (no date). Retrieved 17 january 2024.
วิมลกาญจน์ ดำรงรัตน์นุวงศ์. โรคเหงือกอักเสบ. Medparkhospital.com. Publish 26 September 2022. Publish (no date). Retrieved 17 january 2024.
Murakami S, Mealey BL, Mariotti A, Chapple ILC. Dental plaque–induced gingival conditions. J Periodontol. 2018; 89(Suppl 1): S17–S27. Publish (no date). Retrieved 17 january 2024.
BIDC. โรคเหงือกหรือโรคปริทันต์ เหงือกอักเสบ เกิดจากอะไร?. Thailanddentalclinic.com. Publish (no date). Retrieved 17 january 2024.
Frisbee, E. (2021, July 30). Gingivitis and Periodontal Disease (Gum Disease). webmd.com. Publish 30 July 2021. Retrieved January 17, 2024.
พญาไท 3. เหงือกอักเสบบวมแดงต้องรีบรักษา เพื่อแก้ปัญหาก่อนสูญเสียฟัน. webmd.com. Publish 01 December 2021. Retrieved January 17, 2024.