บางคนอาจมีอาการแพ้ขนแมวเพราะเลี้ยงแมวภายในบ้าน แต่จริงๆ แล้วอาการนี้เกิดจากสาเหตุใด รู้ได้อย่างไรว่าแพ้ และโดยทั่วไป สามารถป้องกันหรือมีวิธีแก้ได้อย่างไรบ้าง ใครที่อยากเลี้ยงแมว แต่ไม่แน่ใจว่าแพ้ขนแมวรึเปล่ามาสังเกตอาการของตัวเองกันก่อนได้เลย
การแพ้ขนแมว ร่างกายอาจไม่ได้แพ้จากขนโดยตรง แต่คือการแพ้สารแปลกปลอมหรือสารก่อภูมิแพ้ (Allergen) บางคนจึงมีอาการแพ้ขนแมว หลังจากได้สัมผัสจับต้อง หรือใกล้ชิดแมว นั่นเพราะระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายเข้าใจว่าขนแมวเป็นสารแปลกปลอมหรือสารที่ก่อภูมิแพ้ซึ่งเป็นสิ่งอันตราย ร่างกายจึงมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารดังกล่าว ทำให้เกิดอาการแพ้ตามมา1แต่อย่างไรก็ตามขนแมว สะเก็ดผิวหนัง น้ำลาย หรือปัสสาวะของแมวก็เป็นแหล่งสะสมของไรฝุ่น เชื้อรา ละอองเกสรดอกไม้1หรือสารก่อภูมิแพ้อื่นๆ ด้วยเช่นกัน เมื่อได้รับเข้าสู่ร่างกายผ่านการหายใจหรือสัมผัส จึงไม่แปลกถ้าเกิดผื่นแพ้ขนแมวขึ้นมา
สาเหตุที่ทำให้แพ้ขนแมว มาจากสารก่อภูมิแพ้ที่พบในเซลล์ผิวหนัง น้ำลาย และปัสสาวะของแมว โดยสารก่อภูมิแพ้นั้นมีน้ำหนักเบามาก ทำให้ลอยขึ้นไปอยู่ในอากาศได้นาน เมื่อร่างกายได้สูดดมสารดังกล่าวก็อาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้ อีกทั้งอนุภาคของสารมีลักษณะขรุขระ สารก่อภูมิแพ้ในแมวจึงสามารถลอยไปติดได้กับทุกที่ภายในบ้าน ทั้งเสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์ ผ้าปูที่นอน รวมถึงสิ่งของต่างๆ และยังสามารถแพร่กระจายต่อไปได้ถึงที่สาธารณะนอกบ้าน เช่น โรงเรียน ที่ทำงาน โรงพยาบาล เป็นต้น ด้วยเหตุนี้มีโอกาสเจอขนแมวจากสถานที่ใดก็ได้ จึงอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้คนที่ไม่ได้เลี้ยงแมวมีอาการแพ้ขนแมวได้เช่นกัน2
สารก่อภูมิแพ้จากแมวกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ตามอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย มีอาการตั้งแต่ทั่วไป ไปจนถึงอาการแพ้รุนแรง ซึ่งเป็นอาการในระบบทางเดินหายใจและผิวหนัง ดังนี้
ทั้งนี้บางคนอาจมีอาการรุนแรงทางผิวหนังที่เรียกว่า โรคผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ เกิดขึ้นร่วมด้วย เช่น ลมพิษ กลาก ตุ่มขึ้น เป็นต้น นอกจากนี้อาการแพ้ขนแมวยังทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคหอบหืด ส่งผลให้มีปัญหาในการหายใจ หายใจลำบาก หายใจมีเสียงหวีด แน่นหรือเจ็บหน้าอก ซึ่งจะส่งผลระยะยาว ทำให้เกิดปัญหาในการนอนหลับและเป็นสาเหตุของโรคหืดเฉียบพลันและโรคหอบหืดเรื้อรังได้อีกด้วย1
คนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงหรือควรระวังอาการแพ้ขนแมวเป็นพิเศษ คือผู้ป่วยโรคหืด ต้องคอยระวังและหลีกเลี่ยงการสัมผัสแมวให้มากที่สุด เพราะมีโอกาสที่อาการจะรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะเมื่อสารก่อภูมิแพ้ที่อยู่ในขนแมวได้เข้าสู่ร่างกาย จะทำให้ไอ หายใจลำบาก หรือหายใจเสียงดัง ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุของการกำเริบโรคหืดเฉียบพลัน หรือโรคหอบหืดเรื้อรัง3 หากมีอาการรุนแรงดังกล่าว ควรรีบไปพบแพทย์โดยทันที เพราะอาการเหล่านั้นอาจส่งผลกระทบต่อกิจกรรมต่างๆ ในการใช้ชีวิตประจำวันได้
อาการแพ้ขนแมวหายได้ไหม? อาการแพ้ขนแมว ในบางคนอาจจะไม่สามารถหายขาดได้ แต่สามารถป้องกันโดยการรักษาระยะห่างหรือลดการสัมผัสใกล้ชิดกับแมว แต่นอกจากนี้ยังมีวิธีอื่น ๆ ดังนี้
แม้จะมีการทำความสะอาดบ้าน หรืออาบน้ำให้แมวไปแล้ว แต่ก็ควรควบคุมอากาศภายในบ้าน โดยการใช้เครื่องกรองอากาศอย่าง แอทโมสเฟียร์ สกายและมินิ ที่มี HEPA Filter ช่วยดักจับสารก่อภูมิแพ้ โดยเฉพาะอนุภาคเล็กๆ จากขนแมว และแผ่นกรองกลิ่น ช่วยกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์จากน้องแมวได้อีกด้วย
ด้วยนวัตกรรมล้ำสมัยที่ได้รับการรับรองมาตรฐานในการกำจัดสารก่อให้เกิดภูมิแพ้จาก Allergy UK หรือสถาบัน British Allergy Foundation (BAF) ในประเทศอังกฤษ โดยได้รับการทดสอบทางวิทยาศาสตร์ จากห้องปฏิบัติการทดสอบอิสระว่า สามารถลดหรือกรองสารก่อภูมิแพ้ได้ถึง 22 หมวด และกรองสิ่งปนเปื้อนในอากาศได้ถึง 102 ชนิด ผลิตภัณฑ์เครื่องกรองอากาศ แอทโมสเฟียร์ สกาย นี้จึงเหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการแพ้ขนแมว รวมถึงผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้อากาศอื่นๆ ด้วยเช่นกัน
ควรเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากหนัง และหลีกเลี่ยงการใช้เฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากผ้า เพราะเฟอร์นิเจอร์หนังจะมีความทนทานมากกว่าแบบผ้า สามารถทำความสะอาดและกำจัดคราบสกปรกได้สะดวกกว่า ด้วยคุณสมบัติของหนังที่จะไม่ดักฝุ่น หากเปื้อนคราบก็สามารถเช็ดออกด้วยน้ำสะอาดได้
ไม่ควรปูพรมภายในบ้าน เพราะพรมจะกลายเป็นแหล่งสะสมฝุ่น เชื้อโรค และสารก่อภูมิแพ้ต่างๆ ซึ่งต่อมาอาจแพร่กระจายเชื้อโรคหรือสารก่อภูมิแพ้นั้นเข้าสู่ร่างกายของผู้พักอาศัย ซึ่งจะเป็นการบั่นทอนสุขภาพร่างกายไปเรื่อยๆ โดยไม่รู้ตัว
หมั่นทำความสะอาดบ้านอย่างสม่ำเสมอ เช่น ดูดฝุ่น ทำความสะอาดเฟอร์นิเจอร์ ซักพรมและผ้าม่าน โดยเฉพาะบ้านที่มีสัตว์เลี้ยงต้องทำความสะอาดบ่อยกว่าบ้านที่ไม่มีสัตว์เลี้ยง รวมถึงทำความสะอาดของใช้แมวเป็นประจำ เช่น ที่นอน ของเล่น ผ้า กรง เป็นต้น เพื่อไม่ให้ฝุ่น ขนแมว รวมถึงสารก่อภูมิแพ้ที่มองไม่เห็นไปสะสม
นอกจากทำความสะอาดก็ต้องอาบน้ำและแปรงขนให้แมว ซึ่งควรใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดสำหรับแมวโดยเฉพาะ เพื่อลดจำนวนสะเก็ดรังแคและลดการหลุดร่วงของขนแมว รวมถึงการสะสมไรฝุ่นหรือสารก่อภูมิแพ้อื่นๆ จากตัวแมว ซึ่งจะสามารถแก้อาการแพ้ขนแมวแล้วผื่นขึ้นได้
การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้อาการแพ้ดีขึ้นได้ ดังนั้นจึงควรออกกำลังกายอย่างน้อย 150 นาที ต่อสัปดาห์ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง มีภูมิต้านทาน2
การเลี้ยงแมวในระบบเปิด คือการเลี้ยงแมวให้อยู่เฉพาะพื้นที่ภายนอกตัวบ้าน เป็นการจำกัดพื้นที่ไม่ให้แมวเข้ามาอยู่ภายในบ้าน เพื่อป้องกันขนแมวหรือสารก่อภูมิแพ้จากแมวเกาะติดตามที่ต่างๆ ในบ้าน เช่น ข้าวของเครื่องใช้ เฟอร์นิเจอร์ เสื้อผ้า ที่นอน เป็นต้น1
การเว้นระยะห่างกับแมว เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันการแพ้ขนแมว งดการสัมผัส กอด คลอเคลีย หรือใกล้ชิดกับแมวให้ได้มากที่สุด แต่ถ้าหากหลีกเลี่ยงไม่ได้ มีความจำเป็นต้องสัมผัสตัวแมว ก็ควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังสัมผัส
อาการแพ้ขนแมวเกิดจากการแพ้สารก่อภูมิแพ้ที่มีอยู่ในเส้นขน เซลล์ผิวหนัง น้ำลาย รวมถึงปัสสาวะของแมว ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกาย หากไม่มีการป้องกันหรือใช้วิธีแก้อย่างเหมาะสม การแพ้ขนแมวก็ถือเป็นเรื่องรุนแรงได้ โดยเมื่อรู้แล้วว่าสาเหตุหรืออาการแพ้เป็นอย่างไร ก็ควรป้องกันและรักษาอาการแพ้ โดยการไปพบแพทย์เท่านั้น เพื่อไม่ให้มีอาการแพ้รุนแรงหรือเกิดอาการแพ้บ่อยๆ ส่วนเครื่องกรองอากาศที่ได้
Reference
pobpad. สังเกตอาการแพ้ขนแมว และวิธีบรรเทาอาการแพ้ pobpad.com. Retrieved 30 June 2023.
สุรสฤษดิ์ ขาวละออ. การแพ้ขนแมว เรื่องที่ทาสแมวควรรู้. samitivejhospitals.com. Published 18 August 2020. Retrieved 30 June 2023.ฮิโรชิ จันทาภากุล. ทาสแมวเช็กให้ดีมีอาการแพ้ขนแมวหรือเปล่า?. chulalongkornhospital.go.th. Published 15 July 2022. Retrieved 30 June 2023.